3 ม.ค. 2022 เวลา 04:47 • ท่องเที่ยว
ห้องศิลปะกรุงธนบุรี-รัตนโกสินทร์ตอนต้น
“ห้องกรุงธนบุรี-รัตนโกสินทร์ตอนต้น” .. จัดแสดงโบราณวัตถุเพื่อบอกเล่าประวัติศาสตร์การก่อตั้งราชอาณาจักรใหม่ในนามกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2310 โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายหลังการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา .. จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปราบ ดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 และทรงย้ายเมืองมาฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรวบรวมกำลังกอบกูอิสระภาพจากพม่าในปลายพุทธศักราช 2310 .. ทรงเห็นว่าตัวเมืองอยุธยาถูกทำลายเสียหายมากยากแก่การบูรณะได้ จึงทรงเลือกเมืองธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ เนื่องจากธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็กพอเหมาะกับกำลังพลและราษฎร อีกทั้งยังอยู่ไม่ไกลจากปากแม่น้ำ ในสงครามหาดเพลี่ยงพล้ำ ไม่สามารรักษาเมืองไว้ได้ ก็สามารถหลบหลีกออกทะเลสู่เมืองจันทบุรี ฐานที่มั่นเดิมของพระองค์ได้ง่าย
.. อีกทั้งยังตั้งอยู่บริเวณที่มีลำน้ำลึกใกล้ทะเล ถ้าข้าซึกไม่มีทัพเรือที่เข้มแข็งก็ยากที่จะตีเมืองธนบุรีได้ .. ทั้งนี้โปรดเกล้าฯให้ขยายเมืองออกไป กรุงธนบุรีจึงมีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีลักษณะเป็นเมืองอกแตก มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านตรงกลางอาณาเขตของเมือง ครอบคลุมทั้งสองฝั่งลำน้ำเจ้าพระยา ในพุทธศักราช 2310
.. ด้านบน คือ แผนที่แสดงลำน้ำเจ้าพระยาพร้อมแสดงตำแหน่งเมืองต่างๆ รวมถึงเมืองบางกอก สมัยสมเด็จพระนารายณ์ เขียนโดยอาศัยข้อมูลสำรวจของ มองซิเออร์ เดอ ลา มาร์
“ห้องกรุงธนบุรี-รัตนโกสินทร์ตอนต้น” .. จัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ มีอาทิ เช่น พระแท่นไม้ลงรักปิดทองของสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชที่มีอักษรจีนแกะสลักแปลว่ากษัตริย์และประดับด้วยลายมงคลตามความเชื่อของจีน เช่น ลายมังกร ดอกโบตั๋น และดอกเบญจมาศ
... รวมไปถึงพระเก้าอี้พับของเจ้าพระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ที่ทรงใช้ในยามราชการสงคราม ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์เก็บรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์มาก
เจดีย์จำลองทรงเครื่อง ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2444 ทองเหลืองปิดทองคำเปลว .. เจดีย์ทรงเครื่องที่มีเครื่องประดับตกแต่งส่วนต่างๆขององค์เจดีย์ ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ การทำทุกส่วนอยู่ในผังย่อมุมตั้งแต่ฐานไปจนถึงบัลลังก์ คาดว่า เป็นการจำลองเจดีย์จุฬามณี อันเป็นเจดีย์ที่ประดกิษฐานพระเขี้ยวแก้วและพระเมาลีของพระพุทธเจ้าบนสวรรค์ชั้นดาวดึงศ์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ
ตู้พระธรรมขาหมู .. จำหลักลายเซี่ยวกาง และพระเวสสันดรชาดก ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นไม้ลงรักปิดทอง
