5 ม.ค. 2022 เวลา 01:01 • การศึกษา
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ
ในหัวข้อของการโพสต์สุดท้ายประจำวันพุธในปี พ.ศ. 2564 นี้ผมอยากจะนำเอาเรื่องๆ นึงซึ่งจริงๆ แล้วผมเคยได้พูดถึงบ่อยมากๆ นั่นก็คือ เวลาที่เราทำการออกแบบโครงสร้างใดๆ เพื่อรองรับจุดประสงค์ในการใช้งานหนึ่งๆ ในฐานะที่เรานั้นเป็นวิศวกรโครงสร้าง เรามีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาทำการออกแบบให้โครงสร้างนั้นๆ มีความเหมาะสมต่อการใช้งานสำหรับโครงสร้างนั้นจริงๆ พูดง่ายๆ คือเราอาจจะใช้ทฤษฎีและเงื่อนไขต่างๆ ในการออกแบบที่เหมือนๆ กันได้แต่รายละเอียดของโครงสร้างแต่ละอย่างนั้นย่อมต้องมีความแตกต่างกันนะครับ
ผมยกตัวอย่างง่ายๆ สักหนึ่งตัวอย่างก็แล้วกัน เช่น หากผมกำลังพิจารณาทำการออกแบบอาคารเพื่อเป็น “อาคารพักอาศัย” ผมก็จะตั้งจุดประสงค์ในการใช้งานเพื่อเป็น “ที่พักอาศัย” ดังนั้นรายละเอียดในการออกแบบก็จะไม่ได้มุ่งเน้นเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งเป็นพิเศษแต่หากผมกำลังพิจารณาทำการออกแบบอาคารเพื่อเป็น “อาคารโรงงานผลิตสินค้า” ผมก็จะตั้งจุดประสงค์ในการใช้งานเพื่อเป็น “โรงงานผลิตสินค้า” ดังนั้นรายละเอียดในการออกแบบก็จะมุ่งเน้นไปที่การใช้งานอาคารเพื่อการผลิตสินค้า อาจจะมีเครื่องจักรกลภายในอาคารหลังนี้ อาจจะมีโอเวอร์เฮ้ดเครนเคลื่อนที่ไปมาในการยกเพื่อรับส่งสินค้า เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าอาคารทั้งสองประเภทนี้เราอาจจะใช้ทฤษฎีและเงื่อนไขต่างๆ ในการออกแบบที่เหมือนๆ กันได้แต่รายละเอียดของโครงสร้างแต่ละอย่างนั้นย่อมต้องมีความแตกต่างกันออกไปเพราะจุดประสงค์ในการใช้งานก็ดี อายุการใช้งานของอาคารเองก็ดี ความคงทนต่อสภาพแวดล้อมก็ดี ของทั้งสองอาคารนั้นย่อมที่จะมีความแตกต่างกันออกไปตามที่ผมได้นำเรียนไปข้างต้นนะครับ ดังนั้นเพื่อนๆ อย่ามีความคิดว่า หากเราออกแบบอาคารประเภท A ได้ เราก็จะต้องสามารถทำการออกแบบอาคารประเภท B ได้เช่นกัน มันไม่ได้มีความง่ายดายหรือตรงไปตรงมาขนาดนั้น นอกจากเราจะต้องความรู้แล้ว เรายังควรที่จะต้องมีประสบการณ์ในการออกแบบโครงสร้างนั้นๆ มาก่อนด้วยน่ะครับ
อีกสักหนึ่งตัวอย่างก็แล้วกัน จากรูปที่ผมได้นำเอามาใช้ประกอบในโพสต์ๆ นี้จะเป็นเอกสารของสถาบันคอนกรีตหล่อสำเร็จหรือ PRECAST CONCRETE INSTITUTE หรือที่พวกเรานิยมเขียนกันสั้นๆ ว่า PCI ซึ่งจะว่าด้วยเรื่อง ขนาดความกว้างของรอยร้าวที่ยอมให้เกิดขึ้นหรือ ALLOWABLE CRACK WIDTH ซึ่งเพื่อนๆ จะเห็นได้ในช่องแรกของตารางว่าเป็นลักษณะของการใช้งานที่ยอมให้เกิดรอยร้าวขึ้นได้ ช่องที่สองจะเป็นขนาดของรอยร้าวโดยทั่วไปที่อาจจะเกิดขึ้นได้ซึ่งก็คือขนาดความกว้างร้อยละ 90 จากการเกิดรอยร้าวทั้งหมดในโครงสร้างหรือว่าค่า W90 สำหรับช่องที่สามจะเป็นขนาดความกว้างมากที่สุดของรอยร้าวที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ในโครงสร้างและสุดท้ายช่องที่สี่ จะเป็นความยากง่ายในการสังเกตเห็นรอยร้าวด้วยตาเปล่า
ซึ่งเรามาดูไปทีละหัวข้อพร้อมๆ กันนะครับ
หัวข้อแรก ลักษณะของการใช้งานที่ยอมให้เกิดรอยร้าวขึ้นได้จะเป็นแบบ “กรณีของการรอยร้าวที่มีความเบาบาง” หรือ “MILD EXPOSURE” ซึ่งจะมีค่า W90 เท่ากับ 0.012 นิ้ว หรือ 0.30 MM และมีค่าขนาดความกว้างของรอยร้าวมากที่สุดเท่ากับ 0.008 นิ้ว หรือ 0.20 MM ซึ่งลักษณะความกว้างของรอยร้าวดังกล่าวนี้จะสามารถมองและสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้เลย
