7 ต.ค. 2021 เวลา 02:05 • หนังสือ
[สรุป] Range Part 2/2 : การออกจาก Comfort Zone เพื่อเรียนรู้สายงานอื่น คือกุญแจสู่ความสำเร็จของเป็ด 🐤
ทุกคนคงรู้จักการก้าวออกจาก Comfort Zone กันอยู่แล้วนะครับ และ ก็น่าจะรู้ด้วยว่ามันคือหนึ่งในสิ่งที่จะช่วยให้เราเก่ง และประสบความสำเร็จมากขึ้นถ้าหากเราออกไปแล้วสามารถทำได้ / เรียนรู้จากมันได้นั่นเอง
ทีนี้เคยสังเกตมั้ยครับว่า จริงๆแล้วการก้าวออกจาก Comfort Zone นั่นแหละที่มักจะทำให้เรามีความเป็นเป็ด (Generalist) มากขึ้น เพราะมันคือการออกไปเรียนรู้สิ่งใหม่ที่อยู่นอกเหนือความรู้/ความสามารถเ Set เดิมๆของเราอยู่
เช่น การออกไปทำงานสายที่ไม่ได้เรียนมา , การหัดทำอาหาร/ออกกำลังกาย/งานอดิเรกอื่นๆ รวมไปถึงการ ฝึกใช้มือข้างที่ไม่ถนัด ก็นับว่าเป็นการออกจาก Comfort Zone แบบหนึ่งเหมือนกัน ลองนึกถึงกรณีที่เราเป็นนักกีฬาถนัดขวา แต่ฝึกใช้มือ/เท้าข้างซ้าย เพื่อเพิ่มอาวุธให้ตัวเองเวลาอยู่ในสนาม
ดังนั้นวันนี้ผมจะมา”เล่า”ถึงเนื้อหาใน Part ที่สองของ RANGE ที่กล่าวถึงการออกไปค้นหาตัวเอง ออกไปทดลองสิ่งใหม่ๆ ที่ถึงแม้มันอาจจะดูไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของเรา แต่มันก็ทำให้เราเก่งขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่งครับ
มาเริ่มกันเลยครับผม
(ขอบคุณหนังสือดีๆจาก Asia Books ด้วยนะครับ มี ลิ้งค์สั่งซื้อหนังสือท้ายบทความเผื่อท่านไหนสนใจ)
====================
✈️ Outsider Advantage - มุมมองจากคนภายนอกจะช่วยให้ทำงานเดิมได้ดีขึ้น
เคยเจอกับปัญหาอย่างนึงที่พยายามคิดเท่าไหร่ก็หาคำตอบไม่ได้ แต่พอไปถามคนอื่น (ที่บางครั้งอาจจะไม่ได้เรียนในสายนั้นๆมา) ดันได้คำตอบขึ้นมาเฉยเลย
นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า Outsider Advantage หรือ ความได้เปรียบของคนนอก ที่มักจะเกิดขึ้นจากการที่คนใน (Insider) นั้นชอบมองปัญหาจากด้านในเพียงอย่างเดียว ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
ในทางกลับกัน คนนอกนั้นมีมุมมองที่แปลกแหวกแนว และอยู่นอกเหนือความคาดหมาย ไม่ได้อยู่ในกรอบเดิมๆ ส่งผลให้ในหลายๆครั้ง สามารถแก้ปัญหาที่ตนเองไม่มีความเชี่ยวชาญได้ และสามารถทำได้ดีกว่าผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ในสาขานั้นๆอีกด้วย
แต่ความได้เปรียบ (Advantage) อันนี้ไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลานะครับ เพราะ Outsider นั้นไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ทุกชนิดอยู่แล้ว
