20 ต.ค. 2021 เวลา 09:30 • สุขภาพ
💻ใช้คอมพ์เยอะ 📱เล่นมือถือบ่อย 👀ดูหนังนาน 📚อ่านหนังสือจนตาแฉะ
⚠️ห้ามพลาดโพสนี้นะคะ ศูนย์แว่นตาไอซอพติกมีความรู้และเคล็ดลับดีๆ😉 ในการรักษาสายตามาฝากค่ะ💖
🤓 ถ้าเห็นว่าโพสนี้มีประโยชน์ อย่าลืม Share ให้เพื่อนๆ และคนที่คุณรักได้เห็น หรือเก็บไว้อ่านเองในภายหลัง และกด👍Like หรือ Comment เป็นกำลังใจให้ทีมไอซอพติกด้วยนะคะ 😊
🤓ตาสั้นเทียม คืออะไร? เกิดได้อย่างไร ?
ตาสั้นเทียมหรือสายตาสั้นเทียม ( Pseudomyopia ) เป็นภาวะสายตาสั้นที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อในเนื้อเยื่อ Ciliary body ในลูกตา
ที่ใช้ในการเพ่งมองใกล้ / เพ่งมองสิ่งที่อยู่ใกล้ตา ( Accommo dation ) ทำงานมากเกินไปจนเกิดการเกร็งค้าง ( Spasm ) กล่าว คือ ในภาวะปกติตาคนเราที่มองวัตถุได้ชัดทั้งไกล และใกล้ เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดนี้ ทำให้แก้วตาเพิ่มกำลังการหักเหของแสงอันจะทำให้วัตถุที่อยู่ใกล้ไปโฟกัส ( Focus , จุดรวม ) ที่จอตาได้
ซึ่งเวลามองไกลกล้ามเนื้อมัดนี้ จะคลายตัว แต่เวลามองใกล้จะหดตัวเกร็งตัวเพื่อเพิ่มกำลังของแก้วตา เกิดภาวะสายตาสั้นที่ทำให้มองใกล้ได้ชัดเจน ผู้ใดที่จ้องมองใกล้อยู่นาน ๆ กล้ามเนื้อนี้จะทำงานอยู่นานกว่าปกติ จึงเกิดภาวะสายตาสั้นค้างอยู่ เมื่อมองไกลจึงยังอยู่ในภาวะสายตาสั้น ทำให้มองภาพไกลไม่ชัด
ซึ่งมักเป็นอยู่ระยะเวลาหนึ่ง ถ้ากล้ามเนื้อนี้คลายตัว สายตาก็จะกลับมาเหมือนเดิม ดังนั้นภาวะนี้จึงถือว่าเป็นสาย ตาสั้นเทียมหรือสายตาสั้นชั่วคราว
ซึ่งแพทย์หลาย ๆ ท่านมีความเห็นว่าในบางคนอาจจะกลายจากสายตาสั้นเทียมหรือสั้นชั่วคราวกลายเป็นสายตาสั้นจริง และสั้นตลอดก็ได้
🤓ตาสั้นเทียมมีสาเหตุจากอะไร ?
- ใช้สายตามองใกล้ เช่น เพ่งมองคอมพิวเตอร์ เล่นเกมส์ ใช้โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ นานเกินไป
- มีโรคทางสมองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติชนิด Parasympathetic มากเกินไปเช่น จากอุบัติเหตุที่สมอง
- มีโรคตาบางอย่างทำให้ Ciliary body ทำงานมากขึ้น เช่น ยูเวียอักเสบ ( Uveitis )
- ผลข้างเคียงจากยารักษาโรคบางอย่าง เช่น ยาคลายเครียดในกลุ่ม Phenothiazine , ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน , ยา Chloroquine, ยา Diamox , ตลอดจนยาคลายกล้าม เนื้อต่าง ๆ และแม้แต่ยาบางตัวที่ใช้รักษาต้อหินเช่น Pilocarpine ก็ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นชั่ว คราวได้ โดยทั่วไปยังขึ้นกับปริมาณยาที่ใช้ ( Dose related ) ด้วย ยิ่งใช้ปริมาณยามากโอกาสเกิดภาวะนี้ก็สูงขึ้น
มีแนวโน้มพบภาวะนี้ได้บ่อยในผู้มีสายตาเอียง ( Astigmatism )
- มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อกลอกตา ( อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บท ความเรื่อง กายวิภาค และสรีรวิทยาของกล้ามเนื้อนอกลูกตา ) เช่น มีภาวะตาเขออกเพราะจะเกิดการเพ่งเพื่อให้ตาตรง
😀อนึ่ง ยังมีภาวะอื่นที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นเทียม
แต่ไม่เกี่ยวกับการเพ่งเช่น เป็นต้อกระจกระยะแรกที่ทำให้เกิด Second sight ( การกลับมามองเห็นได้ดีขึ้นกว่าเดิมเมื่อสูงอายุ ) หรือ แก้วตาเคลื่อนที่หลังผ่าตัดด้วยบางเทคนิคในโรคจอตาหลุดลอกที่ทำให้ลูกตายาวออก
จึงเกิดภาวะสายตาสั้นได้ เป็นต้น
🤓ใครมีปัจจัยเสี่ยงเกิดตาสั้นเทียม ?
