7 ม.ค. 2022 เวลา 11:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เอกซเรย์สุขภาพทางการเงิน เพื่อไปถึงเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้
5 สัญญาณที่บอกว่าสุขภาพทางการเงินกำลังมีปัญหา
1. รายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย
รายจ่ายหมดไปกับการซื้อของ ชอปปิงหมดจนไม่มีเงินเหลือใช้เพียงพอไปถึงสิ้นเดือน
2. ไม่มีเงินสำรองใช้ในยามฉุกเฉิน
ในยามเจ็บไข้ได้ป่วยจนเข้าโรงพยาบาล ไม่มีเงินสำรองฉุกเฉินไว้ใช้ในยามลำบาก
3. มีภาระหนี้สินมากกว่ารายได้
รายจ่ายต่อเดือนมากกว่ารายรับเกินครึ่งหนึ่ง หรือรายได้ทั้งหมดหมดไปกับการใช้หนี้
4. อัตราการออมเงินระยะยาวเป็นศูนย์
ไม่มีการวางแผนระยะยาวหลังเกษียณหรือวางแผนมรดกให้ลูกหลาน
5. ไม่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำงาน
ไม่มีการขึ้นเงินเดือนจากงานประจำที่ทำมานาน ทำให้ไม่พอใช้จ่าย
วิธีเปลี่ยนพฤติกรรมการเงิน สู่การเป็นพฤติกรรมพอเพียง
- ยึดหลักทางสายกลาง อยู่กับความพอเพียง
- สร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้รู้จักความพอประมาณ วางแผนในการใช้ชีวิตและใช้จ่ายอย่างพอดี
- เพิ่มรายได้ด้วยการหางานพิเศษเพิ่มเติม
- หักเงินออมและเงินลงทุนก่อนใช้จ่าย
รายได้-เงินออม-เงินลงทุน = รายจ่าย
- ระวังเรื่องการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิต
ไม่ใช้จ่ายเกินกว่าแผนการเงินที่กำหนด
1
- รู้จักลงทุนและวางแผนทางการเงิน
แบ่งการลงทุนเป็นออกเป็น 3 ระยะ
1. ระยะสั้น ได้แก่ บัญชีเงินฝากประจำ 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน 24 เดือน 36 เดือน
2. ระยะกลาง ได้แก่ สลากออมสินพิเศษดิจิทัล 3 ปี สลากออมสินพิเศษดิจิทัล 5 ปี เป็นต้น
3. ระยะยาว ได้แก่ หุ้น กองทุนรวม ประกันชีวิต ประกันแบบสะสมทรัพย์ เป็นต้น
เอกซเรย์สุขภาพทางการเงิน เพื่อไปถึงเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้
📣สนใจเรียนรู้ความรู้ทางการเงินอื่นๆ ของ oomtang "ออมตังค์" เพิ่มเติมคลิกที่ https://oomtang.gsb.or.th หรือ สามารถดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน ได้แล้ว ทั้งระบบ iOS (App store) และ Android (Google Play Store) คลิกที่ http://onelink.to/wsqgyh
โฆษณา