15 ต.ค. 2021 เวลา 03:06 • การเมือง
ใครจับไว้ก่อน โชคดี
โดย
1
นิติภูมิธณัฐ
มิ่งรุจิราลัย
วิกฤติโควิด-19 วิกฤติเศรษฐกิจ และวิกฤติพลังงาน ทำให้ประเทศเกือบทั้งโลกได้รับผลกระทบทางลบ มีบางประเทศเท่านั้นที่เป็นบวก อย่างเช่น จีนและอินโดนีเซีย
https://balidiscovery.com/bali-to-host-g20-summit-in-november-2022/amp/
สำหรับจีนนั้น ผมรับใช้ไปหลายครั้งหลายวันแล้วว่าการส่งออกพุ่งอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
15 ตุลาคม 2564 เป็นวันที่รัฐบาลอินโดนีเซียจะเปิดเผยตัวเลขการค้าประจำเดือนกันยายน ซึ่งหลายคนเดากันว่าเกินดุลแน่นอน
แค่สิงหาคม 2564 เพียงเดือนเดียว อินโดนีเซียมียอดดุลการค้า 4,740 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำสถิติเกินดุลต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 16
G8 หรือ Group of Eight เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ถือเป็นประเทศแถว 1 ประกอบด้วยสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดา อิตาลี ญี่ปุ่น และรัสเซีย (รัสเซียเข้ามาระหว่าง พ.ศ. 2540-2557 ตอนนี้ถูกพักจากการเป็นสมาชิก  G8 เพราะวิกฤติการณ์ในไครเมีย)
ปัจจุบันโลกเหลือ Group of Seven หรือ กลุ่ม G7 ซึ่งเวลาประชุมกัน นอกจากจะมี 7 ประเทศที่ว่าแล้ว ก็ยังมีประธานคณะมนตรียุโรปและประธานคณะกรรมาธิการยุโรปมาร่วมด้วย
เดี๋ยวนี้มีกลุ่ม G20 หรือ Group of Twenty ซึ่งนอกจากจะมี 8 ประเทศของกลุ่ม G8 แล้ว ยังมีอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี และสหภาพยุโรป ประเทศเหล่านี้ถือว่าเป็นพวกที่บินสำเร็จแล้ว
1
ที่เหลือนอกจากนี้ทั้งโลกก็เป็นประเทศที่กระปลกกระเปลี้ยเพลียแรง ยังดิ้นรนอยู่ในวัฏสงสาร
2
ถ้าดูจากในกลุ่มอาเซียนก็มีเพียงอินโดนีเซียเท่านั้นที่สามารถแทรกตัวไปยืนอยู่แถว 2 ของโลกได้
ที่เราชาวอาเซียนควรภาคภูมิใจก็คือ อินโดนีเซียกำลังจะเป็นประธานกลุ่ม G20 ระหว่าง 1 ธันวาคม 2564 - 30 พฤศจิกายน 2565 อินโดนีเซียขึ้นแท่นระดับโลกไปแล้วครับ
1
เศรษฐกิจของอินโดนีเซียพุ่งสู่ความได้มาตรฐาน แม้แต่นายเจฟฟ์ เบซอส ผู้ก่อตั้งบริษัทแอมะซอนก็ทนเฉยไม่ไหว ประกาศร่วมลงทุนในการระดมทุนรอบ Series B ของอูลา (Ula) บริษัทสตาร์ทอัพด้านตลาดอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย
และนี่เป็นครั้งแรกที่นายเบซอสลงทุนในภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซของอาเซียน
ขณะที่ประเทศอื่นยอบแยบแกรบกรอบ แต่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไตรมาส 2/2564 ของอินโดนีเซียขยายตัวถึงร้อยละ 7.07 เมื่อเทียบเป็นรายปี นี่เป็นการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบกว่า 10 ปี
1
การส่งออกของอินโดนีเซียเหมือนจีนครับ คือยิ่งมีวิกฤติ แต่การส่งออกกลับพุ่งกระฉูด จนโรงงานต่างๆ แทบผลิตสินค้ากันไม่ทัน
เมื่อก่อน เราไม่ค่อยได้เห็นร้านอาหารอินโดนีเซียในต่างประเทศ แต่เดี๋ยวนี้เริ่มมีแล้วครับ อินโดนีเซียได้เปรียบตรงที่มีเกาะถึง 17,508 เกาะ กระจายอยู่ตามแนวเส้นศูนย์สูตร ความหลากหลายของพืชและสัตว์ในอินโดนีเซียมีสูง เป็นรองแค่บราซิลเพียงประเทศเดียวเท่านั้น
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมก็มีมาก โดยเฉพาะด้านอาหารการกิน ตอนนี้อาหารอินโดนีเซียมาแล้วครับ
1
ที่เริ่มดังก็คือข้าวผัด สลัดผัก สะเต๊ะ ซุปซาโต หรือแม้แต่ตุมเป็ง ซึ่งเป็นอาหารดั้งเดิมของคนชวา ซุนดรา และมาดูรา ตอนนี้ก็มีขายอยู่ในเมืองใหญ่ของหลายประเทศ
อินโดนีเซียได้เปรียบประเทศอื่นในอาเซียนตรงที่พื้นที่กว่าครึ่งของประเทศอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล เกาะแก่งต่างๆ ก็เหมาะสมสำหรับการเดินทางไปท่องเที่ยว
หลังจากโควิด-19 เบาบางลงแล้ว คนจำนวนไม่น้อยคิดว่าอินโดนีเซียจะมีแนวโน้มด้านการท่องเที่ยวที่ดีแน่นอน ในขณะที่หลายประเทศเคยเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟุ้ง อาจจะฟื้นได้ยากหลังโควิด-19
สมัยก่อนตอน 20-30 ปีที่แล้ว จีนยังเป็นประเทศยากจน โดนผู้คนต่างประเทศดูหมิ่นถิ่นแคลน เปิดฟ้าส่องโลกเป็นคอลัมน์แรกๆ ที่ชักชวนให้คนไทยไปศึกษาและลงทุนในประเทศจีน
ใครอ่านคอลัมน์ตอนนั้นก็หัวเราะก๊าก แต่ผู้เขียนก็มีความมั่นใจถึงขนาดส่งลูกไปเรียนที่ประเทศจีน
ปัจจุบันทุกวันนี้ จีนพุ่งรุ่งเรือง พวกที่คุ้นเคยกับประเทศจีนก็ได้รับประโยชน์จากความรุ่งเรืองนั้น
อินโดนีเซียนี่ก็เหมือนกันครับ 10-20 ปีที่แล้ว เปิดฟ้าส่องโลกทำนายทายว่า อินโดนีเซียจะไปยืนผงาดทางด้านเศรษฐกิจ
ตอนนี้แนวโน้มของอินโดนีเซียก็เป็นไปอย่างที่เราเคยทำนายทายทักกันไว้
ใครจับธุรกิจในประเทศจีนและอินโดนีเซียเอาไว้ได้ก่อน ท่านคือผู้โชคดีครับ.
โฆษณา