8 ธ.ค. 2021 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“ระบบบำเหน็จบำนาญของไทย”
ได้คะแนนต่ำสุด !
ติดอันดับรั้งท้าย จาก 43 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก
ถ้า aomMONEY ให้เพื่อนๆ ลองตัดเกรด จาก A , B ,C และ D
เพื่อนๆ คิดว่าระบบบำเหน็จบำนาญของบ้านเรา จัดว่าอยู่ในเกรดไหนครับ? 🤔
ไม่ว่าเพื่อนๆ จะมีคำตอบในใจว่าอย่างไร มันมีข้อมูลจากรายงานฉบับหนึ่งที่สำรวจระบบบำเหน็จบำนาญทั่วโลกมาครับว่า
“ระบบบำเหน็จบำนาญประเทศไทยอยู่ในระดับเกรด D ด้วยคะแนน 40.6 จากคะแนนเต็มร้อย โดยเมื่อเรียงคะแนนจากประเทศที่สูงสุดไปต่ำสุด เราติดอันดับท้ายที่สุดจาก 43 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก อยู่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย (50.4 คะแนน)
โดยประเทศ Top 3 ที่ได้คะแนนระบบเงินเกษียณสูงที่สุด จัดเป็นระดับเกรด A คือ
✅ 1.ไอซ์แลนด์ 84.2 คะแนน
✅ 2.เนเธอร์แลนด์ 83.5 คะแนน
✅ 3.เดนมาร์ก 82 คะแนน”
1
📌 ทำไมประเทศได้อยู่ในระดับเกรด D และคะแนนต่ำที่สุด?
ก่อนอื่น aomMONEY ต้องเล่าก่อนว่า ในรายงานฉบับนี้ เขาระบุชัดว่า ไม่มีระบบบำเหน็จบำนาญของประเทศไหนสมบูรณ์ ทุกระบบล้วนมีข้อบกพร่อง แม้แต่ “ไอซ์แลนด์” ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีข้อบกพร่องเลย
1
สำหรับปัญหาในประเทศไทยที่ส่งผลให้ระบบบำเหน็จบำนาญบ้านเรารั้งท้ายดัชนีโลกในปีนี้ 👉 ก็คือ อัตราการออมภาคครัวเรือนของประเทศที่ลดลง ถ้าพูดกันแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ เราออมเงินกันน้อยลงนั่นเองครับ ซึ่งก็สืบเนื่องมาจากปัญหาวิกฤตโควิด-19 ในปี 2563
รวมไปถึง 👉 ความไม่เท่าเทียมระหว่างชายหญิงที่ส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างเพศในระบบบำเหน็จบำนาญ อาทิเช่น ปัญหาการจ้างงานที่ผู้ชายจะมีค่าจ้างและโอกาสในการทำงานที่มากกว่าผู้หญิง หรือผู้ชายมีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูงกว่า เป็นต้น
โดยถ้าเราลองไปดูข้อมูล ดัชนีความไม่เท่าเทียมทางเพศ จะพบว่า ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 80 จาก 189 ประเทศ ซึ่งเห็นได้จากการที่ผู้หญิงมีที่นั่งในรัฐสภาเพียง 14 % และมีผู้หญิงเพียง 43 % ที่ได้เรียนมัธยมต่อ เมื่อเทียบกับผู้ชาย 48.6% ที่ได้เรียนต่อ
และเป็นเรื่องน่าเศร้ามากเลยนะครับที่ aomMONEY จะต้องบอกว่า 👉 ปัญหาช่องว่างเงินบำเหน็จบำนาญระหว่างชายหญิง เป็นปัญหาที่เกิดขึั้นทั่วโลก โดยเฉพาะ “ประเทศญี่ปุ่น” ที่มีช่องว่างในระบบบำเหน็จบำนาญระหว่างชายและหญิงสูงมากที่สุดถึง 50% (ค่าเฉลี่ย 26%)
หรือแม้แต่ “ประเทศอังกฤษ” ประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็ยังติด 1 ใน 5 ประเทศที่มีปัญหาช่องว่างเงินบำเหน็จบำนาญระหว่างชายหญิงสูงที่สุด
📌จะแก้ไขระบบบำเหน็จบำนาญให้ดีขึ้น ต้องทำอย่างไร?
ในรายงานของ Mercer CFA Institute Global Pension Index : 2021 เขาเสนอไอเดียแบบนี้ครับ
1.ทำให้ระบบบำเหน็จบำนาญครอบคลุมกลุ่มแรงงานนอกระบบ เช่น พนักงาน Part-Time รวมไปถึงผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวด้วย
2.เพิ่มอายุบำนาญของรัฐหรืออายุเกษียณให้สอดคล้องกับสังคมผู้สูงอายุที่คนสูงวัยจะมีอายุยืนยาวขึ้น
3.ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุยังมีส่วนในภาคแรงงาน
4.ส่งเสริมการออมส่วนบุคคลให้มากขึ้นเพื่อลดการพึ่งพาเงินบำนาญในอนาคต
5.ผู้ประกอบการควรให้ความร่วมมือในการรับรองการจ่ายเงินอย่างเท่าเทียมในทุกเพศ เพื่อลดช่องว่างเงินบำนาญระหว่างเพศ
6.ริเริ่มให้ความรู้ด้านการเงินส่วนบุคคล
7.เพิ่มความโปร่งใสและตรวจสอบได้เพื่อเพิ่มความมั่นใจของสมาชิก
และนี่คือข้อมูลเกี่ยวกับระบบบำเหน็จบำนาญของไทยและทั่วโลก ที่ผมได้สรุปมาฝากเพื่อนๆ กันครับ โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาดนะครับ เพราะแม้แต่สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ของไทยเรายังเคยมีบทวิจัยที่อ่านดูแล้วน่ากังวลไม่น้อย ระบุว่า
👉 “เมื่อคนไทยเกษียณ จะต้องเสี่ยงกับภาวะเงินไม่พอใช้ โดย เงินกองทุนประกันสังคมอาจหมดลงในปี 2045 หรืออีก 24 ปีหน้าข้างหน้า หากรัฐบาลไม่มีการแก้ไขระบบให้ยั่งยืน” โดยทีมงานได้เขียนบทความสรุปไว้ในบทความนี้ครับ https://bit.ly/3If9lyg
1
แล้วเพื่อนๆ คิดอย่างไรเกี่ยวกับระบบเงินเกษียณของบ้านเราบ้างครับ มีจุดอ่อนจุดแข็งตรงไหน ลองคอมเมนต์พูดคุยกันมาดูนะครับ
#aomMONEY
ขอบคุณข้อมูล จาก Mercer CFA Institute Global Pension Index : 2021 Highlights
◤ = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
👍 ชอบกด Like โดนใจ กด Share
และอย่าลืม ✅ See First
เพื่อที่จะได้ไม่พลาดข่าวสารใหม่ ๆ ก่อนใคร
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = ◢
.
ติดตามความรู้ทางการเงินในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
📌 กลุ่มกองทุนไหนดี https://bit.ly/3aOjgMl
.
สนใจโฆษณาติดต่อ :
👉 Tel: 088-099-9875 (แน้ม)
โฆษณา