22 ธ.ค. 2021 เวลา 16:06 • ไอที & แก็ดเจ็ต
แนะนำ 10 เว็บไซต์และแอปน่าสนใจจากจดหมายข่าวไฟฉายในครึ่งปีหลังของ 2564
Credit : Pixabay.com
1. รู้หมด กฎหมาย
แอปตัวหนึ่งที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันของคนไทยคือ “รู้หมด กฎหมาย” ซึ่งรวบรวมสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับกฎหมายหมวดต่าง ๆ เช่น ครอบครัว สิทธิของประชาชน จราจร การหมิ่นประมาท เป็นต้น
ผู้พัฒนาแอปนี้คือกระทรวงยุติธรรมครับ เป็นแอปฟรีมีทั้งในไอโฟนและแอนดรอยด์
2. Rory’s Story Cubes
Rory’s Story Cubes เป็นเกมลูกเต๋าที่โด่งดังมากเกมหนึ่ง ประกอบด้วยลูกเต๋า 9 ลูกที่มีภาพล้วน ๆ ไม่มีตัวอักษร
กิจกรรมที่ใช้ใน Rory’s Story Cubes คือ การเล่าเรื่องจากลูกเต๋า เช่น นำลูกเต๋า 3 ลูกมาเรียงกัน แล้วเล่าเรื่องโดยใช้ภาพบนลูกเต๋าเป็นตัวจุดประกายไอเดีย
แอป Rory’s Story Cubes คือการนำลูกเต๋ามาแปลงเป็นแอป มีวิธีเล่นคล้ายลูกเต๋าจริง ๆ เลือกได้ว่าจะเล่นตั้งแต่ลูกเต๋า 1 ลูกถึง 9 ลูก มีทั้งใน iOS และ Andriod ราคา 1.99 ดอลลาร์ หรือประมาณ 60 บาทครับ
แอปนี้เหมาะกับครู อาจารย์ วิทยากร ผู้ปกครองมาก เพราะใช้เป็นสื่อการสอนได้หลายวิชา เช่น ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ความคิดสร้างสรรค์ การเขียน เป็นต้น
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ www.storycubes.com
3. Slido
Slido เป็นเว็บไซต์ที่ให้เราสร้างแบบสอบถามหรือคำถามเพื่อให้คนมีส่วนร่วม ซึ่งนำไปใช้ร่วมกับโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Powerpoint , Zoom , Microsoft Teams เป็นต้น
ผมก็เคยใช้ Slido ในการสอนออนไลน์ เพราะใช้งานง่ายครับ
ถ้าคุณอยากได้ฟอนต์แปลกใหม่ที่ไม่ได้ติดตั้งในคอมพิวเตอร์
เว็บ f0nt.com มีฟอนต์ภาษาไทยจำนวนมากที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ กราฟิกแปลกใหม่ ที่คุณติดตั้งในคอมพิวเตอร์ แล้วนำไปใช้กับโปรแกรมต่าง ๆ ครับ
เสียงธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ผมชอบฟังมากที่สุดคือ เสียงนกร้อง ซึ่งมักได้ยินในตอนเช้าหรือในต่างจังหวัด
แต่การอยู่เมืองกรุงทำให้ไม่ค่อยได้ยินเสียงนกเท่าไร ถ้าคุณชอบฟังเสียงนกร้อง เว็บไซต์ Birdsong.fm มีเสียงนกให้คุณฟังอย่างเพลิดเพลิน รวมทั้งมีแอปในไอโฟนและแอนดรอยด์ให้ฟังเสียงนกด้วยครับ
ถ้าคุณอยากสร้างตัวอย่างหรือแบบจำลองสิ่งต่าง ๆ เช่น หนังสือ เสื้อผ้า ของใช้ประจำตัว
เว็บไซต์ smartmockups.com จะเนรมิตสิ่งเหล่านั้นให้ดูเหมือนของจริงอย่างง่ายดายและรวดเร็วมาก และมี mockup ให้เลือกมากมาย
7. เว็บไซต์ตรวจข่าวปลอม
ตอนนี้มีข่าวปลอมหรือ fake news มากมาย เราจะทราบได้อย่างไรว่า ข่าวไหนจริง ข่าวไหนปลอม
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ได้พัฒนาเว็บไซต์ตรวจข่าวปลอมที่ www.thaidimachine.org
1
เมื่อพิมพ์ข้อความน่าสงสัย ระบบจะแสดงผลการตรวจสอบข่าวแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ เช่น ข่าวจริง ข่าวปลอม มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นข่าวจริง เป็นต้น
ก่อนแชร์ข่าวที่ไม่แน่ใจ ลองใช้เว็บไซต์นี้ตรวจข่าวก่อน เพื่อลดข่าวปลอมครับ
8. เว็บไซต์ด้านอวกาศ
ขณะนี้เริ่มมีข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านอวกาศมากขึ้นเรื่อย ๆ อวกาศไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป
เว็บไซต์แห่งหนึ่งที่ผมชอบเข้าไปอ่านบทความบ่อย ๆ คือ spaceth.co ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของคนไทยที่รวบรวมบทความด้านอวกาศ ดาราศาสตร์ครับ
9. Carrd
ถ้าคุณอยากทำเว็บไซต์ง่าย ๆ ของตนเอง ไม่อยากเขียนโปรแกรม หรือไม่ต้องการความสามารถมากมาย ลองมาใช้ Carrd.co ซึ่งเป็นเครื่องมือสร้างเว็บไซต์อย่างง่าย
Carrd เหมาะกับการสร้างเว็บไซต์หน้าเดียวที่มีข้อมูลไม่มาก ข้อดีคือ ใช้งานง่ายมาก ฟรี และมี template ให้เลือกมากมายครับ
10. Read for the Blind
วิชา Innovative Thinking ที่ผมสอนนิสิตจุฬาฯ จะให้ทุกคนทำภารกิจช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งผมแนะนำนิสิตให้ใช้แอปชื่อ Read for the Blind อ่านหนังสือเสียงให้ผู้พิการทางสายตา
สถานการณ์ COVID-19 ทำให้นิสิตส่วนใหญ่ไม่สามารถทำภารกิจช่วยเหลือผู้อื่นนอกบ้าน หลายคนจึงเลือกทำภารกิจอ่านหนังสือเสียงในแอป Read for the Blind ซึ่งทำได้สะดวก เพราะทำในบ้านได้ ไม่ต้องออกนอกบ้าน
ถ้าคุณมีเวลาว่าง อยากช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่ต้องใช้เงิน แอป Read for the Blind เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ
เชิญสมัครเป็นสมาชิกจดหมายข่าว “ไฟฉาย” ของผมที่จะส่องไอเดียน่าสนใจทุกวันที่ 1 และวันที่ 15 ของทุกเดือน เช่น แอป คอร์สออนไลน์ หนังสือ วิดีโอ บทความ เพจ ไฮไลท์จากหนังสือ เป็นต้น
สมัครเพื่ออ่านทางอีเมลได้อย่างสะดวกสบายได้ที่
โฆษณา