4 ม.ค. 2022 เวลา 11:10 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เงินเฟ้อ-น้ำมันร้อย?
KTAM Weekly Strategy
กลยุทธ์การลงทุนประจำสัปดาห์ที่ 4-7 ม.ค. 2565
OPEC+ / PMI จีน / จ้างงานสหรัฐ นำสารพัดปัจจัยเปิดสนามลงทุน 2020
PMI ชุดส่งท้าย 2021 สะท้อนการเติบโตเต็มเดือนแรกหลังโลกรู้จักโอมิครอน ตัวเลขทางการจีน ธ.ค. ภาคผลิต 50.3 (คาด, พ.ย. 50.1) นอกภาคผลิต 52.7 (คาด 53.1, พ.ย. 52.3) PMI ภาคผลิตของไฉซิน 50.9 (คาด 50, พ.ย. 49.9) ผลผลิตเดือนที่แล้วเติบโตเร็วสุดในปี 2020 ได้ปัจจัยหนุนจากสภาพตลาดและความต้องการของลูกค้าที่ดีขึ้น ขณะเงินเฟ้อผู้ผลิตเริ่มชะลอจากจุดพีค ทว่าการจ้างงานหดตัว 5 เดือนติดต่อกัน แย่สุดตั้งแต่ ก.พ. ภาคธุรกิจยังขาดความเชื่อมั่น จึงน่าจะต้องการแรงกระตุ้นเพิ่มเติมจากรัฐบาลจีน รัฐบาลจีนเน้น “เสถียรภาพ” ปีนี้เศรษฐกิจน่าจะโตแค่ปานกลาง
รายงานประชุมเฟด 14-15 ธ.ค. ถอดรหัสความคิดผู้กำหนดทิศดอกเบี้ย หลังจาก QE tapering ถูกเร่งให้จบเร็วกว่าเดิม โดยถึงแม้เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งปีนี้และอีก 3 ครั้งปีหน้าตามประมาณการ dot plot ดอกเบี้ยแท้จริงก็ยังติดลบ (ดอกเบี้ย < เงินเฟ้อ) เศรษฐกิจและเงินเฟ้อสหรัฐยังได้แรงกระตุ้น จุดสำคัญของรายงานฉบับนี้ (ถ้ามี) คือ เงื่อนไขอะไร? ที่จะทำให้เฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยถี่กว่า 3 ครั้งต่อปี
ประชุม OPEC+ (อังคาร) สต็อกน้ำมัน (พุธ) ข้อมูลแรงงานสหรัฐ (ศุกร์) ล้วนมีอิทธิพลต่อตัวแปรสำคัญคือ “เงินเฟ้อ” นอกจากนี้ นักลงทุนจับตาตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่ JOLT’s Job Openings คืนวันอังคาร (4 ม.ค.) ซึ่งส่งผลต่อแนวโน้มค่าจ้างและเงินเฟ้อเช่นกัน วางกลยุทธ์โดยยึด 5 สมมุติฐานเดิม (1) โอมิครอนไม่แรง (2) เศรษฐกิจสหรัฐดี (3) เงินเฟ้อสูงลากยาว (4) เฟดขึ้นดอกเบี้ย (5) จีนผ่อนคลาย
Dow Jones, S&P 500 ปิดตลาด all-time high ต้อนรับปีใหม่ (3 ม.ค.) Nasdaq บวกครั้งแรกใน 5 วันทำการ ได้อานิสงส์จาก Tesla +13.5% รับยอดส่งมอบรถไตรมาส 4 ดีกว่าคาด Apple +2.5% กลายเป็นบริษัทแรกที่ market cap ใหญ่เกิน $3 ล้านล้าน
1
หุ้นกลุ่มการเงินพุ่งตามยีลด์พันธบัตรสหรัฐ 10Y +13.5 bps ปิดสูงกว่า 1.6% 30Y +14.1 bps ผ่าน 2% ครั้งแรกนับตั้งแต่เจอโอมิครอน
Yield curve ชันขึ้น 10Y-2Y spread กว้างสุดใน 1 เดือน ความเคลื่อนไหวล่าสุดสะท้อนมุมมองของเราจากการเฝ้าสังเกตผลประมูลพันธบัตรสหรัฐช่วงปลายปี ดีมานด์อ่อนแอแม้ยังมี QE “เงินเฟ้อลากยาว” ถึงยีลด์สูงกว่านี้หลายสิบ bps ยีลด์แท้จริงก็ยังติดลบ (ยีลด์พันธบัตร < เงินเฟ้อ) เฟดเร่ง tapering จ่อเลิก QE มี.ค. เตรียมขึ้นดอกเบี้ย ยีลด์พันธบัตรสหรัฐจึงน่าจะปรับตัวขึ้นได้อีก ประกอบกับแนวโน้มสินเชื่อเติบโต ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนหุ้นกลุ่มการเงิน ย้ำสะสมต่อเนื่อง KT-FINANCE
สัญญาน้ำมันดิบ WTI และ Brent อยู่แถว $76 และ $79 ตามลำดับ OPEC+ ประชุมคืนนี้ ตลาดคาดเพิ่มซัพพลาย 4 แสนบาร์เรล/วัน ตามแผนเดิม
ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสทะลุ $100/บาร์เรล โอมิครอนไม่ค่อยรุนแรง สหรัฐเติบโตดี จีนผ่อนคลาย หนุนความต้องการใช้พลังงาน เงินเฟ้อสูงกระตุ้นแรงซื้อโภคภัณฑ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อ (inflation hedge) OPEC+ คุมโควตารักษาสมดุลตลาดมุ่งดันราคาสูงเพิ่มรายได้ให้ตัวเอง การลงทุนผลิต “พลังงานเก่า” ทั่วโลกเผชิญแรงกดดันให้ชะลอในระยะยาว สืบเนื่องจากนโยบายลดโลกร้อน “น้ำมันจำเป็นต้องแพง” เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่าน เพิ่มแรงบีบเร่งให้ผู้บริโภคหันไปใช้พลังงานสะอาด
“สมมุติฐานเงินเฟ้อ” สำคัญมาก เราเลือกข้าง inflationista “เงินเฟ้อสูงลากยาว” แม้เฟดเร่งลด QE ขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งก็ยังตามหลังเงินเฟ้ออยู่ดี สถานะลงทุนหลักๆจึงออกแนว reflation รับประโยชน์จากเงินเฟ้อโดยใช้ KT-FINANCE, KT-JAPAN และ KT-JPFUND เป็นหลัก ส่วนหุ้นเทคเลือก KT-EUROTECH เพราะ ECB น่าจะขึ้นดอกเบี้ยช้ากว่าเฟด ตลาดยูโรโซนจึงมี “สภาพคล่อง” เหนือกว่าตลาดสหรัฐ เป็นปัจจัยหนุนระดับราคาหุ้นยุโรปในเชิงเปรียบเทียบ (หุ้นยุโรปควรแพงกว่าหุ้นสหรัฐถ้าตัวแปรอื่นๆเท่ากัน)
1
โฆษณา