29 ธ.ค. 2021 เวลา 14:43 • ปรัชญา
วัตถุประสงค์ของการลับมีด คือต้องการให้มีดมันคม
ความรู้ทางวิชาการบางอย่าง วิชาบางวิชา เช่น วิชาประวัติศาสตร์ วิชาวรรณคดี วิชาเชิงภาษาศาสตร์ หรือในทางศาสนศึกษาของทุกศาสนาก็ตาม การรู้ และก็การจดจำเนื้อหาได้นั้นน่าจะมีบทบาทมาก
1
หรือแม้แต่การเรียน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ในแง่ที่มันบันทึกและวิธีการแสวงหาความรู้ของ มนุษย์ในอดีต ไล่มาจนถึงปัจจุบัน การจดจำเนื้อหาของวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ได้นั้น ก็เป็นเรื่องสำคัญ
ในการที่จะลับคมทางความคิด คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือว่าในเชิงวรรณคดี ต้องการคนที่ผ่านเนื้อหาวิชาเหล่านี้มาอย่างเพียงพอที่จะเอาไปเล่าให้คนอื่นฟังอย่างกระจ่างชัด ว่าอะไรคือคือสาระสำคัญของศาสตร์เหล่านั้น นั่นคือวัตถุ แต่ในทางปรัชญา เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์อย่างนั้น
จะว่าไปแล้วคนเรานั้นมี โลกสองโลกอยู่ในตัวเอง
โลกที่หนึ่ง ผมขอใช้คำนั้นเป็นภาษาไทยว่า “โลกส่วนตัว” และโลกที่สอง คือ “โลกสาธารณะ”
โลกส่วนตัวก็คือโลกที่เราอยู่คนเดียว เราคิด เราทำอะไรบางสิ่งบางอย่าง ด้วยตัวคนเดียว ส่วนโลก สาธารณะก็คือ การที่เราออกจากโลกส่วนตัวไปพบปะผู้คน จะในที่ทำงาน ในมหาวิทยาลัย... ในวัด ในตลาด งานสัมมนา ร้านกาแฟ ศูนย์การค้า หรือในที่ไหนใดๆก็แล้วแต่ นั่นคือโลกสาธารณะ
ทีนี้โลกสองโลกที่พูดถึงนั้น ในแง่ที่ว่า ใครก็แล้วแต่ ที่เขาอยู่ในโลกส่วนตัวมาก โอกาสที่คนๆนั้นจะพัฒนาความคิดความอ่านของตนเอง มันจะมีสูงกว่าคนที่ซึ่งไม่ค่อยจะมีเวลาอยู่ในโลกส่วนตัว….
ตรงกันข้าม ถ้าหากใครอยู่ในโลกสาธารณะมาก คนๆนั้นก็จะเป็นคนที่มีเพื่อนมีฝูง รู้จักใครต่อใครเยอะ ซึ่งถ้าหากใครอยู่ในโลกส่วนตัวมากเนี่ย ส่วนนี้ในชีวิตของเขาก็จะน้อย คนเราถ้าอย่าในโลกส่วนตัวมากเพื่อนฝูงก็จะน้อย…
สำหรับ เดวิด ฮูม (David Hume) เขาคิดว่า การเป็นนักปรัชญา ต้องการโลกส่วนตัวมากกว่าโลกสาธารณะ ซึ่งส่วนหนึ่งผมเห็นด้วยครับ คือ ผมเห็นว่า ท้ายที่สุดแล้ว การที่เรามาอยู่ในโลกสาธารณะ เช่น การไปมหาวิทยาลัย ไปร่วมงานสัมมนา ไม่ว่าจะออนไซต์ หรือ ออนซูม เข้าโบสถ์นมัสการพระเจ้า หรือ ไปเข้าคอรส์วิปัสสนากรรมฐาน
เดวิด ฮูม (David Hume) เครดิตภาพ:  https://www.abnewstoday.com/14265
การที่มาพบปะผู้คน สนทนาธรรมหรือ ถกปรัชญากัน ข้อดีมันก็คือมันทำให้เราได้ได้ปลูกศรัทธา หรือ แลกเปลี่ยนความคิดกัน แต่ข้อเสียก็คือ เวลาที่เราอยู่ในโลกสาธารณะนั้น ความเป็นตัวของตัวเอง มันจะน้อย… ดังนั้นผมคิดว่า การฟัง ทบทวนคำบรรยายที่บันทึกเอาไว้ เวลาที่เราอยู่ในห้อง คนเดียว หรือ ทำงานบ้านตามลำพัง เวลาที่เราอภิปรายเรื่องนั้นเรื่องนี้ เราถึงได้พูดกับเพื่อนหรือว่ากับอาจารย์อย่างนั้น มันเป็นเพราะอิทธิพลของบรรยากาศ รึเปล่า…