ตาสั้นเทียมเป็นภาวะที่เกิดจากการเพ่งมาก และนานเกินไป
จึงมักพบในเด็กที่ความสามารถ ในการเพ่งยังมีมาก
และในผู้ที่ใช้สายตาระยะใกล้มาก
ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า ในยุคปัจจุบันมีการใช้อุปกรณ์ IT ( Information technology ) เช่น มือถือ , I-pad , I-phone , คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ กันมาก และใช้กันวันละหลาย ๆ ชั่วโมง จึงน่าจะมีภาวะนี้เกิดขึ้นได้สูง แต่ส่วนมากอาจจะเป็นชั่วคราว พักผ่อนแล้วหายไปได้เอง บางรายอาจมีอาการเล็กน้อยซึ่งหายได้เอง มีอยู่บ้างที่มีอาการจนต้องไปพบแพทย์ / จักษุแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เพราะอาจมีอาการคล้าย ๆ กับโรคทางกายอื่น ๆ
⚠️ซึ่งส่วน มากพบภาวะนี้ในวัยต่ำกว่า 30 ปี ที่เล่นเกมส์ ใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ เพราะเป็นวัยที่มีกำลังเพ่งมาก
กำลังหรือความสามารถในการเพ่งเริ่มมีตั้งแต่เด็กอายุ 2 เดือนจนถึงอายุ 6 - 8 เดือน จะมีกำลังการเพ่งถึงประมาณ 14 D ( Diopter ) , อายุ 15 ป ีมีกำลังเพ่งประมาณ 12 D , อายุ 20 ปี มีกำลังเพ่งประมาณ 10 D , อายุ 25 ปี มีกำลังเพ่งประมาณ 8.5 D , อายุ 30 ปี มีกำลังเพ่งประมาณ 7.0 D , อายุ 40 ปี กำลังเพ่งจะลดเหลือ 4.5 D , และลดลงเรื่อย ๆ อายุ 45 ปี จะเหลือประมาณ 3.5 D , อายุ 50 ปี เหลือประมาณ 2.5 D , อายุ 60 ปี เหลือประมาณ 1 D , อายุ 75 ปี แทบจะไม่เหลือกำลังเพ่งเลย
จะเห็นได้ว่าผู้อายุต่ำกว่า 30 ปี มีกำลังเพ่งมากกว่า 7.0 D จึงสามารถเพ่งได้มาก จึงเป็นกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงเกิดภาวะนี้
🤓ตาสั้นเทียมมีอาการอย่างไร ?
ตาสั้นเทียมอาจจะมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงมีอาการมาก อาการที่พบบ่อย คือ
- แสบตาปวดตาบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจากจ้องเล่นเกมส์หรือคอมพิวเตอร์นาน ๆ โดยอาการจะคล้ายภาวะโรคตาที่มากับคอมพิวเตอร์ ( Computer vision syndrome )
- บางครั้งมองไกลไม่ค่อยชัด แต่บางครั้งก็ยังเห็นชัด ( พวกสายตาสั้นจริงมักจะมองไกลไม่ชัดตลอดเวลา ) โดยเฉพาะเวลามองไกลหลังจากจ้องคอมฯ นาน ๆ จะรู้สึกตามัวพักใหญ่ สักครู่ การมองไกลจะกลับมาเห็นชัดเหมือนเดิมหรือพูดง่าย ๆ ระดับสายตาไม่คงที่ บางครั้งมองไกลไม่ชัด บางครั้งชัด
- ในวัยเด็กแว่นสายตาสั้นที่ใช้มองไกลได้ชัด ควรจะมองใกล้ได้ชัดด้วย หากเป็นแว่นที่ใช้ แก้สายตาสั้นที่เกิดจากสายตาสั้นเทียม มองไกลชัดเจนดี แต่มองใกล้เริ่มไม่ชัด และตามด้วยอาการปวดตา
ปวดศีรษะเรื้อรัง บางคนมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
เมื่อไหร่ควรพบแพทย์ ?