ตู้พระธรรมขาหมู ศิลปะธนบุรี พุทธศักราช 2323 ไม้ลงรักปิดทอง .. เดิมอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ ด้านหน้าและด้านข้างเขียนลายกนกเปลว ประกอบสัตว์หิมพานต์ ส่วนด้านหลัง เขียนเล่าเรื่องท้าวอุเทนกุมาร ตอนบนแสดงฉากอัลลกัปปดาบสปีนพระองค์ขึ้นต้นไทร เพื่อไปรับพระอุเทนกุมารจากพระราชเทวีกรุงโกสัมพี ... ตอนล่าง เป็นภาพพะดาบสอุ้มอุเทนกุมารกับพระราชเทวีพนมมือประทับบนแท่นหน้าบรรณศาลา
พระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นิยมทรงเครื่องใหญ่อย่างวิจิตร มงกุฎทรงแหลมสูง สวมธำมรงค์ครบทั้ง 10 นิ้วพระหัตถ์และทรงฉลองพระบาท
ฉากลับแลไม้ลงรักปิดทองลายกำมะลอเรื่องอิเหนา ที่สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นอีกชิ้นที่งดงามวิจิตรทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
อิเหนา .. เป็นนิทานของชวาที่แพร่เข้ามาสู่ราชสำนักในสมัยกรุงศรีอยุธยา สำนวนที่แพร่หลายในปัจจุบันเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
ด้านหน้า .. เขียนเรื่องอิเหนา ตอนสียะตราเผยม่าน
ด้านหลัง .. เขียนตอนบุษบาเล่นธาร ตัดดอกลำเจียกให้นางยุบลค่อม อิเหนาฉายกริช บุษบาเสี่ยงเทียน จนถึงตอนฤาษีสังปะลิเหงะให้พรแก่อิเหนาและบุษบา
หากเคยสังเกตด้านหลังของธนบัตรราคา 20 บาท (แบบที่ 17 รุ่นแรกในรัชกาลที่ 10) จะเห็นว่าตรงมุมด้านขวาล่างมีภาพจากบทละครเรื่องอิเหนา (ตอนสังปะลิเหงะฤๅษีให้พรแก่อิเหนาและบุษบา) ซึ่งนำมาจากส่วนหนึ่งของภาพในฉากลับแลชิ้นนี้
พุทธศิลป์ที่โดดเด่นอีกอย่างที่จัดแสดง คือ พระพุทธรูปทรงจีวรลายดอกตามลายของจีวรผ้าแพรจีนซึ่งนิยมถวายแด่พระสงฆ์ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
พระพุทธรูปทรงเครื่อง อย่างพระมหาจักรพรรดิ ปางห้ามสมุทร พุทธศตวรรษที่ 25 .. เงินกะไหล่ทอง ทองคำ อัญมณี และพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทองเหลืองปิดทองคำเปลว
พระเจ้าห้าพระองค์นาคปรก พุทธศตวรรษที่ 24 งาช้าง ไม้ปิดทองประดับกระจก .. พระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว 5 พระองค์ (พระพุทธเจ้าในกัลป์ปัจจุบัน ไก้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตรมะ และพระศรีอารยเมตไตรย) แกะสลักบนงาช้างที่บิดเป็นเกลียว ปลายงาแกะเป็นเศียรพญานาค คนไทยถือว่า งาช้างที่งอกออกมาผิดปกติเป็นของขลังสูงค่า นิยมนำมาแกะเป็นพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก พุทธศตวรรษที่ 24 ศิลปะรัตนโกสินทร์ .. หินกึ่งมีค่า ฐานบุทองคำลงยาราชาวดี
พระพุทธรูปประทับยืน บนเศียรมหิสสรเทวะ ทีงโคนนทิ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25 สร้างจากทองเหลืองปิดทองคำเปลว
พระพุทธรูปปางนี้ สร้างขึ้นตามเรื่องราวที่ปรากฏในคัมภีร์หมวดโลกศาสตร์ ..กล่าวถึงมหิสสรเทพบุตรไม่พอใจที่เหล่าเทวดาไปนบนอบแก่พระพุทธเจ้า จึงท้าประลองฤทธิ์ด้วยการเล่นซ่อนหา แต่มหิสสรเทพบุตรไม่สามารถซ่อนตนจากพระญาณของพระพุทธองค์ได้
ครั้งพระพุทธองค์ทรงเนรมิตองค์เป็นปรมาณูประทับยืนใกล้ทิพยจักษุของมหิสสรเทพบุตร มหิสสรเทพบุตรหาไม่พบจึงยอมจำนน พระบรมศาสดาได้ตรัสเทศนาจนมหิสสรเทพบุตรบรรลุธรรม .. ภายหลังพุทธปรินิพพาน มหิสสรเทพบุตรได้เนรมิตพระพุทธปฏิมาเทินไว้เหนือเศียร อัญเชิญไปประดิษฐานยังมหาวิหารบนเขามันทคีรี
