25 ต.ค. 2021 เวลา 12:20 • สุขภาพ
3 ประโยชน์ของกระเทียม ที่คุณอาจจะยังไม่รู้
ภาพโดย Pam de Butler จาก Pixabay
กระเทียม ของคู่บ้านคู่เมืองตั้งแต่โบราณ อยู่ในอาหารแทบจะทุกอย่างที่เราทานกันเกือบทุกวัน แต่หลายๆคนอาจจะยังไม่สังเกตว่ามีกระเทียมในอาหารที่ทาน หรือบางคนเวลาเห็นกระเทียมก็เขี่ยทิ้งไม่ทาน ถึงกระเทียมจะเป็นอาหารที่มีกลิ่นแรง แต่ประโยชน์ของกระเทียมก็แรงไม่แพ้กลิ่นเลย ในวันนี้เราจะมาดูกัน ถึงประโยชน์ที่หลากหลายของกระเทียม
ภาพโดย Rene Lehmkuhl จาก Pixabay
#1 ลดความดันโลหิตสูง
ภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay
อัลลิซิน(สารประกอบ ลักษณะเหลวมีสีเหลืองเล็กน้อย เป็นสารไม่มีสี มีกลิ่นฉุน พบตามธรรมชาติในกระเทียม) เป็นสารออกฤทธิ์ที่พบได้ใน กระเทียมสดหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของกระเทียม อาจจะมีส่วนช่วย ในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อเรียบที่เรียงตัวในหลอดเลือดและส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวและทำให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำลง ซึ่งมีการทดลองชิ้นหนึ่งให้ผู้ป่วย ที่มีระดับความดันโลหิตสูงโดยที่มีค่าความดันซิสโตลิกหรือค่าความดันช่วงบน มากกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิตรปรอท รับประทานกระเทียมบ่มสกัด (Aged Garlic Extract: AGE) ขนาด 960 มิลลิกรัม เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าค่าความดันซิสโตลิกลดต่ำลงมากกว่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก จึงอาจจะกล่าวได้ว่าการรับประทานกระเทียมบ่มสกัดอาจมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ดีกว่ายาหลอก
ภาพโดย congerdesign จาก Pixabay
อีกการวิจัย คือ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอังการาได้ศึกษาผลของ การเสริมสารสกัดจากกระเทียมต่อระดับไขมันในเลือด ของผู้ป่วยที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง การศึกษาของพวกเขา ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารโภชนาการชีวเคมี
ในการศึกษานี้มีอาสาสมัคร 23 คน ทุกคนที่เป็นอาสาสมัคร มีคอเลสเตอรอลสูง มี 13 คนเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม
คือ กลุ่มควบคุมคอเลสเตอรอลสูง ( ความดันโลหิตปกติ)
และ กลุ่มความดันโลหิตสูงที่มีคอเลสเตอรอลสูง (ความดันโลหิตสูง)
โดยให้ อาสาสมัคร ทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสารสกัดจากกระเทียมเป็นเวลา 4 เดือน และได้รับการตรวจสอบค่าไขมันในเลือด การทำงานของไตและตับอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่ง ในตอนท้ายของ 4 เดือน นักวิจัยสรุปว่า "การเสริมสารสกัดจากกระเทียมช่วยเพิ่มระดับไขมันในเลือด เพิ่มศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระในเลือดและทำให้ความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังนำไปสู่การลดลงของระดับของผลิตภัณฑ์ออกซิเดชัน (MDA) ในตัวอย่างเลือด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ลดลงในร่างกาย”
กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือสารสกัดจากกระเทียมช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลสูงและความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง นักวิทยาศาสตร์กล่าวเสริมว่าการศึกษาของพวกเขาเป็นการศึกษาขนาดเล็ก จึงควรรอการวิจัยต่อไปในอนาคต
1
#2 กระเทียมแก้หวัด
ภาพโดย jacqueline macou จาก Pixabay
ทีมนักวิจัยจากเซนต์โจเซฟ คณะแพทยศาสตร์ Residency, Indiana, ดำเนินการศึกษาในหัวข้อ“การรักษาของโรคไข้หวัดในเด็กและผู้ใหญ่,” ตีพิมพ์ในวารสาร แพทย์ครอบครัวอเมริกัน
โดยพวกเขารายงานว่า “การใช้กระเทียมเพื่อป้องกันโรคอาจจะลดความถี่ของการเป็นหวัดในผู้ใหญ่ แต่ไม่มีผลต่อระยะเวลาของอาการ” การใช้ป้องกันโรคหมายถึงการใช้เป็นประจำเพื่อป้องกันโรค
แม้ว่าจะมีงานวิจัยบางชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่า กระเทียมดิบมีประโยชน์มากที่สุด แต่การศึกษาอื่นๆ ได้บอกว่า การบริโภคอัลเลียม(พืชในตระกูล หอม กระเทียม)โดยรวม ทั้งแบบดิบและแบบปรุงสุก และพบว่ามีประโยชน์เหมือนกัน ดังนั้น สามารถเลือกรับประทานได้ทั้งแบบดิบและสุก
และมีการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ให้อาสาสมัครจำนวน 146 คน รับประทานสารสกัดจากกระเทียมชนิดเม็ดซึ่งประกอบไปด้วยสารอัลลิซินขนาด 180 มิลลิกรัมวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ แล้วให้อาสาสมัครจดบันทึกอาการ เมื่อเป็นหวัด พบว่าในกลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากกระเทียมมีรายงานการเป็นหวัดจำนวน 24 ครั้ง ซึ่งน้อยกว่า อีกกลุ่มที่รับประทานยาหลอก ซึ่งมีรายงานการเป็นหวัดจำนวน 65 ครั้ง อีกทั้งยังพบว่าระยะเวลาของ อาการหวัดในกลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากกระเทียมมีจำนวนวันที่เป็นหวัดน้อยกว่าอีกกลุ่มที่ได้รับยาหลอก แต่ระยะเวลาการฟื้นตัวจากอาการหวัดของทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ถึงแม้ว่าผลการทดลองข้างต้นจะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกระเทียม แต่หลักฐานการทดลองทางคลินิกยังไม่เพียงพอและจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของกระเทียมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
และในสมุนไพรไทยหรือความเชื่อในไทย ก็เชื่อว่ากระเทียมสามารถแก้อาการหวัดได้ และยังมีในบัญชียาสมุนไพรไทยอีกด้วย
1
#3 กระเทียมกับมะเร็ง
ภาพโดย İbrahim Özkadir จาก Pixabay
จากการวิจัยชิ้นหนึ่งที่ให้ชาวจีนทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารจำนวนกว่า 5,000 คน รับประทานสารอัลลิทริดินขนาด 200 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับสารซีลีเนียมขนาด 100 ไมโครกรัมวันเว้นวัน ซึ่งเป็นสารสกัดที่ได้จากกระเทียม โดยทำการทดลองเป็นระยะเวลา 5 ปี และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับยาหลอก พบว่ากลุ่มที่รับประทานสารอัลลิทริดินร่วมกับสารซีลีเนียมมีความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกลดลง 33 เปอร์เซ็นต์ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารลดลงถึง 52 เปอร์เซ็นต์
แต่อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาวิจัยอีก 19 ชิ้นแสดงให้เห็นว่า ยังไม่พบหลักฐานที่น่าเชื่อถือพอ ที่จะช่วยสนับสนุนความสัมพันธ์ของการบริโภคกระเทียมต่อความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งทรวงอก มะเร็งปอด หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และยังมีหลักฐานที่ค่อนข้างจำกัดที่สนับสนุนว่าการบริโภคกระเทียมอาจจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งในช่องปาก หรือมะเร็งรังไข่
และสถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NCI) ได้กล่าวว่ากระเทียมเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่อาจจะมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง แต่จะยังมีปัจจัยอื่นๆ อย่างเรื่อง รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระเทียมหรือเรื่องปริมาณความเข้มข้น ซึ่งอาจจะทำให้พิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของกระเทียมได้ยาก และเมื่อเวลาผ่านไปหรือเก็บกระเทียมไว้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้ประสิทธิภาพของกระเทียมเสื่อมสลายไปได้
ภาพโดย RitaE จาก Pixabay
ยังมีอีกหนึ่งการวิจัย ที่อาจจะสามารถยืนยันเรื่องการป้องกันมะเร็งของกระเทียมได้
แพทย์ แผนระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน ได้ทำการศึกษาเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคผักตระกูลอัลเลียม(ตระกูลเดียวกับหอมกระเทียม) กับความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก
ทีมศึกษา ได้รวบรวมและวิเคราะห์การศึกษาที่เผยแพร่อยู่ในช่วงนั้นจนถึงเดือนพฤษภาคมปี 2013 และรายงานผลการศึกษา ในเอเชียแปซิฟิกวารสาร ในวารสารการป้องกันโรคมะเร็ง
ผู้ศึกษา ได้สรุปว่า "ผักตระกูลอัลเลียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคกระเทียมมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงของมะเร็งต่อมลูกหมาก"
ทีมศึกษายังให้ความเห็นอีกว่า เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาที่เกี่ยวข้องมากนัก จึงควรมีการศึกษาในอนาคตที่ออกแบบอย่างดีเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวิจัย
ภาพโดย PublicDomainPictures จากPixabay
ก็จบไปแล้วสำหรับ 3ประโยชน์ของกระเทียม บทความนี้อาจจะมีตัวหนังสือเยอะไปหน่อย แต่อันที่นำมาให้อ่าน เป็นข้อมูลการวิจัยกระเทียม ซึ่งอาจจะอ่านยาก หรืออาจจะไม่ค่อยเข้าใจ แต่โดยรวมแล้ว กระเทียมก็เป็นพืชชนิดนึงที่อยู่คู่อาหารเอเชียเรามานาน ซึ่งก็ค่อนข้างมีประโยชน์ แต่ผลอาจจะไม่แม่นยำเหมือนในการวิจัย เพราะ ขนาด การใช้สารของกระเทียม อาจจะไม่เท่ากัน จึงไม่สามารถบอกได้ ประโยชน์ของกระเทียมได้
อ้างอิงหลักจาก2เว็บนี้ ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากครับ
อ้างอิงรอง
โฆษณา