9 ธ.ค. 2021 เวลา 06:54 • ท่องเที่ยว
นิทรรศการห้องก่อนประวัติศาสตร์ @ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑ์พระนคร
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ถึงแม้จะยังไม่มีการบันทึกด้วยอักษรสำหรับการบอกเล่าเรื่องราว แค่หลักฐานทางโบราณคดี เช่น โครงกระด๔กคนและสัตว์ เครื่องประดับ ภาชนะดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ ร่องรอยทางนิเวศน์วัตถุ รวมไปถีงภาพเขียนสีที่พบในแหล่งโบราณคดีต่างๆ ก็สามารถเป็นตัวแทนที่บอกเล่าเรื่องราว และสะท้อนความคิด คงามเชื่อ และสภาพแวดล้อมในช่วงเวลานั้นๆได้
ห้องก่อนประวัติศาสตร์ .. จัดแสดงเรื่องราวและหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทยสมัยก่อนที่จะมีการบันทึกหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร ตั้งแต่ที่พบหลักฐานเป็นเครื่องมือหิน มีอายุกว่าหนึ่งแสนปีมาแล้ว .. จนกระทั่งพบว่ามนุษย์เริ่มอาศัยในดินแดนประเทศไทยเมื่อราว 37,000 ปีมาแล้ว โดยแบ่งตามวิวัฒนาการในการดำรงชีพและความก้าวหน้าในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้เป็นยุคสมัย
ห้องก่อนประวัติศาสตร์ .. จัดแสดงหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทยที่ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ตั้งแต่การทำเครื่องมือทำจากหินกะเทาะของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีพัฒนาการมาเป็นลำดับจนประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว จึงพบการผลิตเครื่องมือหินขัด ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า
เมื่อเข้าสู่สมัยโลหะ .. มีการนำแร่โลหะ เช่น ทองแดง ดีบุก เหล็ก มาหลอมทำเครื่องมือเหล็ก-สำริด อาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
ช่วงเวลานี้มีการค้นพบโบราณวัตถุที่แลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่นที่ห่างไกล จากการติดต่อสัมพันธ์กับดินแดนภายนอก ส่งผลให้เกิดพัฒนาการทางสังคมเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมา มีการพบ ภาชนะดินเผา สำริด เหล็ก แก้ว เครื่องมือล่าสัตว์และเพาะปลูก
และเครื่องประดับต่าง ๆ รวมไปถึงพิธีกรรมความเชื่อที่สะท้อนผ่านโบราณวัตถุ โดยโบราณวัตถุที่จัดแสดงส่วนใหญ่มาจากบ้านดอนตาเพชร จ.กาญจนบุรี
ไฟ .. เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์ได้รวมตัวและเกิดภาษาพูดคุยกัน เมื่อก่อไฟแล้ว รอบ ๆ กองไฟทำให้ดินบริเวณนั้นแข็งเป็นดินเผาจึงเริ่มเอามาทำเป็นภาชนะ
ลูกกลิ้งดินเผา .. การใช้งานในยุคก่อนประวัติศาสตร์ไม่ค่อยแน่ชัด คาดว่าน่าจะนำมาใช้พิมพ์ลวกลายลงบนผ้า เป็นเครื่องราง หรืออาจจะเป็นเครื่องประดับ พบที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
ต่อมาเริ่มมีการคุมอุณหภูมิไฟให้สูงขึ้นจนหลอมเป็นโลหะได้ ในห้องจัดแสดงจะเห็นภาชนะทำจากสำริดที่ผสมตะกั่วในปริมาณสูงทำให้ได้ภาชนะที่บางมากซึ่งน่าจะใช้ในพิธีกรรม
นอกจากนี้ยังมีลูกปัดสีน้ำเงินจากโคบอลต์ที่ค้นพบบริเวณแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงซึ่งในช่วงนั้นบ้านเราไม่มีโคบอลต์แต่น่าจะมาจากอัฟกานิสถาน
พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับโลกหลังความตายของคนก่อนประวัติศาสตร์ .. มีรูปแบบ และวิธีการที่หลากหลายในแต่ละกลุ่มสังคม ดังนั้นการเลือกพื้นที่ในการฝังศพ ลักษณะทิศทางการหันศีรษะของศพ ลักษณะการจัดวางศพ การอุทิศสิ่งของให้กับศพ การฝังศพโดยมีสิ่งห่อหุ้ม เช่นหม้อดินเผา เครื่องจักสาน ผ้า และโลงศพหรือโลงไม้ รวมไปถึงจำนวนครั้งในการฝัง เช่น การฝังศพครั้งที่ 1 และการฝังศพครั้งที่ 2 จึงมีความแตกต่างกัน
... แต่อย่างไรก็ตาม แนวความคิดหลักของพิธีกรรมนี้ ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรัก ความผูกพันของครอบครัวที่มีต่อผู้เสียชีวิต ความปรารถนาให้ผู้ตายเดินทางไปยังโลกหน้าด้วยความราบรื่น และมีชีวิตหลังความตายที่สงบสุข มีสิ่งของและเครื่องประดับไปใช้ในโลกหน้า
โลงศพอายุประมาณ 1,000-2,600 ปี ที่ใช้ไม้ทั้งต้นในการทำโลงและค้นพบที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนี่งของพิธีกรรมที่บอกเล่าพิธีกรรมปลงศพในโลงไม้ แล้วนำไปวางตามถ้ำหรือเพิงผา อันเป็นรูปแบบ และประเพณีพิธีกรรมฝังศพ ซึ่งมักจะพบในพื้นที่สูงตามแนวเทือกเขาด้านตะวันตกของประเทศไทย เช่น อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
