5 ม.ค. 2022 เวลา 04:10 • หุ้น & เศรษฐกิจ
[RERUN] From Zero to Pro
จัดพอร์ตยังไงให้ปัง เชื่อว่าหลายคนคงมีปัญหากับการจัดพอร์ต วันนี้เลยอยากจะมารีรันบทความอีกครั้ง โดยทำมาเป็น Photo Album เผื่อจะเข้าใจกันมากขึ้น จะปีใหม่แล้วหวังว่าทุกคนจะจัดพอร์ตกันปังๆ ต้อนรับปีใหม่และการลงทุนในปีหน้า !!
📌Step 1: สำรวจตัวเองก่อน
มี Checklist ทั้งหมด 4 ข้อ
1️⃣เป้าหมายในการลงทุนของเรา - เราต้องการลงทุนให้เงินเติบโต กระจายความเสี่ยง ต้องการสภาพคล่องและปกป้องเงินต้น หรือสร้ายรายได้ประจำ
2️⃣ผลตอบแทนที่คาดหวัง - เราต้องการผลตอบแทนเท่าไหร่ ซึ่งต้องเข้ากับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ด้วย โดยยิ่งไปกว่านั้นผลตอบแทนที่คาดหวังยังต้องเพียงพอให้ไปถึงเป้าหมายด้วย เช่น สมมติเราต้องการเกษียณที่ 10,000,000 ลงทุน 25 ปี ด้วยเงินต้น 1,000,000 แล้วเราต้องการผลตอบแทนเพียง 4% ต่อปี ก็คงไม่ทำให้เราไปถึงเป้าแน่ๆ
3️⃣ระดับความความเสี่ยงที่ยอมรับได้ - ในส่วนนี้ โบรคเกอร์หรือแพตฟอร์มที่เราเปิดบัญชี เขาจะมีฟอร์มมาให้เราทำ เพื่อที่จะกำหนด Risk Profile หรือระดับการรับความเสี่ยงของเรา ในส่วนนี้แบ่งเป็น ความเต็มใจในการรับความเสี่ยง กับความสามารถที่จะรับความเสี่ยงด้วยโดยดูจากฐานะการเงิน
4️⃣ข้อจำกัดในการลงทุน - ระยะเวลาในการลงทุน มีความต้องการไรพิเศษไหม เงื่อนไขทางภาษี และสภาพคล่อง
📌Step 2: ทำไมต้องกองทุนรวม
1️⃣บริหารโดยมืออาชีพ ทำให้มือใหม่ หรือนักลงทุนมือเก๋า ที่อาจจะขาดความรู้ความเข้าใจในสินทรัพย์บางประเภท สามารถลงทุนได้ง่ายๆ โดยผ่านกองทุนรวมที่มีมืออาชีพบริหารให้ เช่น บางคนอาจจะเล่นหุ้นไทยมาตลอด พอจะมาเล่นหุ้นต่างประเทศบ้าง ต้องตามข่าวสารเยอะไม่มีเวลา กองทุนรวมต่างประเทศอาจจะดีกว่า
2️⃣กระจายความเสี่ยง ปกติแล้วการสร้างพอร์ต ต้องมีหุ้นหลายตัว หรือมีหุ้นในหลายประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยง แต่การที่เราซื้อกองทุนรวม เหมือนเราซื้อพอร์ตหนึ่ง คือในกองทุนรวมก็จะแบ่งเป็นหุ้นหลายตัว ในหลายอุตสาหกรรม (ถ้าไม่ใช่กองทุนรวมที่เลือกลงเฉพาะอุตสาหกรรม)
3️⃣ใช้เงินลงทุนน้อย กองทุนรวมใช้เงินลงทุนน้อยมาก มีตั้งแต่ 1 บาท ก็เริ่มลงทุนต่างประเทศได้แล้ว แตกต่างจากที่ไปซื้อหุ้นเอง อาจจะเจอราคาหุ้นที่แพง หรือขั้นต่ำในการลงทุน และใช้เงินจำนวนมากในการลงทุน
4️⃣สิทธิประโยชน์ทางภาษี กองทุนรวมบางประเภทเช่น RMF หรือ SSF สามารถลดหย่อนภาษีได้
