18 ต.ค. 2021 เวลา 01:25 • ข่าว
เงินในบัญชีถูกใช้โดยไม่รู้ตัว
.
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสองสามวันที่ผ่านมานี้ ที่มีประชาชนมากมายประสบกับปัญหาเงินในบัญชีถูกใช้ไปโดยไม่รู้ตัว จนตอนนี้มีผู้ใช้รวมตัวจัดตั้งกลุ่ม "แชร์ประสบการณ์โดนหักเงินจากบัญชีโดยไม่รู้ตัว" มีสมาชิกกว่า 50,000 คนแล้ว
.
1
ซึ่งผมลองอ่านดูแล้วพอสรุปได้ดังนี้
.
1. เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับธนาคารใดธนาคารหนึ่งโดยเฉพาะ ค่อนข้างกระจายในวงกว้าง มีผู้เสียหายหลายหมื่นคน
.
2. ผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ มีการผูกบัญชีในการทำธุรกรรมออนไลน์ เช่น การซื้อของออนไลน์ จองโรงแรม ซื้อตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
.
3. ยอดหักเงินส่วนใหญ่มาจากธุรกรรมออนไลน์ เช่น การซื้อโฆษณาเฟซบุ๊ก และกูเกิ้ล เป็นหลัก โดยมีตั้งแต่การหักทีละน้อย เช่น 30-40 บาท ไปจนถึงหลักหลายหมื่นบาท และมีการทำรายการซ้ำ ๆ มีบ้างที่เป็นธุรกรรมซื้อออนไลน์ผ่านร้านค้า
ประเด็นที่น่าสนใจที่ผมคิดคือ
.
1. การกระทำครั้งนี้ไม่น่าใช่การกระทำของคนเพียงคนเดียว น่าจะเป็นกลุ่มหลาย ๆ กลุ่ม เพราะลักษณะของการหักบัญชีไม่เหมือนกัน ทั้งในเรื่องของจำนวนเงิน ลักษณะของธุรกรรม และความถี่
.
1
2. การที่บัตรถูกใช้ซื้อโฆษณาออนไลน์นี้ไม่ใช่เรื่องแปลก ทั้งนี้เพราะการซื้อโฆษณาออนไลน์ สามารถทำได้ง่าย หาต้นตอได้ยาก เพราะสามารถซื้อโฆษณา เพื่อสร้างยอดทราฟฟิกไปยังเว็บไซต์ที่คนร้ายมีผลประโยชน์อยู่ โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวเองโดยตรง
.
3. การกระทำทั้งนี้น่าจะเริ่มจากการที่ข้อมูลบัตรเดบิต/เครดิตของลูกค้าของบริการออนไลน์ในประเทศไทยเจ้าใดเจ้าหนึ่งหรือหลายเจ้ารั่วไหลไปสู่มือคนร้าย และคนร้ายอาจจะขายข้อมูลเหล่านี้ไปยังคนร้ายรายอื่น เพื่อหาผลประโยชน์ เพราะไม่มีรายงานของการธุรกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตในลักษณะเดียวกันในต่างประเทศ
.
1
4. ธุรกรรมในลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องยากที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าออนไลน์ เฟซบุ๊ก กูเกิ้ล หรือร้านค้าออนไลน์อื่นที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตี หรือแม้แต่สถาบันการเงินเจ้าของบัตรหรือผู้ให้บริการบัตรเช่น visa/Mastercard ที่จะใช้ AI ในการตรวจสอบและปฏิเสธรายการผิดปกติเหล่านี้ ในประเทศที่มีปัญหาในลักษณะนี้อย่างหนักมาก่อน เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันการเงินมีการตรวจสอบธุรกรรมผิดปกติอยู่ตลอดเวลา ในกรณีที่พบ จะปฏิเสธรายการ และต้องให้ผู้ถือบัตรยืนยันรายการว่าเป็นรายการผิดปกติหรือไม่
4
5. ความเสียหายครั้งนี้ส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้บริโภค และสถาบันการเงิน โดยผู้บริโภคจะต้องเสียเวลาตรวจสอบรายการ และแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อคืนเงิน ซึ่งน่าจะมีสองประเภท คือ หากเป็นรายการบัตรเดบิต เงินจะถูกหักบัญชีโดยตรง การขอคืนเงินจะทำได้ยากกว่า ส่วนรายการบัตรเครดิตมักจะปฏิเสธรายการได้ค่อนข้างง่ายกว่า และมีระเบียบปฏิบัตินี้อยู่แล้ว
.
6. สถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบน่าจะมีความเสียหายพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนพนักงานในการดูแลผู้เสียหาย ต้นทุนในการตรวจสอบรายการ ค่าเสียหายในกรณีที่ไม่สามารถยกเลิกรายการได้ ต้นทุนการยกเลิก และออกบัตรใหม่ รวมถึงไปต้นทุนด้านชื่อเสียง เป็นต้น
.
7. ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ควรประสานงานกับผู้ให้บริการอย่างเฟซบุ๊ก และกูเกิ้ล ควรเร่งตรวจสอบรายการเหล่านี้ และยกเลิกรายการทั้งหมด เพื่อลดภาระของทั้งผู้บริโภค และสถาบันการเงินในการตรวจสอบ และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ
.
เมื่อวานนี้ (17 ตค) ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยได้มีการประชุมด่วนเพื่อหามารับมือกับสถานการณ์นี้แล้ว และแจ้งให้ผู้ได้รับผลกระทบติดต่อธนาคารผู้ออกบัตร เพื่อตรวจสอบ ยืนยัน และคืนเงินต่อไป
1
และล่าสุด รมว.ดีอีเอส ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ เตรียมเเถลง กรณีมิจฉาชีพดูดเงินจากบัญชีธนาคาร หรือ บัตรเดบิต ตอนเที่ยงวันนี้ (18 ตค) ส่วนจะเป็นช่องทางใด ไว้จะมา update อีกครั้งครับ
โฆษณา