18 พ.ย. 2021 เวลา 23:22 • การศึกษา
หลักวิชา เรื่อง อำนาจรัฐ หรือ State Power
อำนาจรัฐ (State Power) มี 3 อำนาจ คือ
1. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty หรือ Sovereign Power)
2. อำนาจการปกครอง (Administrative Power)
3. อำนาจท้องถิ่น (Local Power)
อำนาจอธิปไตย ย่อมเป็นของประชาชน มี 2 ชนิด คือ
1. อำนาจอธิปไตยของประชาชนทุกคน หรือ อำนาจอธิปไตยของปวงชน (Sovereignty of the People) เรียกเป็นศัพท์ทางวิชาการว่า ระบอบประชาธิปไตย (Democratic Regime)
2. อำนาจอธิปไตยของประชาชนส่วนน้อย หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบอบเผด็จการ (Dictatorial Regime)
3
อำนาจอธิปไตย คือ ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน กับอำนาจอธิปไตยในรูปของเจ้าของ อำนาจ ว่า เจ้าของอำนาจเป็น คนส่วนน้อย หรือ ปวงชน โดยประมุขแห่งรัฐเป็นผู้ถืออำนาจไว้ให้ ประชาชน และใช้อำนาจตามเจตนารมณ์ของประชาชน
นั่นคือ ผลประโยชน์ของประชาชน คือ เจตนารมณ์ หรือความต้องการของประชาชน “อำนาจ อธิปไตยของปวงชน” ย่อมสะท้อน “ผลประโยชน์ของประชาชน” ฉะนั้น อำนาจอธิปไตยของปวงชน ก็คือ เจตนารมณ์ของประชาชน และ “ประมุขของรัฐ” ใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชน ก็คือ การทำให้เจตนารมณ์ของประชาชนบรรลุ “เกิดผลประโยชน์แก่ประชาชน” ผู้เป็น “เจ้าของอำนาจ อธิปไตย” นั่นเอง ซึ่งเป็นไปตาม การปกครองประเทศ ว่าเป็น “แบบใด” ประชาธิปไตย เผด็จการ หรือ คอมมิวนิสต์ ดังนั้น “การปกครอง” (Government) ก็คือ “เจตนารมณ์ของประชาชน” ในรูป “ระบบ” (System) นั่นเอง
การใช้อำนาจให้เป็นไปตามการปกครองของประเทศนี้ เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของ “ประมุขการปกครอง” ทั้ง 3 คือ ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี และประธานศาลฏีกา ที่ประมุขของ ประเทศแต่งตั้งนั่นเอง
ประมุขการปกครอง จะต้องใช้อำนาจให้เป็นไปตามการปกครอง (ระบบ) อันเป็นเจตนารมณ์ ของประชาชนที่ประกอบด้วย “หลักการปกครอง” (Principle of Government) และ “รูปแบบ ปกครอง” (Form of Government)
1
หลักการปกครอง (Principle of Government) เช่น ระบอบประชาธิปไตย (Democratic Regime) หรือ อำนาจอธิปไตยของปวงชน (Sovereignty of the People) เสรีภาพของบุคคลบริบูรณ์ (Freedom of the Person) ความเสมอภาค (Equality) หลักนิติธรรม หรือ หลักกฎหมาย (Rule of the Law) และรัฐบาลจากการเลือกตั้ง (Elected Government)
รูปการปกครอง (Form of Government) เช่น ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) และ ระบบประธานาธิบดี (Presidential System) เป็นต้น
ไม่ว่าในสิ่งหรือปรากฏการณ์ใดๆ “เนื้อหา” กับ “รูปแบบ” ย่อมเป็น “เอกภาพ” กัน แยกออก จากกันมิได้ ถ้า “หลักการ” ซึ่งเป็น เนื้อหา กับ รูปแบบ แยกออกจากกัน ก็จะไม่มีสิ่งหรือปรากฏการณ์ นั้นๆ
1
การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic Government) ก็เช่นเดียวกัน จึงต้องมีทั้งระบบ (System) และ ระบอบ (Regime) ประกอบกันเข้าเป็น การปกครอง (Government) โดย ระบอบเป็น หลักการปกครอง ระบบเป็นรูปการปกครอง เรียกเป็นคำธรรมดาว่า ระบอบเป็น “เนื้อหา” (Content) ระบบเป็น “รูปแบบ” (Form) ถ้าระบอบกับระบบ แยกออกจากกันหรือ ถ้าหลักการปกครอง กับ รูปการปกครอง แยกออกจากกัน ก็จะไม่มี การปกครองแบบประชาธิปไตย
ปัญหาวิกฤติของบ้านเราในขณะนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตกอยู่ภายใต้ภาวะ อนาธิปไตย นั้น ก็เพราะเกิดจาก หลักการปกครอง กับรูปการปกครอง แยกออกจากกัน
1
โดยเฉพาะที่สำคัญ ภายใต้ ภาวะอนาธิปไตยการเกิดม๊อปในช่วงเวลาขณะนี้ นอกจากหลักการปกครองไม่ใช่ประชาธิปไตยแล้ว รูปการปกครองก็ยัง ไม่ใช่ ระบบรัฐสภาอีกด้วย จึงส่งผลให้วิกฤติของชาติครั้งนี้ มีความรุนแรงอย่างที่สุด กล่าวคือ นอกจากมี หลักการปกครองเป็นระบอบเผด็จการแล้ว รูปการปกครองก็ยังเป็นระบบประธานาธิบดีอีกด้วย ดังนั้น การแก้วิกฤติขณะนี้ จึงอยู่ที่ทำให้มี การปกครองแบบประชาธิปไตยทั้งหลักการและรูปแบบให้ถูกต้อง ถ้ายังทำไม่สำเร็จ ก็ไม่อาจแก้ปัญหาอนาธิปไตยได้ แม้แต่ประเทศที่มีระบอบเป็นประชาธิปไตยแล้ว แต่ถ้าระบบไม่เป็นเอกภาพกับระบอบ ก็จะทำให้การเมืองไม่มีเสถียรภาพ ตัวอย่างเช่น การปกครอง ของฝรั่งเศส ก่อนยุคของ ชาร์ล เดอ โกลด์ ซึ่งระยะเวลา 3 ปี ต้องใช้รัฐบาลถึง 25 ชุด
1
โฆษณา