23 พ.ย. 2021 เวลา 06:56 • ไลฟ์สไตล์
เคล็ดลับแพลนค่าใช้จ่ายล่วงหน้า แก้เก็บเงินไม่อยู่
เก็บเงินไม่อยู่ เพราะมีค่าใช้จ่ายอะไรอีกก็ไม่รู้ 'ลืมไปเลยว่าต้องจ่าย' ทำให้หลุดงบที่ตั้งไว้ เป็นต้นเหตุของเงินไม่พอ 💸💸
แก้ปัญหาการเงินสะดุด ให้ราบรื่นไม่มีหลุด ด้วยวิธีแพลนค่าใช้จ่ายล่วงหน้า จดงบค่าใช้จ่ายรายเดือนและรายปี
💰 งบรายเดือนล่วงหน้า 💰
ในเมื่อค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่มาซ้ำๆ ทุกเดือน เช่น ค่ากิน ค่าเช่า ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเทอม ค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้าน หรือแม้แต่ค่าเที่ยว ค่าช้อปปิ้ง พวกนี้สามารถเดาตัวเลขได้คร่าวๆ แล้วทำไมเราไม่ลิสต์งบไว้ล่วงหน้าเสียเลยล่ะ!?
.
วิธีนี้ผู้เขียนคิดเองค่ะ จดโน้ตในไลน์ เพราะวางแผนที่ไหนก็ได้ ดูได้ทุกที่ มีอิสระในการเขียน
  • 1.
    ขั้นแรก ต้องสร้างกลุ่มที่มีเราคนเดียวก่อน จึงจะจดโน้ตได้
  • 2.
    แยกหมวดหมู่ไว้ ลิสต์รายการออกมา
  • 3.
    อันไหนจ่ายแล้วเรียบร้อย พิมพ์เครื่องหมาย / ลงไป
.
  • Tips : แยกเงินใส่บัญชีต่างๆ ให้เรียบร้อย โดยใช้สัญลักษณ์สีธนาคารช่วยจำค่ะ สีเขียวก็กสิกร สีฟ้ากรุงไทย สีชมพูออมสิน เป็นต้น
งบการเงิน (รายปี) ล่วงหน้า จดในไลน์ ช่วยเรื่องการเงินไม่สะดุด
ทำไมต้องแยกบัญชีธนาคาร?
สาเหตุที่ต้องแยกธนาคารเพราะไม่อยากให้งบปะปนกันเอง ตามหลัก สูตรจัดการเงินผ่าน 4 บัญชี
.
ในที่นี้ผู้เขียนแยกเป็น…
  • บัญชีค่าใช้จ่ายคงที่ : ค่าเช่า ค่าโทรศัพท์รายเดือน ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าเลี้ยงดูครอบครัว ค่าสมาชิก ค่าทำฟัน ผ่อนหนี้
  • ค่าใช้จ่ายผันแปร : ค่าน้ำ-ค่าไฟ ค่าวัตถุดิบทำอาหาร ค่ารับประทานอาหารนอกบ้าน ค่าเที่ยว ค่าของใช้
  • เงินเผื่อฉุกเฉิน : เงินเผื่อเหลือเผื่อขาดของเดือนนั้นๆ
  • เงินลงทุน เงินออม : หุ้น กองทุน สหกรณ์ออมทรัพย์
.
การบริหารเงินรายเดือนแบบนี้สามารถปรับใช้ได้ตามไลฟ์สไตล์ จะปรับเป็นงบรายวัน รายไตรมาสก็ได้
ใครไม่สะดวกใช้ไลน์ ถนัดใช้กระดาษกับปากกา หรือชอบใช้แอปพลิเคชันอื่นวางแผนการเงินมากกว่า ก็เลือกสรรวิธีที่เหมาะสมได้เลยค่ะ
(อ่าน รวมแอปฯ บันทึกรายรับรายจ่ายง่ายๆ ที่ไหนก็ได้)
💰 งบรายปีล่วงหน้า 💰
วางแผนอนาคตการเงินไม่สะดุด
ค่าใช้จ่ายบางอย่างเราลืมเสียสนิท เพราะรายจ่ายนั้นไม่ได้มาทุกเดือน แต่มาแบบค่าใช้จ่ายก้อนโต ตูมเดียวเสียแพง เช่น วันครบรอบ ค่าของขวัญ ค่าเทอม ค่าต่อทะเบียนรถยนต์ ค่าประกันภัย ประกันชีวิต
.
ดังนั้นห้ามลืมเด็ดขาด เงินจะไม่พอใช้ สุดท้ายก็ต้องหยิบยืมคนอื่นให้เป็นหนี้ อันตรายค่ะ
.
งบนี้ควรทำล่วงหน้าทุกปี หรือทุกครึ่งปีค่ะ โดย
  • สร้างตารางแบ่งเป็น 12 เดือน
  • แบ่งคอลัมน์เป็น 4 ช่อง คือ เดือน – รายละเอียด – ค่าใช้จ่าย – หมายเหตุ
งบการเงิน (รายปี) ล่วงหน้า ช่วยเตือนค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่
ใครใคร่กระดาษจดกระดาษ ใครอยากได้แบบละเอียดยิบก็ใช้ Excel ซึ่งผู้เขียนเป็นแบบกลางๆ ใช้แอปพลิเคชัน Google ชีต ในมือถือก็ทำตารางได้ สะดวกดีค่ะ
.
  • หลักการวางแผนการเงินที่ดี คือต้องมองโลกในแง่ร้าย
  • ต้องคิดเผื่อล่วงหน้าไว้หลายสเต็ปเพื่อให้มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี ใช้จ่ายได้ราบรื่น เป็นจุดเริ่มต้นของการมีเงินเก็บ เงินออม และความมั่งคั่งในอนาคต
.
กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตหวังว่าวิธีนี้จะทำให้ทุกคนมีชีวิตมั่นคงขึ้น การเงินไม่มีสะดุด ไว้พบทริกการเงินดีๆ อีกในบทความหน้านะคะ
ติดตามเรื่องราวข่าวสาร กินอยู่เป็น ง่ายๆ ได้ทาง
เว็บไซต์ : www.kinyupen.co
แฟนเพจ : กินอยู่เป็น
ทวิตเตอร์ : @kinyupenco : www.twitter.com/Kinyupenco
อินสตาแกรม : @kinyupen.co www.instagram.com/kinyupen.co
โฆษณา