2 ธ.ค. 2021 เวลา 04:05 • อสังหาริมทรัพย์
ทำไมเราควรสนใจเรื่องการเงินของแบรนด์บ้านที่เราจะซื้อ ?
สมัยก่อน หากเราจะเลือกซื้อหรือลงทุนกับ “บ้าน” หนึ่งหลัง บางคนก็อาจจะดูที่ทำเล บางคนก็อาจจะเลือกที่การออกแบบภายในหรือพื้นที่ใช้สอยเป็นหลัก แต่สมัยนี้ การมองลึกลงไปยังบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นผู้สร้างบ้าน ผู้สร้างคอนโด ก็เรียกได้ว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะมันจะช่วยให้เรารู้จักว่าใครกันที่เป็นคนสร้างบ้านให้เรา และเขาคนนั้น มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งขนาดไหน
หากผู้ที่กำลังมองหาที่พักอาศัย ศึกษาหาข้อมูลและทำความเข้าใจในเรื่องนี้ มันก็จะยิ่งทำให้มั่นใจกับ “บ้าน” ที่เราจะใช้ชีวิตไปกับมันอีกหลายสิบปี หลายคนสงสัยว่า เราจะไปดูข้อมูลเรื่องการเงินของแบรนด์บ้านที่สนใจจากไหน แล้วทำไมเราควรสนใจในเรื่องนี้ ?
เริ่มกันที่ เราจะไปหาข้อมูลได้จากไหน จริง ๆ แล้ว ก็ต้องบอกก่อนว่าผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ก็มีทั้งบริษัทที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้ง 2 ประเภท จะแตกต่างกันที่กลุ่มบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นจะมีการรายงานเรื่องการเงินเป็นประจำทุก ๆ ไตรมาสให้กับนักลงทุนได้ทราบ ซึ่งเราก็สามารถเข้าไปติดตามข่าวสารได้เอง ไม่ว่าจะเป็นจากเว็บไซต์โดยตรงของบริษัท รวมถึงเอกสารที่ทางบริษัทได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์
1
แล้วถ้าเราต้องดูตัวเลขการเงินของผู้ที่จะสร้างบ้านให้เราที่อยู่ในตลาดหุ้น แต่เรายังไม่มีไอเดียว่าต้องเริ่มจากข้อมูลส่วนไหน เราควรเริ่มจากอะไร ?
ก่อนอื่นเลย เราก็ควรจะเริ่มจาก Balance Sheet หรืองบแสดงฐานะทางการเงินของบริษัท หลายคนเรียกว่า “งบดุล” โดยงบดุลจะใช้เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ
ขอยกตัวอย่างของบริษัทเราเองให้เห็นภาพชัดๆ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC Asset
– สินทรัพย์รวม 46,827 ล้านบาท
– หนี้สินรวม 27,952 ล้านบาท
– ส่วนของผู้ถือหุ้น 18,900 ล้านบาท
ข้อมูลในส่วนนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นคงของบริษัทเพราะมันสามารถบอกเราว่าตอนนี้บริษัทมีเงินสดหรือเงินลงทุนเท่าไร หนี้สินเยอะไหมนั่นเอง นอกจากงบดุลแล้ว อีกงบที่พลาดไม่ได้เลยก็คือ “งบกำไรขาดทุน” เพราะงบนี้เอง จะเป็นเครื่องมือที่บอกกับเราว่าที่ผ่านมา
– บริษัททำกำไรได้ไหม
– บริษัทมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้เท่าไร
ยกตัวอย่างงบกำไรขาดทุนของ SC Asset
ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 15,647 ล้านบาท กำไร 1,782 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 17,674 ล้านบาท กำไร 2,026 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2563 รายได้ 19,037 ล้านบาท กำไร 1,898 ล้านบาท
เราจะเห็นได้ว่า SC Asset มีรายได้เติบโตและมีกำไรที่มั่นคง ทั้ง ๆ ที่ในปี 2563 หลายประเทศทั่วโลกก็ได้เจอกับวิกฤติโควิด 19 ก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นคงและเป็นความสบายใจของผู้ที่จะเลือกซื้อบ้านว่าอย่างน้อย บ้านเราเลือกมีคนสร้างที่นอกจากจะสร้างบ้านได้ตอบโจทย์ผู้อยู่แล้ว ยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์วิกฤติได้อย่างดี และทันท่วงทีอีกด้วย
ในทางกลับกัน หากเราลองจินตนาการดูว่าบ้านที่เราจะซื้อมีผู้พัฒนาที่กำไรบ้าง ขาดทุนบ้างหรือมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสูงมาก เมื่อเทียบกับรายได้ที่ทำได้ เราก็อาจจะต้องไปดูให้ละเอียดขึ้นว่าที่เขาขาดทุน ขาดทุนเพราะอะไร เพราะมันมีโอกาสที่บริษัทเหล่านั้นจะผลิตสินค้าหรือบริการ โดยเลือกใช้วัสดุ วัตถุดิบที่มีคุณภาพลดลงมาแต่กลับขายในราคาเท่าเดิม ซึ่งก็แน่นอนว่าไม่เป็นผลดีต่อผู้ที่ซื้อบ้าน ถัดจากกำไรขาดทุน สุดท้ายก็คือ “งบกระแสเงินสด”
ซึ่งงบตัวนี้ ก็จะคอยบอกกระแสเงินสดของบริษัท แบ่งออกเป็น
-กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
-กระแสเงินสดจากการลงทุน
-กระแสเงินสดจากการจัดหาทุน
ทั้งหมดนี้ ก็จะเป็นอีกเช็กพอยต์ต่อจากงบกำไรขาดทุน ที่จะบอกเราว่าสภาพคล่องของบริษัทดีขนาดไหน นั่นเอง
นอกเหนือจากงบการเงินทั้ง 3 แบบที่เล่าไปนั้น เราก็ยังสามารถดูความน่าเชื่อถือของบริษัทเพิ่มเติมได้อีก ไม่ว่าจะเป็นให้คะแนนหรือเรตติงของบริษัท ยกตัวอย่างก็เช่น
– CG Score เป็นสัญลักษณ์สามเหลี่ยมให้คะแนนโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หรือ IOD ใช้บอกว่าบริษัทนั้น ๆ บริหารอย่างเป็นธรรมและมีความโปร่งใสมากน้อยขนาดไหน
– เครดิตเรตติงหุ้นกู้ เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษใช้บอกว่าหุ้นกู้ที่บริษัทเป็นผู้ออกนั้น มีความมั่นคงและอยู่ในเกรดที่ลงทุนได้ และมีความเสี่ยงระดับไหน
มาถึงตรงนี้ เราจะเห็นได้ว่าการที่เราจะตัดสินใจเลือกซื้อบ้านสักหลัง ซึ่งมันจะอยู่กับเราไปอีกนานเป็นสิบ ๆ ปี นอกจากเราจะเลือกที่ความชอบในเรื่องของทำเล ด้านการตกแต่งภายในหรือพื้นที่ใช้สอยแล้ว เราก็ไม่ควรมองข้ามเรื่องการเงินของผู้ที่จะมาสร้างบ้านให้เรา เช่นกัน
เพราะสิ่งเหล่านี้ ก็จะเครื่องยืนยันและสร้างความเชื่อมั่นให้กับเราว่าบ้านหลังที่เรากำลังจะเลือกนั้นเป็น “สิ่งที่ดีให้สุด” ของตัวเราเองและครอบครัวแล้ว จริง ๆ..
โฆษณา