3 ม.ค. 2022 เวลา 06:29 • การศึกษา
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ
อย่างที่เรียนไปในสัปดาห์ก่อนหน้านี้ว่า ทุกๆ วันจันทร์ก่อนที่จะถึงช่วงสิ้นปีนี้ผมก็จะขออนุญาตมาพูดถึงเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้องกับ “สนิม” ที่มีผลต่อการใช้งานโครงสร้างของเรา ซึ่งในสัปดาห์นี้ก็น่าจะเป็นสัปดาห์สุดท้ายแล้วที่เราจะมีโอกาสได้พบเจอกันบนเพจแห่งนี้และหัวข้อในวันนี้ก็คือ ข้อเท็จจริงสองประการที่พวกเรามักจะมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนออกไปจากความเป็นจริงที่มีความเกี่ยวข้องกับสนิมนั่นเองครับ
สาเหตุที่ผมเลือกนำเอาหัวข้อๆ นี้มาโพสต์ในวันนี้เป็นเพราะว่าผมมีความเชื่อว่าน่าที่จะมีเพื่อนๆ หลายๆ คนที่อาจจะยังมีความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับเรื่องของสนิมที่อาจจะยังไม่ถูกต้องนัก ผมเลยคิดว่าดีเหมือนกัน ผมจะขอนำเอาข้อเท็จจริงสองประการนี้ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องการป้องกันสนิมเอามาพูดถึงในโพสต์ของวันนี้ด้วยน่ะครับ
ประการแรกเลยก็คือ เวลาที่เพื่อนๆ จะเลือกใช้วัสดุที่เป็นเหล็กกล้าเพื่อเหตุผลในการป้องกันการเกิดสนิมในเหล็ก ซึ่งผมพบว่าส่วนใหญ่แล้วเพื่อนๆ หลายๆ คนจะมีความเชื่อว่าวัสดุ “สแตนเลส” และ “อะลูมิเนียม” นั้นจะเป็นวัสดุที่จะไม่เกิดสนิมขึ้นเลยซึ่งไม่เป็นความจริงนะเพราะวัสดุสแตนเลสเป็นโลหะที่เกิดจากการผสมกันระหว่างเหล็กกับคาร์บอน เลยทำให้มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนค่อนข้างที่จะสูงมากจึงทำให้ไม่เกิดเป็นสนิมได้โดยง่ายนั่นเอง
อีกทั้งยังมีส่วนประกอบของโครเมียมมากถึงร้อยละ 10.5 ซึ่งนั่นจะทำให้เกิดการสร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์บางๆ ขึ้นมาเพื่อช่วยในการปกป้องไม่ให้มีอะไรมากัดกร่อนสแตนเลสได้ง่ายอีกด้วยแต่อย่างไรก็ดีหากเราใช้งานวัสดุสแตนเลสโดยขาดการบำรุงรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้วในที่สุดมันก็จะเกิดสนิมได้อยู่ดี ส่วนวัสดุอะลูมิเนียมก็เช่นกัน สามารถที่จะเกิดเป็นสนิมได้เหมือนกันกับเหล็กหรือโลหะอื่นๆ เพียงแต่ว่าสนิมที่จะเกิดขึ้นบนวัสดุอะลูมิเนียมนั้นจะมีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ ที่จะเคลือบอยู่ที่ด้านนอกสุดของผิวอะลูมิเนียม ซึ่งก็จะกลายเป็นกลไกในการป้องกันไม่ให้เกิดสนิมอีกชั้นหนึ่งด้วยครับ
ประการที่สองก็คือ พวกเรามักจะมีความคิดหรือความเชื่อว่า การป้องกันผิวเหล็กมิให้เกิดสนิมขึ้นนั้นจะต้องอาศัยงบประมาณในการทำงานที่ค่อนข้างสูง เช่น วิธีในการเคลือบผิวเหล็กที่ดีที่สุดก็คือการทาด้วยสีที่มีคุณสมบัติเป็นสีรองพื้นและป้องกันสนิมอย่างน้อยจำนวน 3 รอบ เป็นต้น ซึ่งจริงๆ แล้วเราอาจจะเลือกใช้งานวัสดุและวิธีในการเคลือบผิวด้วยวิธีการใดๆ ก็ได้ที่มีความเหมาะสมกับการใช้งานโครงสร้างเหล็กนั้นๆ ของเรานะ ขอเพียงแค่เรานั้นมีความเข้าใจในเรื่องของการใช้งานและวัสดุเหล็กของเราว่ามีลักษณะจริงๆ เป็นอย่างไร
