20 พ.ย. 2021 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้หรือไม่? เกิดเป็นผู้หญิงต้องเจอค่าใช้จ่าย “แพงกว่า” ผู้ชายถึง 7%
ถ้าผมบอกเพื่อนๆ ว่า การเกิดเป็นผู้หญิงทำให้คุณต้องซื้อของแพงมากกว่าผู้ชายเฉลี่ยถึง 7% เพื่อนๆ จะเชื่อกันไหมครับ ถึงจะไม่อยากเชื่อ เพราะใครๆ ก็บอกว่านี่คือยุคแห่งความเท่าเทียมระหว่างชายหญิง แต่ก็ต้องยอมรับว่าครับว่า “มันเป็นเรื่องจริง”
เหตุเพราะว่าบนโลกใบนี้มีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า “ภาษีสีชมพู หรือ Pink Tax อยู่นั่นเอง”
⭐ ภาษีสีชมพู หรือ Pink Tax คืออะไร ? ⭐
Pink Tax ไม่ใช่ภาษีจริงๆ นะครับ แต่เป็นคำที่ใช้เปรียบเปรยว่า ผู้หญิงต้องใช้เงินจำนวนมากกว่าในการใช้จ่ายสินค้าและบริการ แม้จะเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับที่ผู้ชายใช้ก็ตาม ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โฟมล้างหน้าผู้หญิงที่แพงกว่าโฟมล้างหน้าของผู้ชาย เป็นต้น
โดยรายงานของ The New York City Department of Consumer Affairs หรือ สำนักงานกิจการผู้บริโภคนครนิวยอร์ก ได้ทำการสำรวจสินค้ากว่า 800 ชนิดที่มีการแบ่งประเภทอย่างชัดเจนระหว่างชายหญิง
พบว่า ในสินค้าประเภทที่ใกล้เคียงกัน “สำหรับผู้หญิงจะมีราคาสูงกว่าผู้ชายเฉลี่ยถึง 7%”
โดยเฉพาะกลุ่มดังนี้ต่อไปนี้
✅ ของเล่นและเครื่องประดับสำหรับผู้หญิงแพงกว่าเฉลี่ย 7%
✅ เสื้อผ้าเด็กสำหรับผู้หญิงแพงกว่าเฉลี่ย 4%
✅ เสื้อผ้าผู้ใหญ่สำหรับผู้หญิงแพงกว่าเฉลี่ย 8%
✅ ของใช้ส่วนตัวอื่นๆ สำหรับผู้หญิงแพงกว่าเฉลี่ย 13%
✅ สินค้าสำหรับผู้สูงอายุสำหรับผู้หญิงแพงกว่าเฉลี่ย 8%
นอกจากนี้ยังพบว่า สินค้าสำหรับผู้หญิงจะมีราคาสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 42% ในขณะที่สินค้าสำหรับผู้ชายจะมีราคาสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 18%
📍 โดยรายงานเผยข้อมูลว่าให้เห็นว่าตลอดชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายจาก Pink Tax นี้ มากถึง 1,351 ดอลลาร์ หรือราวๆ 44,000 บาท ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ช่วยยืนยันว่าผู้หญิงมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าผู้ชาย ก็คือ “ภาษีผ้าอนามัย”
ตลอดชีวิตของผู้ชายไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้ผ้าอนามัย แต่ในทางกลับกันผู้หญิงต้องใช้ผ้าอนามัยในทุกๆ เดือน เฉลี่ย 6-7 แผ่น/วัน หรือประมาณ 30 กว่าแผ่น ซึ่งราคาของผ้าอนามัย 1 ห่อ ประมาณ 40-70 บาท คิดเป็นเงินที่ผู้หญิงต้องจ่ายประมาณ 200 บาท/เดือน
1
โดยเฉพาะในประเทศไทย นอกจากผู้หญิงจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% แล้ว ผู้หญิงยังต้องเสียภาษีนำเข้าจากผ้าอนามัยบางชนิดอีก 10% คำถามก็คือ ผู้หญิงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากผ้าอนามัยสูงเกินไปหรือไม่? และมีกลไกอะไรจากทางภาครัฐที่สามารถเข้ามาช่วยเหลือได้บ้าง
ตัวอย่างเช่น การยกเลิกภาษีจากผ้าอนามัย หรือ ควรจัดให้ผ้าอนามัยควรเป็นสวัสดิการจากทางรัฐ เป็นต้น
ทั้งนี้ ในหลายประเทศได้ยกเลิกภาษีผ้าอนามัยกันแล้ว เช่น ประเทศอังกฤษ แคนาดา ฯลฯ ซึ่งถ้ามองเรื่องนี้เป็นประเด็นความเท่าเทียมทางเพศระหว่างชายหญิง ก็น่าคิดไม่น้อยนะครับว่า ทางภาครัฐจะมองเรื่องนี้ในฐานะการดูแลสุขภาวะอนามัยการเจริญพันธุ์ของประชาชนหรือไม่ เพราะถ้าใช่ ผ้าอนามัยก็ควรเป็นสวัสดิการจากทางภาครัฐที่เข้าถึงได้หรือเปล่า?
1
เพื่อนๆ คิดเห็นกันอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นนี้ สามารถคอมเมนต์มาพูดคุยกันได้นะครับ
#aomMONEY
◤ = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
👍 ชอบกด Like โดนใจ กด Share
และอย่าลืม ✅ See First
เพื่อที่จะได้ไม่พลาดข่าวสารใหม่ ๆ ก่อนใคร
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = ◢
ติดตามความรู้ทางการเงินในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
📌 กลุ่มกองทุนไหนดี https://bit.ly/3aOjgMl
สนใจโฆษณาติดต่อ :
👉 Tel: 088-099-9875 (แน้ม)
โฆษณา