📌กองทุนรวม เรียงจาก ผลตอบแทนที่คาดหวัง/ความเสี่ยง และระยะเวลาการลงทุน
กองทุน Money Market > กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น > กองทุนตราสารหนี้ระยะยาว > กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ > กองทุนรวมผสมระหว่างหุ้นและตราสารหนี้ > กองทุนหุ้น
ส่วนตัวรู้สึกว่ากองทุนรวมมันมีสภาพคล่องค่อนข้างสูง โดยเราขายแล้วได้เงินอย่างช้าก็ 3 วัน ทำให้ไม่รู้สึกถึงความต่างสภาพคล่องระหว่างกองทุนแต่ละประเภทมากนัก แต่มันจะไปเชื่อมกับระยะเวลาการลงทุน เช่น หากเรามีเป้าหมายการลงทุนระยะสั้นหรือน้อยกว่า 1 ปี หรือส้นกว่านั้น การลงทุนในกองทุนหุ้น ที่ความผันผวนมีมากกว่ากองทุน Money Market อาจจะทำให้เรามีโอกาสขาดทุนเยอะกว่าก็ได้ แล้วเราเองก็ต้องการใช้เงินภายใน 1 ปี
📌ตัวอย่างแต่ละเป้าหมาย
1️⃣เป้าหมายระยะสั้น - พักเงินรอไว้ลงทุน เงินสำรองใช้จ่ายในแต่ละเดือน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ พวกนี้ก็ควรคาดหวังผลตอบแทนที่ 2-3% เหมาะกับกองทุนรวมพวก Money Market หรือตลาดเงิน ไม่ก็กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น
2️⃣เป้าหมายระยะกลาง - ลงทุนในหุ้นสามัญ อสังหาริมทัรพย์ ตราสารหนี้ระยะยาว อาจจะคาดหวังผลตอบแทน 4-7% ระยะเวลาในการลงทุนประมาณ 3-5 ปึ ซื้อรถ หรือดาวน์คอนโด/บ้าน
3️⃣เป้าหมายระยะยาว - ลงทุนในหุ้นสามัญ อสังหาริมทัรพย์ ตราสารหนี้ระยะยาว คาดหวังผลตอบแทนประมาณ 8-10% ระยะเวลาการลงทุนมากกว่า 5 ปี อาจจะเป็นผ่อนบ้าน เงินใช้หลังเกษียณ
📌Step 3: วางแผนการลงทุน
พอร์ตการลงทุน สามารถแบ่งออกเป็นสองแบบ
พอร์ตการลงทุนตามช่วงอายุ (ดูบทความเก่าได้ที่: https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/203198808364257 และ https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/224742926209845)
อีกพอร์ตที่จัดได้นอกจากตามอายุคือ พอร์ตการลงทุนตามระดับความเสี่ยง
วันนี้ขอยกตัวอย่างพอร์ตการลงทุนตามระดับความเสี่ยง โดยเราจะแบ่งเป็น เสี่ยงน้อย เสี่ยงกลาง และเสี่ยงมาก
1️⃣เสี่ยงน้อย จะเป็นพอร์ตการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่ไม่อยากสูญเสียเงินต้น รับความเสี่ยงได้ต่ำ ยอมขาดทุนได้ไม่เกิน 5%
ตัวอย่างพอร์ต - ตราสารหนี้ 30-40% ที่เหลือเป็น Money Market หรือจริงๆ เลือกกองที่เป็น Multi Asset Class หรือพวก Global Income ที่จะจัดพอร์ตมาให้เราแล้วก็ได้มาผสม เพราะกองพวกนี้น่าจะได้ที่ 4-5% แต่อาจจะให้น้ำหนักน้อยหน่อย