ดังนั้นคำแนะนำจากบทนี้คือหากคุณติดขัดกับการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องนึงที่ถามคนเก่งๆในสายเดียวกันแล้วเค้ายังไม่สามารถช่วยเราได้ ทางออกที่น่าสนใจคือการลองถามคนอื่นๆที่อยู่นอกสายงานดู มันอาจจะทำให้เราได้ไอเดียใหม่ๆที่ดีและนำมาแก้ปัญหาของเราได้เหมือนกัน
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่สร้างมาจากแนวคิดนี้ชื่อว่า Innocentive ซึ่งเป็น Platform ที่จะคอยเปิดโอกาสให้คนที่ไม่สามารถแก้ปัญหาในงานของตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย, งานเทคโนโลยี, โปรแกรม Software ต่างๆนำปัญหามาโพสท์เอาไว้ในเว็บไซต์
และถ้ามีใครที่สามารถแก้ปัญหาบนหน้าเว็บไซต์ได้ ก็สามารถติดต่อเข้ามาเสนอ และรับเงินรางวัลจากผู้โพสต์ไปได้เลย ผลปรากฎว่ามีหลากหลายปัญหาที่ถูกแก้โดยคนนอกสายงานที่มาพร้อมกับวิธีแก้ไขปัญหาแบบแปลกๆ บางคนเอาประสบการณ์ในชีวิตประจำวันนี้แหละมาช่วยแก้ปัญหาใหญ่ให้วิศวกรของบริษัทชั้นนำก็มีเหมือนกันครับ
จึงเป็นอีกตัวอย่างที่น่าสนใจ และสนับสนุนให้เราลองมองปัญหาจากภายนอก หรือไม่ก็เอาไปถามคนนอกซะเลย 😂
— — — — — — — — — — —
🧠 Lateral Thinking - การแก้ปัญหาแบบนอกกรอบ
สอดคล้องกับข้อที่แล้วนะครับ การทำ Lateral คือการคิดวิธีแก้ปัญหาแบบทางอ้อม หรือการคิดแบบนอกกรอบนั่นเอง เหมือนกับคำคมที่ว่าจะเดินทางแบบไหน (เรือ,รถ,เครื่องบิน) เราก็ถึงปลายทางเหมือนกัน
นั่นหมายความว่าการแก้ปัญหาข้อเดียวกัน สามารถทำได้หลายวิธี และการแก้ปัญหาแบบ Lateral Thinking ก็คือการมองหาวิธีแก้ปัญหาแบบอื่นๆที่แปลกไปจากเดิม ซึ่งเข้ากับยุคปัจจุบันที่เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้นด้วยครับ
วิธีการแก้ปัญหาหลายๆวิธีสามารถหาได้ทาง Search Engine ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาบ้านๆอย่างลูกบิดประตูค้าง, น้ำแอร์รั่ว หรือ คอมพิวเตอร์ค้าง
ส่วนการแก้ปัญหาเฉพาะทางหรือปัญหาทางวิชาการ ถ้าหากต้องการหาข้อมูลของสายอื่นๆ เช่น โปรเจค Astrophysic (อวกาศ) แต่อยากได้มุมมองจากนักฟิสิกส์หรือนักเคมีก็สามารถหา Academic Paper มาศึกษาได้ หรือถ้าจะเร็วกว่านั้นก็สามารถอีเมล์ปัญหาไปถามนักฟิสิกส์/เคมีได้โดยตรง
หรือในเรื่องของการค้าขาย เราอาจจะใช้กลยุทธ์ที่แหวกแนวจากคนอื่นเพื่อสร้างความเป็นตัวของตัวเองขึ้นมาได้ ยกตัวอย่างเช่น ในวงการเกมที่ต่างบริษัทต่างงัดเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ภาพสวยๆ กราฟฟิคดีๆ จ้างนักแสดงดังมารับบทตัวละครในเกม แต่บริษัทชื่อดังอย่าง Nintendo กลับแหวกแนวสร้างเกมแบบไม่ต้องมีเทคโนโลยีสูง , สเปคสูง เหมือนค่ายอื่นๆ แต่เน้นความเรียบง่าย ใช้เทคโนโลยีราคาถูก ภาพไม่ต้องสวย แต่ก็สามารถแข่งกับแบรนด์อื่นๆได้เช่นกัน
