24 พ.ย. 2021 เวลา 03:12 • การศึกษา
เรื่องจริงประการแรกคือ ต้องไม่ปฏิเสธว่า การอ่านหนังสือเป็นทักษะอย่างหนึ่งค่ะ
สมัยรุ่นปู่-ย่า วัยประถม ท่านต้องเรียนวิชา "อ่านเอาเรื่อง" ไม่ใช่เป็นการอ่านเพื่อไปหาเรื่องใคร หากแต่คุณครูจะให้นร.คนหนึ่งในชั้น ลุกขึ้นยืนอ่านเสียงดังให้เพื่อนฟัง จากนั้นทั้งชั้นจะต้องสรุป Who, What, Where, When, Why and How ขณะที่สมัยเรา ก็มี "การอ่านหนังสือนอกเวลา" ทั้งในวิชาภาษาไทย และวิชาภาษาตปท. ด้วยวัตถุประสงค์การอ่านเช่นเดียวกับการ "อ่านเอาเรื่อง"
เรื่องจริงประการที่สองคือ วิชาดังว่านั้น เป็น "รากฐานในการฝึกฝนทักษะการอ่านสำหรับนร./นศ." เพื่อสรุปความเข้าใจและทำคะแนนสอบได้ตามเกณฑ์
เรื่องจริงประการที่สามคือ การอ่านหนังสือเพื่อ "เอาเรื่อง เอาประเด็น" ล้วนต้องใช้การ "พุ่งความสนใจ หรือสมาธิจดจ่อ" เพื่อ "จับใจความ และจึงเงยหน้า ทำความเข้าใจ ด้วยการพูดคุยกับตัวเอง" เหมือนบรรดาอัจฉริยะทั้งหลายเขาทำกัน
สรุป ถ้าอ่านรวดเดียว ด้วยสมาธิขั้นเทพ คงไม่ต้องใช้เวลามาก แต่หลายครั้งเราจะพบว่า พวกเราส่วนใหญ่ "อ่านในใจ โดยไม่มีสมาธิ และไม่กระจ่างในบางเรื่อง" จึงต้องอ่านช้าๆและซ้ำๆหลายรอบ และเป็นที่มาของคำว่า "ต้องใช้เวลาอ่านหนังสือ" จำนวนเวลาในการอ่านหนังสือ จึงเป็นปัจจัย(Factor) หนึ่งที่สำคัญสำหรับ "คนเก่ง" ค่ะ
โฆษณา