19 ธ.ค. 2021 เวลา 02:21 • ธุรกิจ
ปัญหาไม่ถูกแก้ไข เพราะไปตั้งโจทย์มาผิด
เริ่มกระดุมแรกผิด ก็พาลผิดไปทั้งขบวน
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ Albert Einstein กล่าวว่า ถ้าเค้ามีเวลา 1ชม. ในการแก้ปัญหา เค้าจะให้เวลา 55นาที ในการคิดเกี่ยวกับตัวปัญหานั้น และอีก 5นาที คิดถึงการแก้ไข "If I had an hour to solve a problem I’d spend 55 minutes thinking about the problem and 5 minutes thinking about solutions."
--
ลองดู ในชีวิตทำงาน
ในออฟฟิศ มักจะมีแนวคิด ในหัวจากฝั่งนายจ้างว่า
"จะทำยังไง จึงจะให้พนักงานทำงานให้คุ้มค่าดี เพื่อให้บริษัทไปรอด?"
คำถามแบบนี้ มุ่งไปที่ การปรับตัวพนักงาน... ประเด็นปัญหา คือ อยู่ที่ตัวพนักงาน..
คำถามที่ตั้งไว้แต่แรก ก็เหมือนมีคนติดกระดุมเม็ดแรกไว้แล้ว ... คนที่เหลือมาสานต่อนะ
ถ้า HR พยายามคิดต่อ ก็จะมุ่งหาแนวทาง วิธีการควบคุม วัดผล ตัวperformance ของตัวพนักงาน...ดูว่า มีผลงาน คุ้มค่าเงินเดือนมั้ย ฯลฯ
นี่เป็นการ ใช้ 55นาที ไปที่ การแก้ปัญหา ... อันเนื่องมาจาก คำถาม ที่ถูก set ไว้แล้ว
--
ทีนี้ ถ้ามีใคร ลอง ใช้หลักการของไอน์สไตน์...ท้าทาย กระดุมเม็ดแรกนี้ดู
ขอแกะกระดุมเม็ดแรกนี้ดูก่อน ไอ้ที่ติดไว้ มันถูกแล้วรึป่าว
ปัญหาที่ตั้งไว้...เรื่อง ตัวพนักงาน, การทำงานให้คุ้มค่า, และการที่บริษัทไปรอด ...มันเกี่ยวกันยังไง... ตกลง ประเด็น อยู่ที่จุดไหนเป็นหลัก
ถ้าประเด็นคือ ต้องการให้บริษัทไปรอด
ปัญหานี้ อยู่ที่ ตัวพนักงานจริงหรือ
ถ้าจริง... แล้ว การพยายามทำให้ พนักงาน ทำงานให้คุ้มค่า... คือ เค้นที่ตัว ความคุ้มค่าในการจ้างพนักงานคนนึง มันเป็นต้นตอปัญหาที่จะต้องแก้ไขจริงหรือ
ถามแบบนี้ เพื่อ วิเคราะห์ตัวปัญหาให้ชัดเจนก่อน
ตัวพนักงาน เป็นตัวหลัก เป็นทรัพยากรที่สำคัญของบริษัท..จริง
การที่บริษัทไปรอด..อยู่ที่ พนักงานทุกคน ต้องช่วยกัน.. จริง
แต่..การจะให้พนักงานทำงานให้คุ้มค่า...แปลว่าอะไร...
คุ้มค่า ในมุมมอง แบบ การ เค้น ประสิทธิภาพของคนๆนึง ออกมา .. เช่น เอาเงินยอดขาย มาวัดเทียบกับเงินเดือน.. อันนี้ จริงรึไม่ ที่จะทำให้บริษัท "ไปรอด"
ถ้าเรื่องความคุ้มค่า ในมุมมอง นี้ มันไม่ใช่ประเด็นหลัก และไม่ใช่ต้นตอ ที่มีผลความอยู่รอดของบริษัท ล่ะ?
ดังนั้น ตัวคำถามที่ต้องถามใหม่ น่าจะเป็นอะไร
ถ้า การที่บริษัทจะไปรอด เกิดจาก ความรักและความทุ่มเทแรงกายแรงใจของพนักงานที่มีให้บริษัท
แทนที่ จะตั้งต้นคำถามว่า
"จะทำยังไง จึงจะให้พนักงานทำงานให้คุ้มค่าดี เพื่อให้บริษัทไปรอด?".. ควรจะเปลี่ยนเป็น
"จะทำยังไง จึงจะให้พนักงาน เกิดความรักและทุ่มเท ต่อบริษัท?" แทน
ทีนี้ HR ที่มาสานต่อ.. คงมีวิธีแก้ที่แตกต่างจากเดิม....แทนที่จะไป หาวิธีการวัด performance, ยอดขายของพนักงานทั่วไปทั้งองค์กร, ก็มาเน้น ที่การสร้างนโยบายองค์กรในการเพิ่มความรักความผูกพันมากกว่า
ถ้ามีความรู้ต่อปัญหาที่ถูกต้อง จะรู้ว่า การให้พนักงานรู้สึกรักและผูกพันต่อองค์กร ขึ้นกับ leader คือบรรดาผู้นำในแผนกต่างๆ เป็นอย่างมาก...การแก้ไข อาจจะเน้นวัดที่ ความสามารถในตัว leader ที่จะ engage ผนึกแรงใจของพนักงานในทีมตัวเอง แทน
--
หลักการคิดอย่างถ้วนถี่ต่อประเด็นคำถามตั้งต้นแบบนี้....ไม่ได้ช่วยเฉพาะในการแก้ปัญหาที่ยากๆรึซับซ้อน เท่านั้น ....แต่เป็นหลักการที่ใช้ได้กับทุกประเด็นปัญหา แม้แต่ ปัญหาเล็กๆน้อยๆ ในชีวิตประจำวัน
ถ้า เราใช้ 55นาที ในการ ถกที่ประเด็นปัญหา จนเข้าใจต้นตอที่แท้จริง
และแก้ กระดุมคำถาม เม็ดแรก...ที่ผิด.. ให้ถูกต้องแล้ว ..
ที่เหลืออีก5นาที... ติดกระดุมเม็ดต่อไปได้อย่างมั่นใจ...คือลุยหาsolution ได้เลย...
เสื้อ ออกมา ไม่เบี้ยวแน่นอน
canstockphoto.com
โฆษณา