*** คนที่ทำให้ Nintendo มีปรัชญาการแข่งขันแบบนี้คือ Gunpei Yokoi พนักงานรุ่นแรกๆที่ใช้แนวคิดนี้ในการสร้างของเล่นแบบง่ายๆ แต่เข้าถึงคนได้มากจนกลายมาเป็นจุดเด่นของ Nintendo ในปัจจุบัน
ข้อสรุปของบทนี้จึงเหมือนกับหัวข้อด้านบน และสนับสนุนซึ่งกันและกันว่า เมื่อคุณแก้ปัญหาด้วยวิธีธรรมดาไม่ได้ ให้ลองใช้วิธีอื่นๆที่แปลกออกไปดูบ้าง ขอความช่วยเหลือจากคนนอกดูบ้าง บางครั้งผลที่ได้อาจจะดีกว่าที่คิดครับ 😆
— — — — — — — — — — —
👨🏻‍🎓 Fooled by Expertise - คนเก่งก็พลาดได้ และพลาดบ่อยด้วย
เรามีความเชื่อกันมาตลอดว่า คนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ในแต่ละด้านนั้นจะเก่ง และมีความน่าเชื่อถือ เมื่อให้ความคิดเห็นอะไรในด้านนั้นๆก็จะมีน้ำหนักมาก และมีแนวโน้มที่จะเป็นแบบนั้น
แต่ผลจากงานวิจัยหลายๆงานกลับให้ผลที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะการ forecast สิ่งที่จะเกิดในอนาคตครับ
หากใครเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนสาย Passive มาก่อน ก็จะคุ้นเคยกับ Fooled by Expertise นี้อย่างดีเลยครับ เพราะแทบทุกเล่มจะบอกเราเสมอว่าอย่าพยายามที่จะเอาชนะตลาด เพราะขนาดผู้จัดการกองทุนเก่งๆใน Wall Street ที่นอกจากจะมีความรู้และประสบการณ์ แถมยังสามารถเข้าถึงข่าวสารได้ดีกว่าเรา
คนเหล่านี้กว่า 90% ไม่สามารถเอาชนะตลาดได้ในระยะยาว และเมื่อเจาะลึกไปดูข้อมูลโดยละเอียดจะพบว่ามีกองทุนอยู่ไม่ถึง 10 กองทุนในโลกที่สามารถทำผลตอยแทนได้ดีในระยะ 10-20 ปี ( 1 ในกองทุนที่ทำได้เป็นของ Berkshire Hathaway ของ Warren Buffett นั่นเองครับ)
นอกเหนือจากเรื่องของการ Forecast ตลาดหุ้นแล้ว ภาพกว้างกว่านั้นที่ส่งผลกระทบถึงตลาดหุ้นอย่างปัจจัยทางเศรษฐกิจ (Economic) และการเมือง (Political) ก็เป็นเรื่องที่ผู้เขียนนำมายกตัวอย่างให้เราเห็นภาพของ Fooled by Expertise ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นครับ
1
ผลการวิจัยของ Philips Tetlock พบว่าการ Forecast เหตุการณ์ในอนาคตของ Experts นั้นค่อนข้างแย่เลยทีเดียว เพราะ สิ่งที่พวกเค้าคิดว่าไม่มีทางเกิดขึ้นได้ (Absolutely Never) นั้นเกิดขึ้นจริงถึง 15% และสิงที่พวกเค้าคิดว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน (Sure thing แบบ 1+1=2) กลับไม่ได้เกิดขึ้นเลยถึง 25%