เราจึงไม่ค่อยพูดอย่างที่จริงๆเราอยากจะพูด อันนี้ก็เป็นไปได้ใช่มั้ย หรือ เป็นไปได้ว่าจริงๆสิ่งที่เราพูดในตอนนั้น มันก็คือสิ่งที่เราอยากจะพูดจริงๆ แต่ว่าในห้องนั้นบรรยากาศมันตะล่อม ให้เราไม่เป็นตัวของตัวเอง
ดังนั้น เวลาที่มีการชุมนุมทางการเมือง เราก็จะเห็นว่า บางครั้ง มหาชน สามารถที่จะตัดสินใจบางอย่างด้วยความพร้อมเพรียงกัน ไปในทางใดทางหนึ่ง แล้วภายหลังทุกคนเมื่อมานั่งทบทวน สิ่งที่ตัวเองทำในตอนนั้น อาจจะมีความรู้สึกว่า โอ้…เรานั้นผิดพลาดมหันต์เลยนะที่ปล่อยให้บรรยากาศของฝูงชน นำพาพวกเราไปอย่างนั้น…
เพราะงั้น ในการทำปรัชญานั้น โลกส่วนตัวเป็นโลกที่สำคัญ นักปรัชญาควรที่จะได้ทำเป็นหลักคือ การอยู่บ้าน อ่านหนังสือ แล้วก็ คิด... เสร็จแล้วก็ทำงานเขียน ปฏิสัมพันธ์ ก็จะอยู่ที่การพบปะ การพูดคุยกันบ้าง เป็นครั้งเป็นคราว แต่การพูดคุยกันนั้นจะไม่ใช่สาระสำคัญ เท่ากับการอ่านหนังสือ และ คิดแล้วก็เขียน… หรือจะนั่งสมาธิ นั่งเทียนแล้วเขียนก็ได้มั้ง อันนี้ผมก็ไม่รู้นะ เพราะงั้นสิ่งที่อยากจะฝากไว้ก็คือ
ในประวัติศาสตร์โลก ไม่เคยปรากฏว่า เคยมีพระศาสดาในศาสนาใด บรรลุธรรม หรือรู้แจ้งท่ามกลางหมู่คณะ ไม่เคยปรากฏว่ามีนักปรัชญาคนใด สร้างแนวคิดที่ซับซ้อน ลุ่มลึก ได้จากการอยู่ในวงล้อมสนทนากับเพื่อนฝูงผู้คนเท่านั้น ทุกคนล้วนแต่มี เวลาปลีกวิเวกเป็นของตัวเอง อยู่กับตัวเอง ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง
แม้แต่ โสเครตีส (Socrates) ที่ชอบถามชอบคุย ก็ต้อง คิด... พระพุทธเจ้าเองก็ทรงคิด คิด ไตร่ตรอง ตั้งคำถามกับตัวเองเป็นอย่างรอบคอบ แล้วก็ออกบวช
มีวลีที่ผมชอบมากเป็นการส่วนตัว ของ ซอเรน เคียร์เคการ์ด (Kierkegarard) ที่บอกว่า Fly high and alone as you can! จงบินให้สูงที่สุดด้วยตัวเอง เท่าที่จะทำได้
ซอเรน เคียร์เคการ์ด (Soren Kierkegarard)
ซึ่งเมื่อเทียบแล้วน่าจะพอไปกันได้กับ พุทธภาษิต ที่ว่า เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป บุคคลพึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนดั่งนอแรด (ขัคควิสาณสูตร)
ดังนั้นสิ่งได้ฟังผู้บรรยายพูดในงานสัมมนา ถกปัญหาปรัชญากันทางโซเชียล หรือสายบุญก็นิยมฟังพระนักเทศนาบรรยายธรรม ในแง่หนึ่ง เมื่ออยู่ในโลก สาธารณะ
เมื่อฟัง ผู้บรรยายพูดแล้ว เราต้อง คิดด้วยตัวเอง เงียบๆ สิ่งที่ ได้ฟังมา ในแง่ที่ผู้บรรยายให้ข้อมูลนั้น โดยที่เขาอาจจะไม่ได้พยายามใส่ หรือ ไม่ใส่ความเห็นส่วนตัวเข้าไปเลย แต่ทั้งหมดนั้น เราควรคิดสรุปด้วยตนเองว่า ตนเอง เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย กับความคิดเหล่านั้นหรือไม่ ยังไง...
ซึ่งจะนำไปสู่ คุณสมบัติที่เราต้องการก็คือ เรียนรู้ และ ทำปรัชญาก็เพื่อ จะใช้มันเป็นอุปกรณ์ในการลับคมมีด คือ ปัญญา…
วิรุฬหก
โฆษณา