20 พ.ย. 2021 เวลา 03:54 • ธุรกิจ
มองตลาดโทรศัพท์มือถือในสิงคโปร์ แล้วย้อนดูตัว
1
ข้อมูลรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเลขหมาย จาก Phillip Securities Research
.
การแข่งขันของตลาดโทรศัพท์มือถือในสิงคโปร์ ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่มีผู้ใช้งานเพิ่มสูงขึ้น (ข้อมูลจาก opensignal)
ค่าเน็ตมือถือในสิงคโปร์ ราคาลดลงเหลือเพียงประมาณ $0.20-0.50 (5-12 บาท)/GB ลดลงเหลือ 1/25 เมื่อเทียบกับ 5 ปีที่แล้ว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมากมายขนาดนั้น
.
ทำไมเหรอครับ นั่นเป็นเพราะการแข่งขัน ประเทศเล็ก ๆ ขนาดใหญ่กว่าจังหวัดนนทบุรีนิดหน่อย และมีประชากรประมาณ 5 ล้านคนเศษเท่านั้นเอง เดิมทีมีผู้ประกอบการถึง 3 เจ้าหลัก คือ SingTel, M1 และ Starhub แต่ในปี 2016 รัฐบาลตัดสินใจให้ใบอนุญาตกับผู้ประกอบการรายใหม่ TPG Telecom จากออสเตรเลีย และได้เริ่มประกอบการอย่างเต็มตัวในปี 2020
.
นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการแบบ MVNO - Mobile Virtual Network Operator ที่เช่าใช้เครือข่ายจากผู้ประกอบการหลักอีกถึง 9 ราย จึงทำให้การแข่งขันเข้มข้นขึ้นไปอีก
.
1
การแข่งขันนี้เองทำให้รายได้เฉลี่ยต่อลูกค้าหนึ่งรายลดลงอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่เคยอยู่ประมาณ 70-80$ ต่อเดือน ลงมาอยู่ในระดับ 30$ ค่อเดือนเท่านั้นเอง
1
.
แน่นอนที่สุด การแข่งขันทำให้รายได้ของผู้ประกอบการลดลงบ้าง แต่ก็ทำให้ผู้ประกอบการปรับตัว หาช่องทางรายได้ใหม่ ๆ ทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และลดค่าใช้จ่ายลง จนถึงแม้จะไม่ได้กำไรล้นฟ้าเช่นเดิม แต่ก็ไม่ถึงกับขาดทุน
.
แต่ข้อดีของการแข่งขันหลัก ก็คือผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ต่ำลง และมีคุณภาพของระบบโทรศัพท์ที่ดีขึ้นนั่นเอง จนทำให้เกือบทุกคนสามารถเข้าถึงบริการโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับประเทศนั่นเอง
.
ย้อนกลับมาดูประเทศไทย ที่มีประชากรมากกว่าสิงคโปร์ถึง 30+ เท่า กลับมีผู้ประกอบการหลักเพียง 4 เจ้า โดยเจ้าที่เล็กที่สุดมีส่วนแบ่งตลาดเพียงประมาณ 3% นั่นเอง
.
สำหรับในตลาด MVNO ประเทศไทยเรากลับมีขนาดค่อนข้างเล็ก มีผู้ประกอบการอิสระเพียงไม่กี่ราย เช่น Loxley, Feel Telecom, White Space เป็นต้น โดยมีเลขหมายที่ใช้งานอยู่เพียงประมาณ 3 หมื่นกว่าเลขหมายเท่านั้น(เทียบเลขหมายรวม 118 ล้านเลขหมาย) นอกจากนี้หลาย ๆ รายในนั้น ก็กลับเป็นบริษัทของผู้ประกอบการหลัก 4 เจ้านั่นเอง เช่น Finn Mobile, Gomo, TrueMoveH (กสทช. ไม่ต่อใบอนุญาต) จึงทำให้ธุรกิจ MVNO ในประเทศไม่ประสบความสำเร็จ จนหลาย ๆ รายต้องถอนตัวไป เพราะมีการแข่งขันในระดับผู้ประกอบการหลักไม่เพียงพอ จนราคาต้นทุนที่ MVNO ได้จากผู้ประกอบการหลักสูงจนไม่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการหลักได้นั่นเอง
1
.
ส่วนตลาดมือถือและอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป เรามาติดตาม TRUE และ DTAC ว่าจะประกาศอะไรออกมาในวันที่ 22 พฤศจิกายนนี้กันครับ
ที่มา: Singapore 4Q20 Equity Strategy ของ Phillip Securities Research
โฆษณา