24 พ.ย. 2021 เวลา 12:42 • ปรัชญา
การตัดสินใจครั้งสำคัญ
พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง
ครั้งหนึ่งมีเด็กหนุ่มคนหนึ่งพูดประโยคนี้
"ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ให้มากที่สุด... แต่ถ้ายี่เกยจะบวช ผมก็ต้องสึกออกไปอยู่บ้านค้าขาย"
2
ผู้พูดคือ เงื่อม พานิช หลังบวชได้หนึ่งพรรษา ปี พ.ศ. 2470
ยี่เกยคือชื่อของน้องชายของเขา
เดิม เงื่อม พานิช คิดจะบวชเพียงสามเดือน แล้วจะสึกไปทำการค้าต่อ
เจ้าคณะอำเภอได้ยินประโยคข้างต้น ก็ไปคุยกับโยมแม่ของเขา บอกว่าเงื่อมควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนยี่เกยผู้น้องนั้นไม่ต้องบวชก็ได้ เพราะใช้ชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว
ยี่เกยนอกจากจะไม่ได้บวช ยังยอมเลิกเรียนต่อแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ที่เรียนมาได้ 1 ปีแล้ว มาทำงานบ้านแทน เพื่อให้พี่ชายได้บวชต่อไป
3
ยี่เกยจบมัธยมปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ยี่เกยคือ ธรรมทาส พานิช เงื่อมก็คือ ท่านพุทธทาสภิกขุ
1
ผลจากการตัดสินใจครั้งนี้ของฆราวาสที่ดีงามคนหนึ่ง ทำให้โลกมีพระที่ดีงามรูปหนึ่ง ผู้ที่ในกาลต่อมาสร้างฆราวาสที่ดีงามอีกจำนวนนับไม่ถ้วน
3
ผู้เขียนได้อ่านเจอบทความดังกล่าวด้านบนที่อยู่ในชีวประวัติของท่านพุทธทาสภิกขุ เห็นว่าน่าสนใจ อยากนำมาแชร์ จึงได้มาสรุปให้เห็นสิ่งที่จะพูดถึงในบทความนี้คือ เรื่องการตัดสินใจครั้งสำคัญก่อให้เกิดพลังงานแห่งการเปลี่ยนแปลง
2
ลองคิดตามดูนะครับ ในวันหนึ่งเรามีการตัดสินใจมากขนาดไหนตั้งแต่ตื่นนอน
  • ตื่นแล้ว ลืมตา จะนอนต่อหรือลุกตื่นดี อันนี้ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจครั้งแรกของวันแล้ว
  • แต่งชุดไหนดีวันนี้
  • จะกินข้าวเช้าอะไรดี กินที่บ้าน หรือ ไปกินระหว่างทางไปทำงาน
  • ไปทำงาน ขับรถไปเส้นไหนดีเลี่ยงรถติด
  • ถึงที่ทำงานซื้อกาแฟหรือไม่ซื้อดี หรือไปชงเองที่ออฟฟิศ
  • นั่งโต๊ะทำงาน เริ่มงานชิ้นไหนก่อนดี หรือนั่งดู feed บน social ก่อน
  • กินกลางวันร้านไหนดี
  • เลิกงานไปไหนต่อดี ชวนเพื่อนไปด้วยไหม เรียกคนไหน
  • บลาๆๆๆ
4
จะเห็นว่าในวันหนึ่งเรามีกระบวนการตัดสินใจทั้งนั้น ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ บางทีเราอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังตัดสินใจอยู่ด้วยซ้ำ
เป็นความจริงอยู่ที่ว่าเราไม่สามารถควบคุมปัจจัยหรือสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เกิดขึ้นกับชีวิตเราได้ แต่เราสามารถควบคุมสิ่งที่เราจะคิด เชื่อ และทำเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นได้จนท้ายที่สุด ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ พร้อมหรือไม่พร้อม รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
1
"ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรอก แต่การตัดสินใจของเราเองต่างหากที่เป็นตัวกำหนดชะตาชีวิตของเรา"
ความเชื่อเป็นแรงขับเคลื่อนและส่วนหนึ่งในการควบคุมการตัดสินใจของเรา ส่งผลต่อวิธีและกระบวนการคิด
“เมื่อเรามีความเชื่อในสิ่งใด จะมีการส่งคำสั่งที่ไม่มีข้อสงสัยไปยังสมองให้ตอบสนองกลับมาในลักษณะหนึ่งๆตามความเชื่อนั้น”
สามารถพูดได้เต็มปากว่า ความเชื่อ มันมีอิทธิพลต่อการให้เราตัดสินใจลงมือทำอะไรบางอย่างที่เราอาจคาดไม่ถึงในชีวิต และนั่นคือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง
3
ทุกการตัดสินใจอยู่ที่ตัวเราเอง อยากมีชีวิตที่ดี อยากประสบความสำเร็จ จงตัดสินใจซะ
2
โฆษณา