12 ต.ค. 2021 เวลา 09:43 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ตัดแต่งพันธุกรรมยุงลาย ป้องกันการล่าเหยื่อแบบระบุเป้าหมาย
นักวิจัยชาวอเมริกันจาก University of California วิทยาเขต Santa Barbara ตัดแต่งสารพันธุกรรมของยุงลายด้วยเทคนิค CRSPR/Cas-9 เพื่อจำกัดจำนวนตัวรับแสงในดวงตาของยุง ทำให้ยุงลายตัวเมียไม่สามารถระบุเป้าหมายที่มีสีเข้มหรือมีคาร์บอนไดออกไซด์บริเวณนั้นได้ดีดังเดิม (ไม่ทำให้ยุงตาบอด)
ผลที่เกิดขึ้นกับยุงที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรมคือ ยุงจะไม่พยายามค้นหาเป้าหมายแม้จะได้กลิ่นคาร์บอนไดออกไซด์ นักวิจัยคาดว่าการศึกษานี้อาจนำไปสู่การต่อสู้กับโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ เช่น ไข้เลือดออก ไข้เหลือง และไข้ซิกา ซึ่งโรคเหล่านี้ได้คร่าชีวิตผู้คนไปปีละหลายแสนคน
เทคโนโลยี CRIPR/Cas9 เป็นเทคนิคที่ใช้ในการตัดต่อพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่มีความแม่นยำ ทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าเทคโนโลยีอื่น โดยนักวิจัยทั่วโลกกำลังศึกษาการใช้ CRISPR ในการรักษาโรคทางพันธุกรรม พลังงานทดแทน การพัฒนาด้านอาหารและการรักษาโรคมะเร็ง ตลอดจนพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ให้ทนกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
ที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติม
2. Image used under license from Shutterstock.com
โฆษณา