24 พ.ย. 2021 เวลา 03:49 • ท่องเที่ยว
พระที่นั่งบูรพาภิมุข.. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
“พระที่นั่งบูรพาภิมุข” ... จัดแสดงเครื่องศัสตราวุธโบราณซึ่งเคยใช้ในการสงครามตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์
ตามธรรมเนียมเก่าแก่ ... ห้องทางตะวันออกเฉียงเหนือของห้องบรรทมจะนิยมใช้เก็บอาวุธ แต่เมื่อมีการบูรณะ จึงเป็นโอกาสย้ายห้องศัสตราวุธมาไว้ที่พระที่นั่งบูรพาภิมุข
ห้องนี้เต็มไปด้วยศิลปะงานช่างหลวงประเภทเครื่องศัสตราวุธ หรืออาวุธที่ประณีตไม่แพ้งานเครื่องเรือน เครื่องใช้ โดยแบ่งประเภทชิ้นงานตามยศศักดิ์และการใช้งาน นั่นคือ .. เครื่องราชศัสตราวุธ หรือเครื่องอาวุธของพระมหากษัตริย์ ซึ่งจะมีความงดงามกว่าอาวุธทั่วไป แม้จะเป็นอาวุธประเภทเดียวกัน มีการประดับประดาด้วยโลหะมีค่าและอัญมณี
อีกประเภทหนึ่งคือ เครื่องศัสตราวุธ คือ เครื่องอาวุธของสามัญชน ตั้งแต่ระดับทหารที่ถูกเกณฑ์ จนถึงขุนนางชั้นสูง และแบ่งอาวุธที่ใช้ประดับเพื่อแสดงยศ กับอาวุธสำหรับใช้งานจริง
โบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่จัดแสดงในห้องนี้คือ ตำราพิชัยสงครามฉบับหลวง สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ .. ตำราพิชัยสงครามฉบับภาพชบวนพยุหะเล่มนี้ จำลองขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2358 ซึ่งเป็นหนึ่งในสำรับตำราพิชัยสงคราม อันประกอบด้วย ฉบับผังภาพพยุหะ ฉบับกลศึก ฉบับโหราศาสตร์ ฉบันกฎหมายธรรมเนียมการศึก ฉบับคาถาอาคมเลขยันต์ ฉบับภูมิศาสตร์ ฉบับการแพทย์ เป็นต้น
ตำราพิชัยสงครามฉบับนี้มี 82 หน้า แสดงแผนผังภาพ พิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับการรบ การเลือกแม่ทัพให้สอดคล้องกับชัยภูมิ ภาพระยะทางแผนที่เมืองต่างๆ ผังการจัดขบวนพยุหะสำหรับเคลื่อนทัพ และจัดกระบวนทัพสำหรับการสู้รบ รวมถึงผังการจัดป้อมค่าย
หุ่นจำลองการจัดกระบวนทัพแบบครุฑ คชยุทธ์หรือช้างศึก ตามตำราพิชัยสงครามเล่มนี้
เสื้อยันต์ลายหนุมานนั่งแท่น สำหรับแม่ทัพใส่ใต้เสื้อผ้าและเกราะในยามออกรบ ตัวที่จัดแสดงอยู่เป็นวัตถุเก่าแก่ตั้งแต่ พ.ศ. 2358
หมวดเครื่องสูง .. เป็นอาวุธสำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูง รวมหมายถึงอาวุธที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่แม่ทัพนายกองระดับสูงด้วย ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะการปูนบำเน็จรางวัล หรือเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์
อาวุธที่จะขึ้นระวางเป็นเครื่องสูงได้มักจะมีคุณสมบัติหลัก 3 ประการ คือ ต้องใช้วัสดุคุณภาพดี เช้น โลหะมีค่า เหล็กชั้นดี ไม้หายาก ต้องมีสัญลักษณ์ปรากฏในอาวุธ เช่น รูปเทพ รูปพระนารายณ์ และต้องมีความประณีตเชิงช่าง เช่น งานคร่ำทอง งานสลักดุน งานลงยา
การทำศึกสงครามทุกครั้ง .. กองทัพจะมีการสร้างขวัญกำลังใจให้เกิดกับไพร่พลเสมอ โดยแสดงผ่านทางพิธีกรรมและสัญลักษณ์ความเชื่อต่างๆ อาทิ พระชัย พระสุรัสวดี รูปแบบของยันต์ในเครื่องมือหรืออาวุธต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ไพร่พลรู้สึกฮึกเหิม และมีกำลังใจในการต่อสู้
พระพุทธรูปปางมารวิชัย .. ศิลปะสมัยพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นพระชัยหลังช้าง ประดิษฐานเป็นขวัญกำลังใจกองทัพในยามออกรบ
อาณัติสัญญานในการทำสงคราม .. คือ ลักษณะการสื่อสารคำสั่งของผู้บัญชาการกองทัพไปยังกำลังพลส่วนต่างๆ เพื่อให้ดำเนินการตามยุทธวิธีการรบ การแสดงอาณัติสัญญานจะมี 3 ส่วนที่สำคัญ คือแสดงผ่านเสียง เช่น กลอง ฆ้อง แตร .. แสดงผ่านอาวุธ เช่น หอก ดาบ ง้าว .. แสดงผ่านสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น ธง แส้ และการเคลื่อนไหวร่างกาย
กลองสำหรับพระนคร โบราณวัตถุเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2325 สร้างพร้อมการตั้งเสาหลักเมือง .. ประกอบไปด้วยกลอง 3 ใบ เรียงจากใหญ่ไปเล็ก แต่ละใบใช้ในสถานการณ์ต่างกันไป
ใบล่างสุดชื่อกลองย่ำพระสุริย์ศรี หนังทำจากหนังควาย ด้านในเขียนยันต์กันขโมย ใช้ตีบอกเวลาเช้ากับมืด
... ใบกลางชื่อกลองอัคคีพินาศ หนังทำจากหนังวัว ด้านในเขียนยันต์กันไฟไหม้ ใช้ตีเรียกคนมาดับไฟ
.. ส่วนใบบนสุดชื่อกลองพิฆาตไพรี หนังทำจากหนังหมีกับหนังเสือ ด้านในเขียนคาถาพุทธคุณแบบเล่นกลบท เขียนด้วยภาษาบาลีเป็นตัวอักษรขอม ใช้ตีเมื่อศัตรูประชิดประตูเมือง
*******************
เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลกกับพี่สุ … รวม link บทความที่เขียนในเพจ ..
***เมืองไทย ไดอารี่ by Supawan
***Supawan’s colorful world
***สถานีอร่อย by Supawan
โฆษณา