12 ต.ค. 2021 เวลา 15:13 • ไลฟ์สไตล์
ทำไมเราต้องคิดว่าการพูดเป็นสิ่งที่เราควรทำเมื่อเราเจอคนที่ท้อแท้และหมดกำลังใจ และทำไมเราต้องหาคำพูดที่ดีที่สุดเพื่อใช้ในสถานการณ์นั้น
เมื่อเจอคนที่กำลังท้อแท้และหมดกำลังใจ การพยายามโยนคำปลอบใจ ถาโถมเข้าไปหาเค้ามันอาจไม่ใช่เรื่องดี ลองจินตนาการว่าถ้าเราเจอกับสภาวะที่กำลังท้อแท้หมดกำลังใจอะไรบางอย่าง
เราต้องการอะไร?
เราต้องการคำปลอบใจที่ใช้กันเป็นสากลเหมือนฉีกซองมาม่าแล้วใส่น้ำร้อน แบบคำว่า “สู้ๆนะ”, “เข้มแข็งนะ”
หรือเราต้องการคนรับฟังและอยู่เคียงข้างเพื่อผ่านช่วงเวลาเหล่านั้น?
การรับฟังต่างหากที่จะช่วยให้เขาดีขึ้น อย่างน้อยได้ระบายความรู้สึกอัดอันตันใจ ความรู้สึกท้อแท้เหล่านั้นออกมา ทำให้เค้ารู้สึกว่าเค้าไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว แต่ยังมีคนที่เห็นอกเห็นใจและเข้าใจเขาอย่างแท้จริงอยู่
ความผิดพลาดของคนส่วนใหญ่ มักจะคิดว่าเมื่อเราเจอสถานการณ์แบบนี้เราควรจะพูดอะไรดี จนลืมไปว่าเราควรจะฟังอย่างตั้งใจต่างหาก เพื่อที่เราจะได้เข้าใจความทุกข์ของเขา
ความทุกข์ของคนเรามันมีบริบทที่แตกต่างกันดังนั้นแล้วเราจะมาหาคำพูดที่ดีสวยหรูแต่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เขาเป็น หรือสิ่งที่เขาเผชิญมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร
การที่เราเป็นผู้ฟังที่ดีและพยายามให้เขาได้พูดได้ระบาย ในบางครั้งมันอาจนำไปสู่การมองเห็นปัญหาที่แท้จริงและสามารถที่จะเห็นถึงวิธีการในการแก้ไขปัญหา หรือวิธีรับมือกับสภาวะที่เค้าเผชิญอยู่ หลังจากนั้นเราอาจจะรู้ว่าเราจะสามารถหาคำตอบหรือหาทางออกอื่นของปัญหานี้ได้จากที่ไหน
และต้องอย่าลืมว่าการที่คนๆหนึ่งจะสามารถจัดการกับปัญหาภายในใจได้นั้นมันไม่ได้เกิดขึ้นจากคนอื่น แต่มันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเป็นการจัดการปัญหานั้นด้วยตัวของเขาเอง
1
หากปล่อยให้พูดแล้ว ให้ระบายแล้ว มันยังไม่ดีขึ้นสิ่งที่เราควรจะทำคือการพาเขาออกจากจุดนั้น เมื่อมองในเชิงทางกายภาพ หลายครั้งเมื่อเรารู้สึกท้อแท้หดหู่หรือสิ้นหวังเรามักจะอยู่นิ่งๆในท่าป้องกันตัวเอง กอดเข่า กอดอก นั่งคุดคู้ มือก่ายหน้าผาก ให้เราพาเขาออกไปขยับตัว พาเขาออกไปเปลี่ยนสถานที่ การ move สิ่งเหล่านั้นจะส่งผลให้เราสามารถดึงเขาออกจากอารมณ์ที่เป็นอยู่นั้นได้ดีกว่า…
แน่นอนว่าสิ่งที่อยู่ภายในใจย่อมกำหนดพฤติกรรมที่แสดงออกอยู่ภายนอก แต่ขณะเดียวกันการแสดงออกภายนอกก็สามารถส่งผลต่อสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจได้เช่นเดียวกัน และอย่าโฟกัสแต่การพูดจนลืมคุณค่าของการฟัง
โฆษณา