28 พ.ย. 2021 เวลา 12:29 • สุขภาพ
“โอไมครอน” เรื่องที่ต้องรู้&ต้องทำ ควรระวังอะไร?ยังไงกันบ้าง?
CDC แนะนำ เหมือนทุกครั้ง สวมม้าสค์ ล้างมือ ห่างกัน 1 เมตร
1. การแพร่พันธุ์ ติดง่ายหรือไม่
พบว่าติดกันง่ายมาก และเพราะการติดกันง่าย จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว WHO จึงอัพเกรดเลื่อนทีเดียวจาก VUM หรือ variant under monitoring กลายเป็น VOC variant of concern คือกระโดดข้ามอันกลางVOI variant of interest มาค่ะ
1
  • 3 กลุ่มคือ VUM, VOI และ VO C
สายพันธุ์ที่พบใหม่นี้มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมประมาณ 50 ตำแหน่ง และมากกว่า 30 ตำแหน่งเกิดขึ้นบนหนามแหลม หรือสไปค์โปรตีน
1
❗️❕ทำให้หลบระบบภูมิคุ้มกันของคนที่ได้รับวัคซีนแล้วหรือเคยเป็นโรคแล้วได้
1
เหตุผลที่ติดง่ายเพราะ
ไวรัสสายพันธุ์นี้มีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งที่เอนไซม์จะตัด cleavage site โดยเฉพาะเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนที่เป็นด่าง (K = lysine) ทำให้ง่ายต่อการ ตัดด้วยเอนไซม์ Furin ของมนุษย์ ไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ง่าย หรือติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
4
2. ดื้อวัคซีนหรือไม่
การเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งที่ภูมิต้านทานแอนติบอดีจะจับ เป็นที่เกรงว่าจะทำให้ไวรัสนี้ดื้อต่อวัคซีน ด้วย
1
ข่าวร้ายจริง ๆ
3. ยาสำหรับรักษาไวรัส หรือ Anti viral ddrug ณ ตอนนี้น่าจะยังใช้ยาเดิมได้ เท่าที่อ่านพบ
1
4. การตรวจหาคนไข้ ว่าใครติดเชื่อสายพันธุ์นี้? เป็นโรคแล้วหรือยัง?
อันนี้ล่ะค่ะที่เป็นปัญหา เพราะเมื่อเชื้อกลายพันธุ์ แต่การตรวจ pcr ยังใช้ไพรมเมอร์เดิม(อธิบาย เป็นรหัสของเชื้อสายพันธุ์เดิม ๆ ทำให้อาจตรวจไม่เจอ)
1
เพราะฉะนั้นถ้าเกิดการระบาด ติดต่อกันขึ้นมาจริงๆ แต่พีซีอาร์ PCR negative ต้องระวังว่าเป็นผลลบ ลวง หรือเปล่า
ตรงนี้👉 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยวันนี้ว่า(28.11.2021)👇
1
ชุดตรวจสายพันธุ์ Omicron (B.1.1.529) ที่จะตรวจ 40 ตำแหน่งบนจีโนมไวรัสพร้อมกัน อาศัยเทคโนโลยีที่ชื่อว่า "Mass Array"
คาดว่าจะแล้วเสร็จใช้งานได้ในอีก 2 สัปดาห์หลังจากนี้
2
  • และจะสามารถตรวจสายพันธุ์ Omicron ได้ 1,000 ตัวอย่างต่อสัปดาห์ โดยศูนย์จีโนมฯ จะร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 จากตัวอย่างทั่วประเทศ
3
ส่วนกรณีการตรวจ PCR ที่ใช้ตรวจไวรัสโคโรนา 2019 ทางศูนย์จีโนมฯ ได้ดาวน์โหลดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของ "โอไมครอน" ทั้ง 115 ตัวอย่าง มาทดสอบด้วยวิธีชีวสารสนเทศกับตัวตรวจตาม (PCR primer) ของชุดตรวจ PCR ที่ทาง WHO ให้การรับรอง ผ่านโปรแกรม “Nextclade” แล้ว
1
ผลพบว่า จากการวิเคราะห์ผลบนคอมพิวเตอร์ ทั้ง 115 ตัวอย่างมีแนวโน้มว่าอาจเกิดปัญหาไม่มากก็น้อยกับชุดตรวจ PCR บางยี่ห้อ
คืออาจให้ผลบวกอ่อนลง
หรือเกิดผลลบปลอมขึ้นได้
เนื่องจากตัวตรวจตาม (PCR Primer) ของยี่ห้อดังกล่าว มีรหัสพันธุ์กรรมของตัวตรวจตาม (PCR Primer) ที่บ่งชี้ว่ามีสองกรณี
2
อาจเพราะ
1.ตรวจจับกับส่วนจีโนมของสายพันธุ์ออมิครอนได้ไม่ดี
2.หรือจับไม่ได้เลยเนื่องจากไวรัสมีการกลายพันธุ์ไปมาก
1
ข่าวอัพเดตจะมาเล่ากันต่อค่ะ
5. คำแนะนำจาก องค์กรอนามัยโลกและ CDC
1
อย่างไรก็ตามเราจะผ่านพ้นได้ถ้า ปฏิบัติตามวิธีป้องกันแบบเดิมค่ะ
1
ตั้งการ์ดสูงๆไว้นั่นเอง และ
- สวมม้าสค์
- ล้างมือให้สะอาดปราศจากเชื้อบ่อยๆ
- เว้นระยะห่างทางสังคม
1 เมตร ค่ะ
2
  • อดใจไว้ก่อน ระมัดระวังกันอย่างเต็มที่ เคยผ่านพ้นมาแล้ว ต้องผ่านพ้นได้อีก
2
สู้ ๆ ไปด้วยกันค่ะ
อ้างอิง
-Classification of Omicron (B.1.1.529): SARS-CoV-2 Variant of Concern
1
- โควิด : WHO ให้ชื่อ "โอไมครอน" สายพันธุ์ใหม่ที่พบแถบแอฟริกาใต้ หลายชาติกลับมาจำกัดการเดินทาง
1
- ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลตรวจโอไมครอนคาดได้ใช้ใน2 สัปดาห์
1
คคห.ส่วนตัว..เหตุการณ์ครั้งนี้ ป้าคิดว่า
- ไม่มีใคร/ประเทศอะไรจะรอดไปคน/ประเทศเดียว
เพราะถ้าโลกไม่สามารถกำจัดหรือควบคุมเชื้อได้อย่างเบ็ดเสร็จ เชื้อก็จะกลายพันธุ์ได้อยู่ดีในที่สุด
1
- คนที่ไม่อยาก/ไม่ต้องการฉีดวัคซีน มีประเด็นน่าคิดว่า
-- สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และ สวัสดิภาพของโลก มันจะวิเคราะห์กันอย่างไร
5
- ฝากเพื่อน ๆ ช่วยคิด ช่วยเม้นต์ด้วยค่ะ
ขอขอบคุณ
ป้าพา
โฆษณา