20 ต.ค. 2021 เวลา 13:00 • ครอบครัว & เด็ก
เพราะสมองเด็กเรียนรู้ได้เป็นจรวดในวัย 0-2 ขวบ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการเรียนรู้ที่เริ่มจากปฏิสัมพันธ์กับคุณแม่ โดยที่คุณแม่จะเหมือนเป็นสายชาร์จแบตเตอรี่ให้น้อง คือทันทีที่เสียบปลั๊กจะมีประจุไฟฟ้า (เข้าไปที่สมอง) การมองตา การสัมผัส การโต้ตอบกัน และการถูกกระตุ้นด้วยการใช้เสียงโทน motherese หรือเสียงสอง ทำให้น้องสนใจ และช่วยตัดเสียงรบกวนรอบข้างออกไป น้องจึงจะยิ่งโฟกัสที่เสียงคุณแม่ได้มากขึ้น
เด็กทารกที่ไม่ได้เริ่มจากการมีปฏิสัมพันธ์ที่มีความหมายแบบนี้ แต่กลับถูกปล่อยให้นอนเงียบๆ หรือเล่นคนเดียว จะส่งผลกระทบให้เฉื่อยชา เรียนรู้ช้า เข้าสังคมไม่เป็น เสียโอกาสที่จะใช้สมองที่ได้มาในการต่อยอดการเรียนรู้ และการใช้ชีวิตในวัยต่อมาร่วมกับคนอื่น
ถึงได้มีคำพูดว่าแม่เป็น "state regulator" หรือเป็นคนที่จะกระตุ้นการเรียนรู้และอารมณ์ของลูกแบบที่มือถือหรือ tablet ทำไม่ได้ เพราะปฏิสัมพันธ์ที่น้องมีกับคุณแม่เรียกว่า "two-way" หรือมีการตอบกลับ แต่ในการเล่นมือถือหรือ tablet นั้นถือเป็น "one-way" หรือไม่มีการตอบกลับมา สมองของน้องจึงไม่ได้ถูกชาร์ชแบตเตอรี่ค่ะเพราะไม่มีประจุไฟฟ้าที่วิ่งเข้าไปในสมองน้องเลย
คุณแม่ที่สนใจวัดพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของน้อง โดยใช้การวิเคราะห์การเคลื่อนไหว (Kestenberg Movement Profile) ขอรายละเอียดได้ที่ Inbox ของเพจ Raising Parents ตามลิงค์ด้านล่างค่ะ
โฆษณา