4 พ.ย. 2021 เวลา 11:20 • ธุรกิจ
ดำเนินธุรกิจอย่างไร ? ไม่ให้ถูกฟ้องละเมิดสิทธิบัตร
การทำธุรกิจในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันสูง ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องหาแนวทางต่าง ๆ เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด หรือเพิ่มยอดขายเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้ และ กลยุทธ์หนึ่งที่สามารถทำได้ เพื่อสร้างความได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่แข่ง คือ การขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรนั่นเอง โดยสิทธิบัตรนี้ เป็นการให้สิทธิแก่ผู้ขอถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิต ขาย ให้เช่า หรือแจกจ่ายสิ่งประดิษฐ์ในประเทศที่ได้รับการคุ้มครอง ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่เราจะสามารถนำคู่แข่งทางธุรกิจได้นั่นเอง ดังนั้น หากเราเป็นผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจจะเริ่มดำเนินธุรกิจ และกำลังมีความคิดที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แต่ยังคงมีความกังวลอยู่ว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะโดนกีดกันโดยผู้ไม่หวังดี หรือไม่ ? IDG ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร มีข้อแนะนำ 3 ข้อหลัก ในการดำเนินธุรกิจอย่างไรไม่ให้ถูกฟ้องละเมิดสิทธิบัตร มาฝากทุกคนกันค่ะ !
1. นำผลิตภัณฑ์ที่กำลังจะดำเนินการโฆษณาหรือเผยแพร่ ไปจดสิทธิบัตรก่อน
ในการที่เราจะไม่ถูกฟ้องละเมิดสิทธิบัตร เจ้าของผลงานควรจะเป็นผู้ถือสิทธิของสิทธิบัตรฉบับนั้นเอง โดย IDG อยากจะแนะนำทุกคนว่า ให้ทำการยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรก่อนที่จะทำการโฆษณาตัวผลิตภัณฑ์ เพราะหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาสิทธิบัตรคือ “ความใหม่” นั่นเอง ซึ่งหมายถึงตัวงานต้องไม่เคยถูกเปิดเผยสาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์นั้น ก่อนวันที่ยื่นเอกสารต่อทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา
*ยกเว้นแต่เป็นการแสดงสิ่งประดิษฐ์นั้นในงานจัดแสดงที่ถูกจัดโดยภาครัฐหรืองานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ
2. นำแนวคิดของผลิตภัณฑ์มาจดสิทธิบัตร
ก่อนทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ควรทำการตรวจสอบแนวคิดของผลิตภัณฑ์นั้น ว่ามีคู่แข่งได้ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทนี้อยู่ก่อนแล้วไหม และหากแนวคิดดังกล่าวยังไม่มีผู้อื่นประดิษฐ์หรือคิดค้นขึ้นมาก่อน รวมถึงมีความแตกต่างที่ชัดเจนและสามารถผลิตได้จริง ขอแนะนำให้นำใจความสำคัญของแนวคิดนั้นไปจดสิทธิบัตรก่อน จากนั้นจึงพัฒนาแนวคิดดังกล่าวให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อผลิตและจำหน่าย เพื่อลดโอกาสที่จะถูกคู่แข่งนำแนวคิดนี้ไปขอรับความคุ้มครองก่อนหน้าเรานั่นเอง ซึ่งในส่วนของการตรวจสอบอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร เพื่อประหยัดเวลาในส่วนนี้ IDG ก็มีบริการเช่นกัน เพื่ออำนวยความสะดวก และ เรามีผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยตรวจสอบอย่างละเอียด
3. นำรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์ที่ถูดจดสิทธิบัตรแล้ว มาพัฒนาหรือผลิต
โดยเป็นการขออนุญาตนำสิทธิบัตรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญามาผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และดำเนินการทางธุรกิจ ซึ่งการได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรนั้น มีหลากหลายวิธีนั่นเอง ขอยกตัวอย่าง เช่น การขอสิทธิในการใช้สิทธิบัตรจากผู้ขอถือสิทธิฉบับนั้น ๆ โดยการซื้อ-ขาย, การนำสิทธิบัตรที่เจ้าของได้มีการเปิดเผยการประดิษฐ์ไว้เป็นสาธารณะ และอนุญาตให้ใครก็ได้นำไปใช้ประโยชน์ ตามเงื่อนไขที่เจ้าของสิทธิบัตรกำหนด หรือจะเป็นการนำสิทธิบัตรที่หมดอายุการคุ้มครองไปแล้ว และนำมาพัฒนาเป็นสิ่งประดิษฐ์ของตนก็ได้เช่นเดียวกัน
*โดยหนึ่งในฐานข้อมูลสำหรับการสืบค้นหาสิทธิบัตรที่เปิดเผยงานประดิษฐ์, งานวิจัยและสิทธิบัตรบางส่วนให้กับบุคคลภายนอก สำหรับให้ศึกษาและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ของตนได้ คือ ฐานข้อมูล
จากทั้งหมดของ 3 ข้อแนะนำนี้ที่กล่าวมา ดูไม่ใช่เรื่องยากเลยใช่ไหมคะ
แต่ในความจริงแล้ว ในแต่ละข้อนั้น ต้องใช้ความละเอียด และ เวลาไม่น้อยเลยทีเดียวในแต่ละขั้นตอน เพื่อประหยัดระยะเวลา
และ ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง พร้อมไปกับคำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรมามากกว่า 10 ปีแล้ว ทาง IDG มีบริการด้านสิทธิบัตรอย่างครบวงจร
โฆษณา