ความผิดพลาดเหล่านี้ถือว่าสูงมากครับในเชิงสถิติ เพราะเรามักจะใช้ Comfidence Level ที่ 95% นั่นหมายความว่าเรายอมให้ผิดพลาดได้แค่ 5% แต่นี่กลับผิดถึง 15-25% โดยยังไม่รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่แตกต่างในรายละเอียดยิบย่อยอีก
Tetlock จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า “แล้วคนแบบไหนถึงจะ Forecast เหตุการณ์ในอนาคตได้แม่นยำล่ะถ้าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ?” เค้าจึงลองสร้างกลุ่มคนที่รวบรวมคนเก่งหลายๆด้านมารวมกันเป็นทีมและโยนโจทย์ด้านเศรษฐกิจและการเมืองให้คนเหล่านี้ลองวิเคราะห์ดู
ผลออกมาว่าคนกลุ่มนี้ทำผลงานได้ดีมากครับ มีความแม่นยำมากกว่า Experts ในระดับที่สูงมาก
นอกจากนั้น Tetlock ยังทดลองต่อไปอีกและค้นพบสิ่งที่น่าสนใจมากๆๆๆ นั่นคือ ความสามารถ นะการ Forecast นั้นสามาาถเรียนรู้ได้โดยดารสอนเทคนิคและความรู้รอบตัวให้มากๆ และเค้าได้ลองสร้างทีมที่เรียกว่า Super Forecaster ขึ้น
ผลที่ได้ก็คือ กลุ่มนี้สามารถทำผลงานการคาดคะเนเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองในอนาคตได้แม่นยำที่สุดที่เคยมีมา สิ่งสำคัญของความแม่นยำนี้นอกจากแต่ละคนจะต้องเก่งในหลายๆด้าน อีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กันคือความ Active Openmindness (การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของคนในทีม) นั่นเองครับ
*** ถ้าใครเคยอ่าน Principles จะทราบดีว่านี่คือหนึ่งในหลักการความสำเร็จของ Ray Dalio รวมไปถึงหนังสือเล่มอื่นก็พูดถึงเป็นวงกว้างมากๆครับ
— — — — — — — — — — —
🛠 Drop your familiar tools - ทิ้งเครื่องมือเดิมๆ เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
หัวข้อสุดท้ายนี้คือการออกจาก Comfort Zone ที่แท้จริงครับเพราะมันคือการที่เราต้องทิ้งอาวุธ/เครื่องมือที่เราถนัดไป และฝึกฝนเครื่องมือ/ประสบการณ์ใหม่ๆ เพราะมันจะช่วยให้เราเติบโตและเก่งขึ้นครับ
(Tools ในที่นี้ไม่ได้หมายความถึงเครื่องมือแบบที่เป็น Physical tools อย่างเดียวนะครับ แต่รวมไปถึง Skill ที่เราถนัดด้วย เช่น การใช้ PowerPoint ในการพรีเซ้นท์, การเปลี่ยนจากการใช้เส้นพาสต้าสำเร็จรูปมาลองทำเส้นสดก็ได้ครับ)
1
ขอยกตัวอย่างแบบให้เห็นภาพชัดๆ แบบ Physical Tools ก่อนละกันครับ ผู้เขียนได้มีการยกตัวอย่างถึงนักดับเพลิงในเหตุการณ์ไฟป่า (คล้ายกับป่า Amazon ที่ไฟลุกลามเร็วๆเมื่อปีก่อนครับ) เมื่อไฟสงบแล้ว ทีมนักดับเพลิงได้เข้าไปตรวจสอบความเสียหายก็พบว่ามีนักดับเพลิงหลายคนที่เสียชีวิตอยู่ในสภาพหันหลังวิ่งหนีไฟไหม้ แต่ที่หนีไม่ทันเพราะไม่ยอมทิ้งขวานและเครื่องมือที่ใช้ในการดับเพลิงลง
