25 ธ.ค. 2021 เวลา 23:46 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การลงทุนแบบ DCA vs VA
หลายคนน่าจะรู้จักการลงทุนแบบ DCA แล้ว มารู้จักการลงทุนแบบ VA กันบ้าง เหมือนและต่างจากการลงทุนแบบ DCA ยังไง มาอ่านกัน...
1
Dollar Cost Average (DCA) กำหนดการลงทุนที่ต้นทาง: กำหนดเงินลงทุนจำนวนที่เท่า ๆ กัน รายเดือน หรือรายไตรมาส เช่น ลงทุนเดือนละ 5,000 บ.
ส่วน Value Averaging (VA) กำหนดการลงทุนที่ปลายทาง: กำหนดมูลค่าของสินทรัพย์ในพอร์ตที่ต้องการให้เพิ่ม รายเดือน หรือรายไตรมาส เช่น ต้องการให้สินทรัพย์ในพอร์ตลงทุนโตเพิ่มเดือนละ 5,000 บ.
สำหรับ DCA นั้น เมื่อมูลค่าสินทรัพย์ลงทุนลดลง กลยุทธ์นี้จะลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าเดิม ซึ่งจะซื้อได้จำนวนหน่วยลงทุน หรือจำนวนหุ้นในครั้งนั้นได้มากขึ้น
ส่วนการลงทุนแบบ VA นั้นช่วงที่มูลค่าสินทรัพย์ลดลง จะต้องลงทุนด้วยจำนวนเงินในงวดนั้นเพิ่มขึ้น เพื่อให้พอร์ตโตได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ ตรงนี้จึงควรมีเงินสำรองเส่วนเผื่อไว้ เพื่อลงทุนเพิ่ม เพื่อให้ได้เป้าหมายพอร์ตลงทุนตามที่กำหนดไว้
ส่วนถ้าเป้นช่วงที่มูลสินทรัพย์ที่เราลงทุนมีมูลค่าสูงขึ้น
การลงทุนแบบ DCA ก็จะยังคงใส่เงินเท่าเดิม ซึ่งจะซื้อได้จำนวนหน่วยลงทุน หรือจำนวนหุ้นนั้นได้น้อยลง
ส่วน VA เมื่อมูลค่าสินทรัพย์นั้นเพิ่ม จะลงทุนด้วยจำนวนเงินน้อยลงในงวดนั้น เพื่อให้พอร์ตโตเพิ่มตามเป้า และถ้ามูลค่าสินทรัพย์นั้นเกินเป้าของพอร์ตที่ต้องการโตในงวดนั้น จะมีการขายสินทรัพย์บางส่วนออกมาเพื่อให้มูลค่าพอร์ตอยู่ตามเป้า ซึ่งเงินที่ขายออกมาตรงนี้ก็ยังไม่ควรนำไปใช้จ่าย ควรเก็บไว้เพื่อเป็นเงินสำรองในการลงทุนเพิ่มเพื่อให้มูลค่าพอร์ตได้ตามเป้า เมื่อช่วงสินทรัพย์นั้นมูลค่าลดลง
การลงทุนทั้งแบบ DCA และ VA นั้น เหมาะกับการลงทุนระยะยาว มีวินัย ไม่ต้องคอยจับจังหวะตลาด ลงทุนสม่ำเสมอ ที่เพิ่มเติมขึ้นมาสำหรับ VA คือ ต้องมีเวลาติดตาม ปรับพอร์ตการลงทุนให้ได้ตามเป้าอย่างสม่ำเสมอ
ผลตอบแทนแบบ VA มักดีกว่าแบบ DCA แต่ก็จะเห็นว่า VA ซับซ้อนกว่า และควรติดตาม ปรับพอร์ต และมีเงินสดสำรองเผื่อไว้
โฆษณา