30 ธ.ค. 2021 เวลา 08:55 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การวางแผนสภาพคล่อง (เงินสดในมือ) และความมั่งคั่ง (สินทรัพย์-หนี้สิน)
การวางแผนสภาพคล่อง (เงินสดในมือ) และความมั่งคั่ง (สินทรัพย์-หนี้สิน)
💡 สภาพคล่อง (Liquidity) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสดได้รวดเร็ว หรือการมีเงินสดจำนวนมาก เพื่อใช้ชำระหนี้หรือใช้จ่ายได้คล่องตัว
💡 ความมั่งคั่ง (Wealth) หมายถึงมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดที่มี หักลบด้วยมูลค่าหนี้สินทั้งหมดที่มี
วิธีวางแผนสภาพคล่องและความมั่งคั่ง
วิธีวางแผนสภาพคล่องและความมั่งคั่ง
1. บริหารเงินสดในมือ
- จัดการกระแสเงินสดไหลเข้า (เงินได้) ให้มากกว่ากระแสเงินสดไหลออก (รายจ่าย)
- ไม่ใช้จ่ายเงินไปกับสิ่งไม่จำเป็น หรือสิ่งที่ไม่สร้างรายได้ในอนาคต
- มีเงินสดสำรองฉุกเฉินไว้ ไม่น้อยกว่า 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน
2. บริหารสินทรัพย์สภาพคล่อง
(เช่น เงินตราต่างประเทศ บัญชีเงินฝาก ทองคำ หุ้น กองทุนรวม สลาก สินค้าในสต๊อก ลูกหนี้การค้า)
- ติดตามสถานการ์ตลาด คอยเช็กมูลค่าสินทรัพย์ ประเมินแนวโน้มล่วงหน้า
- ผู้ประกอบการดูแลสต๊อกสินค้าไม่ให้เสื่อมราคา หรือมีมากจนเกินไป
- เช็กเครดิตลูกค้าให้ดีก่อนขายเป็นเงินเชื่อ
- หากเป็นเจ้าหนี้ ควรใส่ใจติดตามทวงหนี้จากลูกหนี้
- เลือกถือสินทรัพย์สภาพคล่องที่มูลค่าเสื่อมยาก หรือสร้างกระแสเงินสดต่อเนื่อง เช่น บัญชีเงินฝาก หุ้นปันผล สลากออมสิน
3. บริหารสินทรัพย์สภาพคล่องต่ำ
(เช่น รถยนต์ เครื่องจักร อสังหาริมทรัพย์ กองทุนถือครองระยะยาว ของสะสม)
- เลือกสินทรัพย์ที่ให้ความมั่นคงในชีวิต (บ้านเพื่ออยู่อาศัย รถยนต์ กองทุนเพื่อการเกษียณ)
- เลือกสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสด (เครื่องจักร รถยนต์ประกอบอาชีพ คอนโดปล่อยเช่า)
- เลือกสินทรัพย์ที่เล็งเห็นว่ามูลค่าจะเพิ่ม (ที่ดิน งานศิลปะ ซื้อคอนโดเก็งกำไร)
- หลีกเลี่ยงสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็นกับชีวิต เสื่อมราคาเร็ว และไม่ก่อรายได้
4. บริหารหนี้สิน
- ภาระหนี้ต่อเดือน ไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน
- ไม่สร้างหนี้เพื่อแลกกับสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือไม่สร้างรายได้
- ไม่กู้หนี้สินระยะสั้นเพื่อซื้อสินทรัพย์ระยะยาว (เช่น รูดบัตรเครดิตเพื่อซื้อโรงงาน)
- ไม่กู้หนี้สินระยะยาวเพื่อซื้อสินทรัพย์ระยะสั้น (เช่น ผ่อนโทรศัพท์มือถือแบบมีดอกเบี้ย)
- เรียงลำดับการจ่ายหนี้ตามความเร่งด่วน
- จ่ายหนี้ตรงเวลา รักษาประวัติในเครดิตบูโร
5. บริหารความเสี่ยง
- มีรายได้หลายช่องทาง อย่าพึ่งรายได้ทางเดียว
- ทำประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ประกันภัย
- ทำประกันคุ้มครองทรัพย์สิน ประกันรถยนต์ ประกันบ้าน ประกันภัยสำหรับธุรกิจ
- เลือกลงทุนหลากหลาย เพื่อกระจายความเสี่ยง
- การลงทุนมีความเสี่ยง ศึกษาข้อมูลก่อนลงทุน และไม่ลงทุนหมดหน้าตัก
📣สนใจเรียนรู้ความรู้ทางการเงินอื่นๆ ของ oomtang "ออมตังค์" เพิ่มเติมคลิกที่ https://oomtang.gsb.or.th หรือ สามารถดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน ได้แล้ว ทั้งระบบ iOS (App store) และ Android (Google Play Store) คลิกที่ http://onelink.to/wsqgyh
โฆษณา