2 ม.ค. 2022 เวลา 08:40 • การศึกษา
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันอาทิตย์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะมาพูดคุยและเสวนากันถึงคำตอบในหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ
โดยที่เมื่อวานนี้ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้ ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ
ผมขอทำการสมมติว่า ผมมีความต้องการที่จะทำให้เกิดแรงดึงขึ้นในสลักเกลียวกำลังสูงในปริมาณที่เท่ากับค่า TENSION โดยที่ผมมีประแจขันอยู่ทั้งหมด 2 อัน ซึ่งประแจทั้งสองอันนี้จะมีคุณสมบัติต่างๆ ที่เหมือนกันในทุกๆ ประการเลยรวมถึงเรื่องของ “แรง” ที่ใช้ในการออกแรงขันตัวประแจของทั้งสองประแจก็ยังใช้เท่าๆ กันด้วย “ยกเว้น” เพียงประการเดียวนั่นก็คือ เรื่องความยาวด้ามจับของตัวประแจ ทั้งนี้ประแจอันแรกได้แก่ประแจ “A” ซึ่งจะมีความยาวของด้ามจับเท่ากับระยะ L และอันที่สองได้แก่ประแจ “B” ซึ่งจะมีความยาวของด้ามจับเท่ากับระยะ 2×L ประเด็นของคำถามในวันนี้ก็คือ หากผมทำการขันประแจ “A” ไปทั้งหมดเท่ากับ 20 รอบ ซึ่งก็จะทำให้ได้ค่าแรงดึงในตัวสลักเกลียวกำลังสูงนั้นอยู่ในระดับที่ต้องการแล้ว ผมจะต้องทำการบิดประแจ “B” ทั้งหมดกี่รอบจึงจะทำให้ค่าแรงดึงในตัวสลักเกลียวกำลังสูงนั้นอยู่ในระดับที่ต้องการ?
เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อในสัปดาห์ที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นในวันนี้เราจะมาทำการวิเคราะห์และหาคำตอบไปด้วยกันว่า ผมจะต้องทำการบิดประแจ B ทั้งหมดกี่รอบจึงจะทำให้ค่าแรงดึงในตัวสลักเกลียวกำลังสูงนั้นอยู่ในระดับที่ต้องการไปพร้อมๆ กันนะครับ
ก่อนอื่นเลยเรามาเริ่มต้นจากความต้องการของเราที่จะทำให้เกิดแรงดึงขึ้นในตัวสลักเกลียวกำลังสูงก่อนเพราะการจะทำให้เกิดแรงดึงขึ้นโดยตรงในตัวของสลักเกลียวกำลังสูงนั้นจะทำได้ค่อนข้างยาก เราจึงได้มีการคิดค้นวิธีในการทำให้เกิดแรงดึงขึ้นในสลักเกลียวกำลังสูงขึ้นมาโดยการทำให้เกิดเป็น “แรงบิด” แทน ซึ่งในที่นี้ผมจะให้แทนด้วยค่า “To(i)” และเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าแรงบิดก็คือ แรงโมเมนต์ชนิดหนึ่ง ซึ่งโมเมนต์นั้นก็จะมีค่าเท่ากับ “แรง” คูณกันกับ “แขนของแรง” สำหรับกรณีของจุดต่อของเราเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเราต้องการให้ “แรง” นี้เกิดเป็น “แรงดึง” ขึ้น ซึ่งในที่นี้ผมจะให้แทนด้วยค่า “Ft” และผมจะให้ “แขนของแรง” แทนด้วยค่า “L(i)” ดังนั้นหากนำเอาทั้งสามค่านี้มาเขียนเป็นสมการที่แสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันก็จะได้ว่า
To(i) = Ft × L(i)
ดังนั้นหากเราทำการบิดประแจ “A” ไปหนึ่งรอบก็จะทำให้เกิดแรงบิดขึ้นเท่ากับ
To( A ) = Ft × L( A )
To( A ) = Ft × ( L )
To( A ) = Ft × L ------------( A )
ในขณะเดียวกันหากเราทำการบิดประแจ “B” ไปหนึ่งรอบก็จะทำให้เกิดแรงบิดขึ้นเท่ากับ
To( B ) = Ft × L( B )
To( B ) = Ft × ( 2 × L )
To( B ) = 2 × Ft × L ------------( B )
หากเราทำการเปรียบเทียบสมการ ( A ) และ ( B ) ก็จะเห็นได้ว่า ค่าแรงบิดที่ได้จากการขันประแจ “B” นั้นจะมีค่ามากกว่าประแจ “A” อยู่เท่ากับ 2 เท่า พูดง่ายๆ ก็คือ หากเราทำการออกแรงที่ใช้ในการขันตัวประแจทั้งสองด้วยค่าแรงที่เท่าๆ กันแล้ว ประแจ “B” ซึ่งมีตัวด้ามจับของประแจที่ยาวกว่าก็จะให้ปริมาณของแรงบิดที่มากกว่าแรงบิดในประแจ “A” ถึง 2 เท่าเลยนั่นเองครับ
ดังนั้นในเมื่อผมทำการขันประแจ “A” ไปทั้งหมดเท่ากับ 20 รอบ ซึ่งก็จะทำให้ได้ค่าแรงดึงในตัวสลักเกลียวกำลังสูงนั้นอยู่ในระดับที่ต้องการแล้ว ผมจะต้องทำการบิดประแจ “B” ทั้งหมดเท่ากับ “กึ่งหนึ่ง” ของจำนวนรอบของประแจ “A” นั่นก็คือเท่ากับ “10 รอบ” จึงจะทำให้ค่าแรงดึงในตัวสลักเกลียวกำลังสูงนั้นอยู่ในระดับที่ต้องการครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาการคำนวณจำนวนของรอบที่จะต้องใช้ในการขันตัวสลักเกลียวกำลังสูง
ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
😎 ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449
☎ 081-634-6586
โฆษณา