19 พ.ย. 2021 เวลา 01:04 • ปรัชญา
If You Want People to Listen, Stop Talking
วันนี้ขอเอาแรงบันดาลใจมาจากบทความของ Harvard Business Review
สังคมไทย (และอีกหลายๆ ประเทศ) เป็นสังคมแปลกที่ชื่นชมคนพูดมากกว่าคนทำ ประเทศไทยจึงเต็มไปด้วยคนที่ติมากกว่าคนทำ จึงอยากจะชวนทุกคนพูดให้น้อยลง ฟังและทำให้มากขึ้น เพื่อที่เราจะเดินไปข้างหน้าด้วยกัน
3
มีคอร์สเรียนหนึ่งที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคคลที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรปริญญาโทของมหาวิทยาลัยในเมืองเซนต์พอล ได้ให้นักเรียนไม่พูดอะไรเลยเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วให้ลองสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งอาจารย์ก็เตือนไว้ว่าคงจะทำได้ยากมาก และน่าจะมีจุดหนึ่งในวันนั้นที่เราต้องเอ่ยปากพูด ซึ่งถ้าจำเป็นก็เอ่ยปากได้ แต่ขอให้กลับมาอยู่ในความเงียบ และพยายามค้นหาว่า อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้พูดคำๆ นั้นออกมา หรือแม้กระทั่งเวลาที่เราไม่ได้พูดออกไป แต่อยากจะพูด
บางคนที่ฝึกทำแบบนี้ได้ค้นพบเหตุผลที่ตัวเองพูด บางครั้งเป็นเพราะความรัก ความดี แต่หลายๆคำพูดก็อาจจะมาจากเหตุผลที่ไม่ดีเช่น ความเห็นแก่ตัว ความโอ้อวดเป็นต้น นอกจากนั้นเรายังมักจะพูดถึงเรื่องของตัวเองเป็นส่วนใหญ่อีกด้วย ในสังคมที่มีแต่การถกเถียงกัน ส่งเสียงรบกวนกัน ทำให้ความเงียบมันเป็นอะไรที่มีค่า หากเราได้อยู่กับความเงียบ เราจะเริ่มให้ค่ากับความเงียบ ถึงแม้บางครั้งมันจะเป็นอะไรที่แปลก
2
เพราะความเงียบ
- เราหยุดที่จะให้คนอื่นมามีอิทธิพลกับเรา
- เราหยุดที่จะคาดหวังกับคนอื่น และหยุดคนอื่นมาคาดหวังกับเรา
- เราหยุดพักผ่อน และแสวงหาความสดชื่นจากความเงียบ
- เราหยุดความวุ่นวายในชีวิต สะท้อนอดีต และวางแผนอนาคต
2
ลองหาเวลาสักครึ่งชั่วโมงให้กับตัวเองและความเงียบ อาจจะนั่งสมาธิหรือทำอะไรก็ได้ แล้วคุณจะเห็นว่าโลกแห่งความเงียบมันมีอะไรที่เราไม่เคยสังเกตเห็น แทนที่จะไถฟีดบนเฟซบุ๊ก ดูไอจี และติ๊กต็อก
6
นอกจากนี้ความเงียบในการสนทนา ทำให้เราได้ฟังคนอื่นอย่างจริงจังที่โค้ชผู้บริหารจะเรียกว่า active listening skill เป็นทักษะที่ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยมีคนให้ความสำคัญ คนทั่วไปมักให้ความสำคัญกับทักษะการเสนองาน และการพูดมากกว่า แต่จริงๆ แล้วการฟังนี่แหล่ะสำคัญมากๆ และเป็นตัวแรกของหัวใจนักปราชญ์ “สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปํณฑิโต ภเว” แปลว่า ผู้ปราศจากฟัง คิด ถาม พูด จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร
5
การฟังอย่างตั้งใจเป็นการทำให้เราสามารถได้ยินมากกว่าเพียงคำพูดที่คนพูดสื่อมา เราจะได้ทั้ง visual เห็นท่าทาง ปฏิกิริยา สีหน้า vocal น้ำเสียง และ verbal คำพูด และคำที่เลือกใช้ ซึ่งจากการศึกษา คิดเป็น 55% 38% และ 7% ตามลำดับ ซึ่งถ้าเราฟังแบบไม่ตั้งใจ เราอาจจะได้เฉพาะส่วนที่เป็น verbal ซึ่งเป็นเพียง 7% ของการสื่อสารเท่านั้น
1
นอกจากนี้พอเราตั้งใจฟัง ให้ความสำคัญกับการฟัง และอาจจะส่งสัญญาณผ่าน visual cue เช่นการพยักหน้า หรือถามเป็นระยะๆ ทำให้ผู้พูดยิ่งรู้สึกอยากสื่อสารและเปิดใจมากขึ้น
พอเราเข้าใจคู่สนทนามากขึ้น ก็จะทำให้เรารู้ถึงที่มาที่ไป ความคิด ค่านิยมของคู่สนทนามากขึ้น พอถึงเวลาที่เราจะพูด เราก็จะได้มีเวลาหาคำพูดหรือประเด็นที่แทงใจคู่สนทนาได้ดี โดยที่ไม่ต้องพยายามพูดมาก และเอาแต่ถกเถียงกัน ดังเช่นที่เป็นทุกวันนี้
1
หนึ่งในตัวอย่างที่ดีมากๆ คือ นักเจรจากับผู้ร้าย (hostage negotiator) มักจะทำคือการสนทนากับผู้ร้ายอย่างตรงไปตรงมา ตั้งใจฟัง และพยายามเข้าใจความต้องการ แรงจูงใจ และความกลัวของผู้ร้าย พยายามทวนซ้ำสิ่งที่เขาพูดออกมา เพื่อแสดงว่าได้ฟังเขาอยู่จริงๆ มีการตอบสนองความต้องการของผู้ร้ายบางอย่าง เช่น ส่งน้ำส่งอาหาร ก่อนจะพูดอะไรก็ต้องระวังไม่ให้ผู้ร้ายตีความว่า นักเจรจาไม่เชื่อ ไม่สนใจ หรือหาว่าผู้ร้ายเป็นคนบ้า ไม่มีเหตุผลเป็นต้น ด้วยการฟังนี่แหล่ะจึงทำให้ นักเจรจาประสบความสำเร็จในการเจาจาให้ผู้ร้ายปล่อยตัวประกันมานักต่อนักแล้ว
หากให้ผมเปรียบเทียบ ผมคงนึกถึงเกม rockman ที่เราจะต้องสะสมพลังด้วยการกดปุ่ม B ค้างไว้จนพลังเต็ม ถึงจะยิงพลังโจมตีได้แรงสะใจ การสนทนาก็เช่นกัน ถ้าอยากให้ปัง ก็จงฟังให้มาก พูดให้น้อย ต่อยให้หนักครับ
1
“Most of the successful people I’ve known are the ones who do more listening than talking.” —Bernard M. Baruch
โฆษณา