⚠️เมื่อมีอาการดังกล่าวในหัวข้อ " อาการ " หรือเมื่อมีปัญหาทางสายตา ควรพบแพทย์ / จักษุแพทย์เสมอ เพื่อการวินิจฉัยหาสาเหตุแต่เนิ่น ๆ เพราะจะช่วยให้ได้รับผลการรักษาที่ดีโดยเฉพาะ ในกรณี
- ผู้ที่มีสายตาสั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ปีเดียวสายตาสั้นเพิ่มมากกว่า 100
ผู้มีพฤติกรรมใช้สายตามองใกล้นาน ๆ ที่มีอาการปวดตาหรือปวดศีรษะบ่อย ๆ เรื้อรัง
ผู้มีสายตาสั้นที่มีอาการปวดตา ปวดศีรษะ บ่อย ๆ เพราะโดยทั่วไปผู้มีสายตาสั้นทั่วไปนั้น มักจะมองไกลไม่ชัด แต่ไม่ค่อยมีอาการปวดศีรษะหรือปวดตา
🤓แพทย์วินิจฉัยตาสั้นเทียมได้อย่างไร ?
- จากประวัติการใช้สายตาใกล้มากเกินควร เช่น เล่นเกมส์ เล่นคอมฯ มาก ติดมือถือ
- การตรวจวัดสายตาให้ผลไม่แน่นอน เดี๋ยวเห็นได้ดี เดี๋ยวเห็นไม่ค่อยดี จักษุแพทย์ที่วัดกำลังสายตาด้วยเครื่อง Retinoscope จะพบว่าค่าสายตาที่สั้นเปลี่ยนไปมา เดี๋ยววัดได้ 100 เดี๋ยวเป็น 300 เป็นต้น
รูม่านตามักจะเล็กเนื่องจากกระบวนการเพ่งที่เกิดขึ้น นอกจากเพิ่มกำลังแก้วตาแล้ว รูม่านตายังจะเล็กลง และพบมีตาหมุนเข้าใน ( Near reflex )
- คนกลุ่มนี้จะชอบใส่แว่นสายตาสั้นเกินจริง ( Over correction ) เช่น วัดได้สั้น 300 แต่พอใส่แว่น 400 จะบอกว่าชัดกว่า ทำให้อาจได้แว่นที่กำลังเกินจริงมาใช้ ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวด ตาในภายหลัง
- ตรวจวัดค่าความสามารถการเพ่ง ( Accommodation amplitude ) มักจะได้ค่าปกติ
เปรียบเทียบค่าสายตาที่วัดก่อน และหลังหยอดยาที่ลดการเพ่ง ( Cycloplegic ) จะได้ผล ตรวจต่างกัน โดยก่อนหยอดยาค่าจะสูงกว่าหลังหยอด ซึ่งค่าที่ต่างกันเป็นค่าสายตาสั้นเทียม
🤓ตาสั้นเทียมมีผลข้างเคียง อย่างไร ?
ก่อให้เกิดภาวะตาแห้ง ตาแดง เรื้อรัง
บั่นทอนการเรียนการทำงานประจำเนื่องจากปวดตา ปวดศีรษะ เรื้อรัง
อาจนำไปสู่ตาสั้นจริงหรือสายตาสั้นมากขึ้น ๆ ได้
ด้วยเหตุที่กระบวนการเพ่งที่เรียกว่า Near reflex ประกอบด้วย กำลังทำงานของแก้ว ตาเพิ่มขึ้น รูม่านตาเล็กลง ร่วมกับลูกตาหมุนเข้าใน การเพ่งนาน ๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อกลอกตาผิดปกติ ( Muscle imbalance ) ทำให้มีภาวะตาเขเข้าใน ( Esophoria ) ได้
ทั้งนี้เพราะระดับค่าสายตา การเพ่ง และการทำงานของกล้ามเนื้อกลอกตา มักจะสัมพันธ์กันเสมอ
🤓รักษา และป้องกันตาสั้นเทียมอย่างไร ?