ภาชนะดินเผาทรงแคปซูล หรือไหสำหรับบรจุกระดูก อายุประมาณ 1,800-2,000 ปี ขุดพบบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ณ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนแท่น อำเภอท่าครก จังหวัดสุรินทร์ โดยพบแต่ส่วนด้านบนไม่มีด้านท้ายซึ่งมักจะมีการเจาะรูเพื่อระบายน้ำเหลืองของศพ
ภาชนะดินเผาจากบ้านเชียง ดินเทศที่ใช้โรยบนตัวศพหรือใช้เขียนสีแดง ซึ่งอย่างหลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเคยวินิจฉัยไว้ใน สาส์นสมเด็จ เช่นกันว่าเป็นตัวแทนของเลือด
ข้าวของเครื่องใช้ที่เจอในหลุมฝังศพอายุ 4,000 ปีลงมา ที่เชื่อว่าทำขึ้นมาสำหรับพิธีกรรมเพื่ออุทิศสิ่งของให้แก่ผู้ตายเพื่อนำไปใช้ในโลกหน้าอย่างสุขสบาย
พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความงามของคนก่อนประวัติศาสตร์ ... มีการพบสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี .. แหล่งโบราณคดีศูนย์ทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี
พบหลักฐานกะโหลกศีรษะมีการตกแต่งฟันให้สวยงาม โดยการถอนฟัน และการฝนฟัน ที่นอกเหนือไปจากการตกแต่งด้วยเครื่องประดับต่างๆ เช่น แหวน กำไล ต่างหู สร้อย ห่วงเอว และอาจจะมีการเขียนสีหรือสักบนผิวหนังด้วย
กำไลข้อมือสำริด อายุ 1700-2300 ปี และเครื่องุทิศประกอบด้วยภาชนะดินเผา กำไลสำริด แวดินเผา ขันสำริด วางร่วมกัร ยุคประวัติศาสตร์ตอนปลาย พบจากการขุดแหล่งโบราณคดีบ้านตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ เป็นสุสานการฝังศพครั้งที่สอง
พิธีกรรมเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ .. เช่น ลวดลายกบ ที่ปรากฏบนหน้ากลองมโหระทึก เป็นสัญลักษณ์ของพิธีกรรมขอฝน เนื่องจากกบเป็นสัตว์ที่สื่อถึงฝนหรือน้ำ
ดังนั้นการตีกลองมโหระทึกประกอบพิธี จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของมนุษย์ ที่ร้องขอตจ่อสิ่งเหนือธรรมชาติให้มีฝนตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งหากฝนตก ก็จะทำให้มีน้ำไว้สำหรับดื่มกิน และทำการเพาะปลูก .. พิธีกรรมและความเชท่อเหล่านี้ บางอย่างยังคงมีการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
บริเวณโถงทางเดินที่จะต่อไปยังห้องทวารวดี ... เป็นส่วนจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้และเครื่องประดับที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างยุคก่อนประวัติศาสตร์กับยุคเริ่มประวัติศาสตร์
หม้อสามขา สมัยหินใหม่ อายุราว 3800-4000 ปี รูปแบบภาชนะสามขานี้พบทั้งในพื้นที่ภาคตันตก และภาคใต้ของไทย อาจมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมหยางชา และวัฒนธรรมหลงซาน สมัยหินใหม่ประเทศจีน .. ขุดพบที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
ภาชนะดินเผามีสี ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย .. พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค ลพบุรี
ตะเกียงโรมันสำริด เป็นไฮไลท์ของสิ่งที่จีดแสดงในบริเวณนี้ .. ตะเกียงมีฝาเปิดหล่อเป็นรูปพระพักตร์เทพเจ้าซิเลนัส (Silenus) ของโรมัน ด้ามหล่อเป็นลายใบปาล์มและโลมา 2 ตัวหันหน้าชนกัน
... ดูจากลวดลายสัญลักษณ์ดังกล่าว จึงคาดว่าตะเกียงนี้น่าจะหล่อขึ้นที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ขณะอยู่ภายใต้การปกครองของโรมันราวก่อนพุทธศตวรรษที่ 6-10 ซึ่งตะเกียงถูกขุดพบที่ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี คาดว่าพ่อค้าชาวอินเดียได้นำเข้ามาในประเทศไทยเพราะตำบลที่พบตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าขายที่พ่อค้าชาวอินเดียเคยเดินทางผ่านไปมา
ภาชนะสำริดรูปแบบต่างๆ
เครื่องประดับอายุกว่า 2,000 ปี ที่ทำจากหินคาร์เนเลียน (Carnelian) สีส้มและทำเป็นลวดลายสีดำ ... สำหรับกรรมการทำ คือส่วนไหนที่อยากให้เป็นสีดำก็จะเว้นว่างไว้และหุ้มส่วนที่เป็นสีส้มเดิมของหินด้วยขี้ผึ้ง จากนั้นนำไปแช่ในน้ำผึ้งหรือน้ำอ้อยเพื่อให้น้ำตาลซึมเข้าไปในรูพรุนของหินและนำไปเผา ตรงส่วนที่มีน้ำตาลซึมลงไปจะเปลี่ยนเป็นสีดำซึ่งเป็นต้นแบบการผลิตลูกปัดมีตาของทิเบต
โบราณวัตถุที่ทำจากหินคาร์เนเลียนในช่วงเวลาใกล้เคียงกันและค้นพบในสถานที่เดียวกัน คือ แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ได้ถูกนำมาจัดแสดงพร้อมกันด้วย เช่น จี้หินรูปสิงโต และภาชนะสำริดประดับด้วยลูกปัดหินคาร์เนเลียน
*******************
เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลกกับพี่สุ … รวม link บทความที่เขียนในเพจ ..
***เมืองไทย ไดอารี่ by Supawan
***Supawan’s colorful world
***สถานีอร่อย by Supawan
โฆษณา