ดังนั้นเราไม่จำเป็นที่จะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการทำงานมากจนเกินความจำเป็นในการที่จะทำการปกป้องผิวเหล็กจากการเป็นสนิมมากจนเกินความจำเป็นแต่อย่างใดเลย ซึ่งวิธีในการเคลือบผิวนอกจากการทาด้วยสีกันสนิมแล้วก็ยังมีวิธีการอื่นๆ อีกมาก อาทิเช่น อาศัยการพ่นด้วยสีน้ำมันอย่างน้อย 2 ชั้น หรือ อาศัยการชุบด้วยวัสดุกัลวาไนซ์ เป็นต้น ทั้งนี้เราอาจจะทำการพ่นหรือทาผิวของเหล็กด้วยสีที่มีคุณสมบัติในการป้องกันสนิมเพื่อเป็นการเคลือบผิวชั้นแรกของโครงสร้างเหล็กมิให้เกิดสนิมโดยตรง
โดยที่ชั้นนอกที่จะเป็นตัวเคลือบผิวของเหล็กนั้นจะคอยทำหน้าที่เสมือนเป็นเปลือกบางๆ ที่จะคอยห่อหุ้มและป้องกันความชื้นมิให้สัมผัสกับเนื้อเหล็กโดยตรง ซึ่งก็จะรวมไปถึงอากาศด้วยและต่อให้เราเลือกใช้งานโครงสร้างเหล็กที่ผ่านการชุบด้วยดีบุกหรือสังกะสีเพื่อเป็นการป้องกันมิให้น้ำและอากาศนั้นมาสัมผัสกันกับเนื้อเหล็กหรือโลหะโดยตรงแล้ว เราก็ยังคงต้องคอยหมั่นทำการเคลือบผิวเหล็กหรือโลหะอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันเนื้อเหล็กไม่ให้เกิดสนิม อีกทั้งยังเป็นการยืดระยะเวลาและอายุการใช้งานของดครงสร้างเหล็กให้มีความคงทนและยาวมากยิ่งขึ้นด้วยนะครับ
ผมต้องขอขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ https://whatispiping.com/does-stainless-steel-rust/
สำหรับรูปที่ผมได้นำเอามาใช้ประกอบในโพสต์ๆ นี้ด้วยนะครับ
เนื่องจากตลอดปีที่ผ่านมานั้นผมและทีมงานได้พยายามที่จะนำเอาเกร็ดและเทคนิคในการทำงาน รวมถึงองค์ความรู้ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับงานวิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมธรณีเทคนิค รวมถึงวิศวกรรมสาขาอื่นๆ เอามาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนอย่างต่อเนื่องเสมอมา หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มองเห็นว่า ความรู้ที่ผมได้นำเอามาฝากนั้นมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ หรือเพื่อนๆ สามารถที่จะนำเอาไปใช้งานหรือพัฒนาต่อยอดในการเรียนรู้หรือการทำงานของเพื่อนๆ ได้ เพียงเท่านี้ผมและทีมงานก็มีความสุขใจมากแล้ว ต่อไปถึงแม้เราจะไม่ได้พบกันอีกบนเพจแห่งนี้ ผมก็คาดหวังว่าเพื่อนๆ ทุกคนจะยังคงจะเป็นนักแสวงหาความรู้ต่อไป
ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างและวิศวกรรมสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันอยู่อย่างสม่ำเสมอและตลอดไปและผมต้องขอขอบพระคุณสำหรับการติดตาม การฝากคำถาม การกดไลค์และการกดแชร์ของเพื่อนๆ ด้วยดีเสมอมา ผมจะขอเก็บเอาไว้เป็นความทรงจำดีๆ ในฐานะที่ผมเคยได้ทำหน้าที่เป็นแอดมินของเพจแห่งนี้ตลอดไปนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันจันทร์
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ความรู้เรื่องผลของการเกิดสนิมที่มีต่อการใช้งานโครงสร้างเหล็ก
#ครั้งที่3
ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
😎 ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449
☎ 081-634-6586
🌎http://www.spun-micropile.com
โฆษณา