ถ้าทิ้งเครื่องมือเหล่านั้นไป ก็จะเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตได้เยอะมาก เพราะจะมีความคล่องตัวมากกว่า แต่สัญชาตญาณของมนุษย์เรามักจะไม่ยอมทิ้งอาวุธหรือเครื่องของตน อาจจะเป็นความกลัวอันตราย หรือเพราะมันคือสัญลักษณ์/ตัวแทนของการดำรงอยู่จองเราก็เป็นได้ครับ
ทีนี้เรามาดูในส่วนของ Tools ที่ไม่ใช่สิ่งของกันบ้าง เราจะข้ามไปที่โปรเจคใหญ่ระดับโลกนั่นคือการยิงกระสวยอวกาศของ NASA ครับ
วัฒนธรรมองค์กรของ NASA ที่เต็มไปด้วยวิศวกร และโครงการระดับโลกที่ใช้ความละเอียดและแม่นยำทางเทคโนโลยีที่สูงมาก ทำให้ NASA นั้นตัดสินใจทุกอย่างโดยดูจาก Quantitative Analysis หรือหลักฐานที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขเท่านั้น
นั่นหมายความว่าถ้าใครมีความเห็นในเชิง Qualitative ที่ไม่มีตัวเลขมาสนับสนุน NASA จะไม่ให้ความสำคัญเลย แม้มันจะชัดเจนมากแค่ไหนก็ตาม
ยกตัวอย่างเช่นเหตุการณ์การปล่อยกระสวยอวกาศ Challenger ที่เกิดข้อผิดพลาดจนเกิดระเบิดกลางอากาศ ส่งผลให้โปรเจคพังไม่เป็นท่า แถมยังคร่าชีวิตของนักบินอวกาศทุกคนบนกระสวย ก็เกิดจากข้อผิดพลาดตรงนี้นั่นเอง
ถ้าย้อนกลับไปในการประชุมโปรเจค Challenger ที่มีการบันทึกไว้จะพบว่ามีวิศวกรคนนึงที่พบความผิดปกติในลูกยาง O-Ring ที่ทำหน้าที่ในการปิดการไหลของน้ำมันในห้องเครื่อง โดยหลักฐานที่เห็นความผิดปกติคือภาพถ่ายของลูกยางหลังจากการทดลองใช้งาน
โดยลูกยางนี้ถ้าเกิดรั่วจะส่งผลให้เกิดการระเบิดของน้ำมันในระบบขับเคลื่อน และอาจจะส่งผลถึงการระเบิดได้เลย แต่เมื่อไม่มีข้อมูลเชิงตัวเลขมาสนับสนุน ที่ประชุมของโปรเจคก็เลยไม่สนใจประเด็นนี้ และเดินหน้าที่จะยิงกระสวยออกตามเวลาที่กำหนด ซึ่งก็ส่งผลให้เกิดความเสียหายหลายล้านล้านดอลลาร์
(หลักฐานจากการประชุมนี้ยาวมากๆและมีศัพท์ทางวิศวกรรมค่อนข้างเยอะ ผมขออนุญาตสรุปสั้นๆแค่นี้ละกันครับ)
หลังจากเหตุการณ์ Challenger นี้ก็ทำให้ NASA เริ่มให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative) มากขึ้น ซึ่งก็ช่วยให้โครงการต่างๆหลังจากนั้นเกิดข้อผิดพลาดที่น้อยลง
และนี่คือตัวอย่างของการทิ้งเครื่องมือ หรือ แนวทางปฏิบัติเดิม เพื่อลองวิธีใหม่ๆ ที่นอกจากจะทำให้เราเก่งและได้ปนะสบการณ์ลองผิดลองถูกที่มากขึ้นแล้ว อาจจะทำให้เราเจอเครื่องมือใหม่ที่ดีกว่าเดิมเหมือนอย่างที่ NASA ค้นพบก็เป็นได้ครับ
— — — — — — — — — — —
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็แทบไม่ต่างอะไรกับการก้าวออกจาก Comfort Zone เหมือนที่ผมเกริ่นไว้ในตอนต้นเลยครับ เพียงแต่ผู้เขียนได้บรรยายออกมาในหลากหลายสถานการณ์และหลากหลายมุมมอง