พระพุทธรูปไสยา ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 .. พระพุทธรูปสลักจากแก้วสีเขียว บรรทมตะแคงขวาในท่าสีหไสยา ประทับในคันธกุฎี ไม้ลงรักปิดทองประดับกระจก หมายถึงพระจริยาวัตรของพระพุทธองค์ในแต่ละวัน พระพุทธรูปไสยานี้เดิมอยู่ในวัดราชนัดดา เข้าใจว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงมีพระราชปณิธาน ที่ “จะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา จะปกป้องขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี” .. ดังที่โปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ณ วัดนิพพานาราม (ปัจจุบัน คือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) ซึ่งนับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 9 ของโลก เทื่อพุทธศักราช 2331 กับทั้งให้มีการกวดขันพระวินัยของสงฆ์ และข้อพึงปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน จนทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน
เครื่องถ้วยเบญจรงค์ ลายน้ำทอง .. ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ .. การค้าในช่วงเวลานี้เฟื่องฟูมาก โดยเฉพาะการค้ากับจีน สืบเนื่องมาจากการส่งทูตและเครื่องราชบรรณาการไปติดต่อสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับราชสำนักจีนมาตลอด
เรือสำเภาหลวงที่ไปยังเมืองจีน ต้องพักรอลมตะเภานานหลายเดือนจึงจะแล่นไปกลับมาได้ ราชสำนักสยามจึงสามารถส่งช่างหลวงไปกำกับให้ช่างจีนทำสิ่งของต่างๆตามแบบอย่างที่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องถ้วยเบญจรงค์ หรือเครื่องถ้วยลายน้ำทอง .. กล่าวกันว่า เครื่องถ้วยชามหลวงเขียนลายลงยาสีบนเคลือบของที่สั่งทำมาจากเมืองจีนในสมัยรัชกาลที่ 2 มีความละเอียดประณีตดีกว่าสมัยอื่นๆ
ตราประจำตำแหน่ง ... ตราเวียง วัง คลัง นา ที่เพิ่งจะได้เห็นของจริงกันในห้องนี้
สมุดภาพจับรามเกียรติ์ ศิลปะรัตนโฏสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 ทำด้วยกระดาษ สีฝุ่น ปิดทอง .. เป็นภาพจับในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์
ภาพจับ หมายถึง ภาพแสดงการต่อสู้ในลักษณะประชิด ระหว่างบุคคลต่อบุคคล หรือบุคคลต่อกลุ่มบุคคล .. การต่อสู้ในลักษณะดังกล่าวมีการจับร่างกาย จับอาภรณ์ หรือจับอาวุธของอีกฝ่ายหนึ่ง
กล่องเก็บยาไทยทำจากกระ ส่วนซองยาทำจากผ้าทอสวยงามตัดเป้นทรงต่างๆ ไว้เก็บสมุนไพรและยาไทย
พระสุภูติมหาเถร ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 สร้างจากโลหะผสมปิดทองคำเปลว .. พระสุภูติ เป็นประติมากรรมพระอรหันตสาวก สำหรับบูชาในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ หรือพิธีขอฝน ด้วยมีเรื่องในคัมภีร์อรรถกถาว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงตรัสจะทำกุฎิถวาย แต่ด้วยทรงมีราชการมากจึงบังมิได้ทำถวายตามคำปฏิญาณ พระสุ๓ติไม่มีเสนาสนะจึงอยู่แรมในที่แจ้ง ถึงวสันตฤดูฝนก็ยังไม่ตก .. ครั้งพระเจ้าพิมพิสารระลึกได้ จึงโ)รดให้สร้างกุฎิถวาย ฝนจึงตกจามฤดูกาล
รูปหล่อเรื่อง ปฐมสมโพธิ์
*******************
เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลกกับพี่สุ … รวม link บทความที่เขียนในเพจ ..
***เมืองไทย ไดอารี่ by Supawan
***Supawan’s colorful world
***สถานีอร่อย by Supawan
โฆษณา