ทั้งนี้ในรายการข้างล่างของเอกสารฉบับนี้ได้อธิบายถึงลักษณะของโครงสร้างที่ยอมให้เกิดรอยร้าวในลักษณะนี้ได้ว่าเป็นอาคารที่มีลักษณะของค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นเพียงแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ ต่อเนื่องกันใน 1 ปีเพียงเท่านั้น ตัวอย่างเช่น หากค่าความชื้นสัมพัทธ์สุงสุดมีค่าเท่ากับร้อยละ 60 ก็จะยอมให้เกิดขึ้นได้ไม่เกิน 3 เดือนต่อปีเท่านั้น เป็นต้นครับ
หัวข้อที่สอง ลักษณะของการใช้งานที่ยอมให้เกิดรอยร้าวขึ้นได้จะเป็นแบบ “กรณีของการรอยร้าวทั่วๆ ไป” หรือ “MODERATE EXPOSURE” ซึ่งจะมีค่า W90 เท่ากับ 0.008 นิ้ว หรือ 0.20 MM และมีค่าขนาดความกว้างของรอยร้าวมากที่สุดเท่ากับ 0.016 นิ้ว หรือ 0.40 MM ซึ่งลักษณะความกว้างของรอยร้าวดังกล่าวนี้จะไม่สามารถมองและสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้ ทั้งนี้ในรายการข้างล่างของเอกสารฉบับนี้ได้อธิบายถึงลักษณะของโครงสร้างที่ยอมให้เกิดรอยร้าวในลักษณะนี้ได้ว่าเป็นอาคารที่มีลักษณะของค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดปี อาจจะมีน้ำไหลผ่านบนพื้นผิวของโครงสร้างตลอดเวลาและชั้นดินก็ควรที่จะเป็นชั้นดินแบบทั่วๆ ไปด้วยนะครับ
หัวข้อที่สาม ลักษณะของการใช้งานที่ยอมให้เกิดรอยร้าวขึ้นได้จะเป็นแบบ “กรณีของการรอยร้าวที่มีความรุนแรง” หรือ “SEVERE EXPOSURE” ซึ่งจะมีค่า W90 เท่ากับ 0.004 นิ้ว หรือ 0.10 MM และมีค่าขนาดความกว้างของรอยร้าวมากที่สุดเท่ากับ 0.012 นิ้ว หรือ 0.30 MM ซึ่งลักษณะความกว้างของรอยร้าวดังกล่าวนี้จะไม่สามารถมองและสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้ ทั้งนี้ในรายการข้างล่างของเอกสารฉบับนี้ได้อธิบายถึงลักษณะของโครงสร้างที่ยอมให้เกิดรอยร้าวในลักษณะนี้ได้ว่า หากเป็นอาคารที่ต้องมีการกักเก็บของเหลวก็แสดงว่าลักษณะของของเหลวนั้นก็จะมีสภาพความเป็นกรดหรือมีส่วนผสมของความเป็นเกลือเจือปนอยู่ด้วย
ทั้งนี้หากเป็นอาคารที่ต้องมีการกักเก็บก๊าซก็แสดงว่าลักษณะของของก๊าซนั้นก็จะต้องเป็นก๊าซที่มีฤทธิสามารถทำให้เกิดการกัดกร่อนได้และชั้นดินเองก็ควรที่จะเป็นชั้นดินแบบที่มีฤทธิสามารถทำให้เกิดการกัดกร่อนได้เช่นกัน ทั้งนี้หากเป็นอาคารที่ใช้เพื่อการอุตสาหกรรมใดๆ ก็ควรที่จะใช้สำหรับงานอุตสาหกรรมที่อาจจะทำให้เกิดการกัดกร่อนขึ้นได้และสุดท้ายยังได้มีระบุเพิ่มเติมมาด้วยว่า ใช้สำหรับกรณีของโครงสร้างที่มีสภาพแวดล้อมโดยรอบเป็นทะเลอีกด้วยนะครับ
จากเอกสารฉบับนี้เราก็อาจจะเห็นได้ว่า PCI ได้เน้นย้ำกับพวกเราว่า โครงสร้างแต่ละประเภทที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับจุดประสงค์และวิธีในการใช้งานที่มีความแตกต่างกันแล้ว หากวิศวกรโครงสร้างนั้นมีความต้องการที่จะให้เจ้าของอาคารนั้นมีการใช้งานโครงสร้างโดยปราศจากปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวแล้ว เราก็ควรที่จะต้องทำการพิจารณาถึงเกณฑ์ในการที่จะยอมให้เกิดค่าขนาดของความกว้างของรอยร้าวที่มีความแตกต่างกันออกไปด้วยนะครับ
ซึ่งผมก็มีความคาดหวังว่าเพื่อนๆ จะได้ข้อคิดต่างๆ ตามที่ผมได้แถลงไขไปในเนื้อหาของบทความในวันนี้แล้วว่า เราควรที่จะต้องหมั่นฝึกฝนตนเองอยู่เสมอเพราะนอกจากเราจะต้องมีองค์ความรู้ที่ถูกต้องแล้ว เราก็ควรที่จะต้องมีประสบการณ์ในการออกแบบโครงสร้างนั้นๆ มาก่อนด้วยน่ะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#การพิจารณาออกแบบโครงสร้างที่มีจุดประสงค์ในการใช้งานที่มีความแตกต่างกัน
ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
😎 ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449
☎ 081-634-6586
🌎http://www.spun-micropile.com
โฆษณา