แต่สุดท้ายแล้วมันก็คือการก้าวออกจาก Comfort Zone เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่รอบตัวให้ได้เยอะๆ และนั่นแหละที่จะทำให้เราเก่งขึ้น และมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่ไม่ก้าวออกมาทำอะไรใหม่ๆเลยนั่นเองครับ
====================
 
เป็นอันจบการเล่าหนังสือ Range โดยสมบูรณ์ครับ ใครยังไม่จุใจไปหามาอ่านกันต่อได้เลย โดยสามารถสั่งซื้อกับ Asiabooks ได้ที่ Link นี้เลยนะครับ
สำหรับแบบแปลไทย เคยถูกนำมาแปลอยู่นะครับ แต่ผมเชคดูแล้วหมดทุกร้านเลย 🥲
ส่วนคะแนนรีวิว ผมขอให้ไว้ที่ 9/10
คนเขียนเก็บข้อมูลมาดีมาก และมี Case Study เปรียบเทียบที่โคตรดี แบบอ่านแล้วร้องอ๋อ เปรียบเทียบได้เห็นภาพมากๆครับ
อ่านง่าย ศัพท์ไม่ยาก และได้ความรู้รอบตัวเยอะด้วยเนื่องจาก David แกยกตัวอย่างรอบด้านมากๆตั้งแต่นักกีฬา นักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจ ไปจนถึง สถานีอวกาศ NASA เลยครับ สนุกแน่นอนถ้าใครชอบแนะนำให้จัดเลยครับ
ต้องบอกว่าเป็นหนังสือดีที่ราคาไม่แรงเลย แนะนำๆๆๆเลยครับผม
— — — — — — — — — — — —
🐤 หากคุณเป็นคนที่ต้องการพัฒนาตัวเองในหลายๆด้าน เพื่อจะเป็นเป็ดที่ประสบความสำเร็จ การเรียนออนไลน์คือคำตอบครับ 🐤
ทางเพจขอแนะนำคอร์สเรียนออนไลน์ของ Future Skill ที่มีวิชาและทักษะต่างๆให้เลือกเรียนมากมาย พร้อมส่วนลดพิเศษ 50% จากเพจเล่า
คลิกรับสิทธิ์ : https://page.futureskill.co/fsxlao
โค้ดลด 50% : FSXLAO50
หากต้องการความช่วยเหลือหรือมีข้อสงสัยใดสามารถสอบถามทางเจ้าหน้าที่โดยตรงได้ที่ http://m.me/futureskill.co
— — — — — — — — — — — —
สำหรับวันนี้จบเพียงเท่านี้ครับ
ถ้าใครชอบเนื้อหาเน้นๆตามสไตล์เพจ “เล่า” ของผมก็สามารถกด Like เพจเพื่อติดตามเนื้อหาใหม่ๆของทางเพจได้นะครับ จะมีมาเล่าให้ในหลายๆเรื่องเลย ตามเพจเล่าไม่มีเบื่อแน่นอน เพราะแอดมินขี้โม้ หามาเล่าได้ทุกเรื่องครับ 😂😂
อยากให้เล่าเรื่องไหน รีเควสได้ ถ้าไม่นอกเหนือความสามารถก็จะไปหามาให้ครับ 😎😎
ติดตามเรื่อง “เล่า” ผ่านช่องทางต่างๆได้ดังนี้
Clubhouse : @withptns , เล่า’s Bookclub
Facebook “เล่า” : https://www.facebook.com/lao.unfold
Instagram “เล่า” @withptns : https://instagram.com/withptns
Twitter “เล่า” @withptns : https://twitter.com/withptns
ติดต่อโฆษณา ฝากลิ้งค์สั่งหนังสือ หรือ ติดต่อร่วมงานกับเพจ “เล่า” ได้ที่อีเมล์ ptns81@gmail.com ครับ
#เล่า #เล่าหนังสือ #เล่าความรู้ #unfold #ส่งเสริมการอ่าน #ส่งเสริมการเรียนรู้ #RANGE
โฆษณา