14 ต.ค. 2021 เวลา 01:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กรณีศึกษาของเมืองบาดาล แต่ระบบชลประทานดีเยี่ยม
ช่วงที่ผ่านมา หลายพื้นที่ของเมืองไทยประสบกับปัญหาอุทกภัย
แต่เรื่องที่ถกเถียงกันมานมนาน ว่าเมืองหลวงอย่างกรุงเทพและปริมณฑล จะกลายเป็นเมืองบาดาลในไม่ช้า
วันนี้ Hangar จึงอยากพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับตัวอย่างโมเดลการบริหารชลประธานของประเทศเนเธอแลนด์ ที่เกือบจะกลายเป็นบาดาล แต่มีการบริหารชลประชลประทานดีเยี่ยม
จะน่าสนใจอย่างไร ไปหาคำตอบพร้อมกัน..
รู้ไหมว่าพื้นที่มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของประเทศเนเธอแลนด์ ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แถมยังเคยมีบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ของปี 1953 พื้นที่ส่วนหนึ่งของเนเธอแลนด์ประสบอุทกภัยอย่างหนัก จนคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 2,000 คน
หลังจากนั้น ประชาชนชาวเนเธอแลนด์และรัฐบาล จึงร่วมกันจัดตั้ง ‘คณะกรรมการสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ’ เพื่อบริหารจัดการกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นอีกได้ในอนาคตและรับหน้าที่สานต่อโครงการ ‘เดลตาแพลน’ ซึ่งเคยถูกยกขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการชลประธาน แต่ก็ล่มไปเพราะปัญหาคอรัปชัน ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
หลังจากนั้น ‘Delta Plan’ ก็ได้พัฒนามาเป็น ‘Delta Works’ ซึ่งประกอบไปด้วยโครงการแยกย่อยถึง 16 โครงการ และใน 16 โครงการย่อย ก็ประกอบไปด้วย เขื่อน พนังกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ และกำแพงกันคลื่น
 
ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ทำหน้าที่ประสานกัน อย่างเช่นเขื่อน ที่ทำหน้าที่กั้นน้ำทะเลและแม่น้ำออกจากกัน ตัวชายฝั่งจึงถูกเลื่อนให้อยู่ห่างจากที่พักอาศัย และน้ำที่อยู่อีกฝั่งก็สามารถใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรได้
ประตูระบายน้ำ ที่สร้างขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง เพื่อเปิดปิดการไหลของแม่น้ำ ในช่วงเวลาที่มีคลื่นลมแรง ป้องกันน้ำทะลักเข้าสู่บริเวณที่พักอาศัย และที่ทำให้เป็นประตูเปิดปิดได้ ก็เพราะว่าแรงขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจของเนเธอแลนด์มาจากอุตสาหกรรมการประมง จึงทำให้ชาวประมงยังคงดำรงอาชีพดั้งเดิมของตนเองได้
1
Delta Works ได้รับการลงทุนมหาศาล ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 1950 จนแล้วเสร็จในปี 1997
แต่เงินทั้งหมดที่ทุ่มลงไป นับว่าคุ้มค่าในระยะยาว เพราะเนเธอแลนด์ก็ไม่ต่างจากกรุงเทพ ที่มีพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล หากกลายเป็นเมืองบาดาล ก็คงยากแก่การแก้ปัญหา รวมไปถึงการปรับตัวหลายๆ อย่าง ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ จากนักลงทุนต่างชาติ หรือผู้ประกอบการภายในประเทศที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว จำเป็นต้องย้ายฐานการผลิตหรืออาจย้ายฐานการลงทุนไปเลย
อย่างไรก็ดี กรณีศึกษาของเดลตาเวิร์ค แม้จะประสบความสำเร็จในโครงการอย่างมาก แต่ทุกสิ่งอย่างก็ ‘มีราคาที่ต้องจ่าย’
ซึ่งหากใครต้องการสร้างที่อยู่อาศัยในบริเวณเฝ้าระวังอุทกภัย จะต้องจ่ายภาษีมากกว่าคนมั่วไปถึง 40-400 ยูโร (ราว 1,600-16,000 บาทต่อปี) เพื่อนำงบส่วนนี้มาดูแลเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ
และมีข้อแม้ว่า หากเกิดอุทกภัยทางการจะไม่ดูแล นอกจากกรณีฉุกเฉินร้ายแรง เพราะมีประกาศเตือนพื้นที่เฝ้าระวังอยู่แล้ว
ปิดท้ายกันด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ..
รู้ไหมว่า กฎหมายบังคับให้ชาวเนเธอแลนด์ทุกคนต้องว่ายน้ำเป็น
และรู้ไหม หลังจากที่เกิด Delta Works ขึ้น เนเธอแลนด์สามารถระบายน้ำออกจนมีพื้นที่ตั้งจังหวัดใหม่ได้ นั่นคือ ‘Fleveland’
และได้รับคำเปรยว่า.. “God created the world but Dutch created the Netherlands”
“พระเจ้าสร้างโลก แต่ดัตช์สร้างเนเธอแลนด์”
โฆษณา