14 ธ.ค. 2021 เวลา 01:51 • ไลฟ์สไตล์
ต้นไม้ที่สมเด็จพระราชินีสุทิดาฯทรงปลูก ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ต้นคำมอกหลวง (Golden Gardenia) หรือ คำมอกช้าง ยางมอกใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์: Gardinia sootepensis Hutch.วงศ์ RUBIACEAE มีถิ่นกำเนิดบนดอยสุเทพ ประเทศไทย ภาษากะเหรี่ยงเรียก เพาะกะ เป็นไม้ในสกุลพุด วงศ์ Rubiaceae เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบในช่วงสั้นๆ ก่อนออกดอก มียางสีเหลือง กิ่งอ่อนมีขนสั้นปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบเหนียวและสากคาย ใบเดี่ยว มีหูใบลักษณะเป็นปลอกหุ้มกิ่ง หลุดร่วงง่าย เห็นรอยแผลชัดเจน ดอกเดี่ยว ดอกเมื่อเริ่มบานเป็นสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองภายหลัง กลีบเลี้ยงด้านนอกมีขนสีขาว ใกล้โรยมีกลิ่นหอมแรง ฤดูการออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนเวลาที่ดอกหอมบานกลางคืนและหอมตลอดวัน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้น สูง 7-15 เมตร เรือนยอดกลม โปร่ง ใบรูปรีแกมขอบขนานกว้าง ปลายอดแหลมปกคลุมด้วยไขสีเหลือง ดอกสีเหลืองสดส่วนโคนเป็นหลอดยาว ปลายแผ่เป็น 5 กลีบ เรียงเวียนกัน ขนาดดอกบาน 5.5-7 เซนติเมตร ผลรูปกระสวยมีสันชัดเจนผลมีเมล็ดเดียว สีเขียว เมล็ดแบน ประโยชน์เป็นไม้ไทยหายาก ปลูกเป็นไม้ประดับดอกให้กลิ่นหอม
คำมอกหลวงกระจายพันธุ์ในป่าดิบแล้งและป่าเต็งรังทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง พบครั้งแรกที่ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยหมอคาร์ ชาวไอริช ชื่อสปีชีส์ตั้งตามดอยสุเทพ ใช้เป็นไม้ประดับ ชาวกะเหรี่ยงนำผลไปรับประทาน
สรรพคุณของคำมอกหลวง
-แก่นนำไปใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (แก่น)
-.เนื้อไม้ใช้เข้ายากับโมกเตี้ยและสามพันเตี้ย ใช้ต้มกับน้ำเป็นยาดื่มแก้บิดและถ่ายเป็นมูกเลือด (เนื้อไม้)
-.แก่นคำมอกหลวงใช้ผสมกับแก่นมะพอก นำมาต้มรวมกันให้หญิงอยู่ไฟใช้อาบและสระผม (แก่น)
-.คำมอกหลวงนำมาต้มเคี่ยวกับน้ำใช้ผสมเป็นยาฆ่าเหา (เมล็ด)
ประโยชน์ของคำมอกหลวง
1.ต้นคำมอกหลวงเป็นไม้ทนแล้ง เหมาะที่จะปลูกเพื่อให้ร่มเงาได้ อีกทั้งยังใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี เพราะดอกมีสีสันสวยงามและมีกลิ่นหอมมาก โดยจะออกดอกพร้อมกันทั้งต้น และดอกจะบานประมาณ 2-3 วัน ดอกสามารถส่งกลิ่นหอมได้ยาวนาน แม้ดอกร่วงแล้วแต่ก็ยังส่งกลิ่นหอม
2.ดอกใช้สำหรับถวายพระ (คนเมือง)
3.สมัยก่อนจะนิยมใช้ผลนำไปสระผม
4.เนื้อในเมล็ดแก่ใช้รับประทานได้ (ชาวม้ง)
5.ยางเหนียวจากยอดสามารถนำมาขยี้จนเป็นก้อน ๆ แล้วนำไปใส่ในร่องระหว่างโคนมีดกับด้าม จะช่วยทำให้มีดแน่นติดกับด้ามมีดมากขึ้น
6.เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างและงานแกะสลักได้
โฆษณา