1. ลดงานที่ต้องมองใกล้ลงเพื่อลดการเพ่งหรือมีเวลาพักสายตาเป็นระยะ ๆ เมื่อใช้สายตาใกล้ เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้เพ่งคลายตัว และได้พักผ่อน แพทย์บางท่านแนะนำให้ใช้สูตร 20 : 20 : 20 คือใช้งานเพ่ง 20 นาที มองไกล 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที หรืออาจพักสายตา 1 นาทีทุกครึ่งชั่วโมง หรือบางท่านแนะนำใช้สายตา 1 ช.ม. แล้วพักสายตา 5 - 10 นาที เป็นต้น
2. ไม่ใช้สายตาเล่นเกมส์ในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอหรือเพ่งหนังสือตัวเล็กมาก ซึ่งจะกระ ตุ้นการเพ่ง
หากการเพ่งเกิดจากสาเหตุอื่นๆที่กล่าวข้างต้น ต้องรักษาที่ต้นเหตุเช่น หากใช้ยาต้อหินในกลุ่ม Pilocarpine ก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการผิดปกติทางตา เพื่อแพทย์ปรับเปลี่ยน เป็นยากลุ่มอื่น
3. ลดกำลังแว่นสายตาลง ให้ใช้แว่นที่มีกำลังตามค่าสายตาจริง ซึ่งในผู้ป่วยบางราย การลดกำลังแว่นลงทันทีอาจทำให้ผู้ป่วยมองไกลไม่ชัด อาจต้องลดกำลังแว่นลงทีละน้อย จนหมดกำลังของสายตาเทียมเช่น ใส่แว่นอยู่ 300 สายตาจริง 100 อาจจะลดมาเป็น 200 ก่อนแล้วค่อย ๆ ลดมาถึง 100 ในภายหลัง
4. บางรายอาจต้องใช้แว่นสายตามองใกล้ ( เลนส์บวก ) เวลาทำงานใกล้ เช่นเดียวกับผู้สูงอายุเพื่อลดอาการเพ่งชั่วคราว ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีภาวะสายตาผู้สูงอายุ ( Presbyope )
บางรายแพทย์อาจต้องใช้ยากลุ่ม Cycloplegic หยอดตาเพื่อลดการเพ่งเป็นระยะ ๆ จน กว่าสายตาจะคงที่ ไม่มีสายตาสั้นเทียมอีก
5. มีผู้สังเกตพบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะสายตาสั้นเทียมมักจะมีบุคลิกที่ขี้กังวล มีความเครียดง่าย จึงต้องดูแลตนเองในด้านอารมณ์ / จิตใจด้วย ถ้ามีปัญหาด้านอารมณ์ / จิตใจมาก อาจต้องปรึกษาจิตแพทย์หรือปรึกษานักจิตวิทยา
⚠️ 🤓 สรุปข้อแนะนำ
แม้ภาวะตาสั้นเทียมจะไม่ก่อให้เกิดผลอะไรที่ร้ายแรงมากนัก แต่ก็บั่นทอนความสามารถ ตลอดจนประสิทธิ์ผลของงาน และอาจมีสาเหตุจากโรคตาอื่น ๆ ได้
จึงควรพบจักษุแพทย์เมื่อมีอาการดังกล่าวในหัวข้อ "อาการ" เพื่อการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่นอน
เพราะถ้าเป็นตาสั้นเทียมจากการเพ่งมาก การแก้ไขทำได้ไม่ยาก และถ้าอาการไม่ใช่เกิดจากตาสั้นเทียมจากการเพ่ง การรักษาสาเหตุนั้น ๆ แต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ผลการรักษาโรคตานั้น ๆ ดีขึ้น
....อนึ่ง แว่นตาคู่แรกควรให้หมอตา / จักษุแพทย์เป็นคนตรวจตา และวัดสายตาที่เหมาะสม วัดโดยหยอดยาลดการเพ่ง เพราะนอกจากตรวจสายตาแล้วยังได้ตรวจดูโรคอื่น ๆ ของตา โดยเฉพาะการทำงานของกล้ามเนื้อกลอกตาร่วมไปด้วย
สอบถามข้อมูลได้ที่
👉 LINE ID : @isoptik คลิก : https://line.me/R/ti/p/%40isoptik
👉 Inbox คลิก : m.me/isoptik
📞 โทร : 086-565-5711
📞 สายด่วน ปรมาจารย์โบบิ : 081-538-4200
🚗 การเดินทางมาไอซอพติก คลิก : https://is.gd/isoptikmap
✅ แว่นโปรเกรสซีฟอัจฉริยะไอซอพติก ดีอย่างไร ?
อ่านต่อคลิก :
✅ คุณภาพการมองเห็นมีผลกับ คุณภาพชีวิตอย่างไร ?
อ่านต่อคลิก :
🏆 ศูนย์แว่นตาไอซอพติกได้รับรางวัล Premium Products of Thailand 2015
อ่านต่อคลิก :
โฆษณา