2️⃣เสี่ยงกลาง จะเป็นพอร์ตการลงทุนที่ยอมขาดทุนได้ 5-10% หรือไม่เกิน 15% เพื่อที่จะให้เกิดเสถียรภาพของรายได้
ตัวอย่างพอร์ต - ตราสารหนี้ 60-70% หุ้น 30-40%
3️⃣เสี่ยงสูง จะเป็นพอร์ตการลงทุนที่ยอมขาดทุนได้มากกว่า 10% โดยเพื่อที่จะต้องการให้เงินเติบโตงอกเงย
ตัวอย่างพอร์ต - หุ้น 60-80% หรือ 90% ก็ทำได้ ส่วนที่เหลืออาจจะเป็นสินทรัพย์ประเภทเสี่ยงต่ำ กลาง หรือเป็นทองคำก็ได้
📌Step 4: จัดพอร์ตตามเป้าหมายของเรา
เราควรจัดพอร์ตตามเป้าหมายของเรา เช่น เราต้องการดาวน์บ้าน ค่าเทอมลูก เกษียณอายุ หรือเงินฉุกเฉิน
นายรวยมาก แบ่งพอร์ตเป็นทั้งหมด 4 พอร์ต
Port 1: เงินสำรอง อาจจะเป็นพอร์ตความเสี่ยงน้อย เพราะระยะเวลาการลงทุนต่ำ
Port 2: เกษียณอายุ ใช้เวลาอีกหลายปี 20-35ปี ระยะเวลาการลงทุนนาน เลือกพอร์ตเสี่ยงสูง
Port 3: ดาวน์บ้าน อีก 5 ปี ก็ใช้พอร์ตเสี่ยงกลาง เพราะระยะเวลาการลงทุน 5 ปี
Port 4: ค่าเทอมลูก อีก 5 ปี อาจจะอยากมีลูกแล้ว ระยะเวลาการลงทุนไม่นานมาก เลือกพอร์ตเสี่ยงกลาง
การเลือกพอร์ตนั้น อาจจะคำนึงถึงระยะเวลาการลงทุนเป็นหลัก อย่างไรก็ดีเราต้องคำนวณด้วยว่า เราต้องการใช้เงินเท่าไหร่ในเป้าหมายของเรา แล้วเงินตั้งต้นลงทุนเท่าไหร่ จะมีการใส่เงินเพิ่มหรือไม่ แล้วการที่เราเลือกพอร์ตที่เสี่ยงแบบนั้น (ไม่ว่าสั้น-สูง) (ดูวิธีการคำนวณที่ https://www.facebook.com/DekFinance101/photos/216521447031993 )
ยกตัวอย่าง
นายรวยมากมีเงินสด 1.5 ล้านบาท ต้องการซื้อบ้านและมีลูกในระยะเวลาอีก 5 ปี ทั้งสิ้น แต่ด้วยอายุที่ 25 ปี ตั้งใจทำงานถึงอายุ 60 ปี มีเวลาทำงานทั้งสิ้น 35 ปี โดยนายรวยมากมีรายได้เดือนละ 50,000 บาท หรือ 600,000 บาทต่อปี
📍ขั้นตอนที่ 1 กำหนดเป้าหมายเงินที่ต้องการทำได้และเพื่ออะไร
นายรวยมาก จึงแบ่งพอร์ตออกมาเป็น 3 พอร์ต ตามเป้าหมาย
พอร์ตที่ 1 (สมมติ) ค่าเทอมลูก 40,000 บาท ต่อเทอม ปีหนึ่งประมาณ 80,000 บาท ถ้า 20 ปี จะใช้เงิน 1,600,000 บาท
พอร์ตที่ 2 ต้องการมีเงินดาวน์บ้าน 500,000 บาท
พอร์ตที่ 3 ต้องการมีเงินตอนเกษียณ 10,000,000 บาท
📍ขั้นตอนที่ 2 นายรวยมากแบ่งระยะเวลาการใช้เงิน
2.1 ต้องใช้เงินในระยะกลางคือ 3-5 ปี สำหรับดาวน์บ้านและมีลูก โดยค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ ค่าเทอมลูก 1,600,000 บาท และดาวน์บ้าน 500,000 บาท รวมเป็น 2,100,000 บาท
2.2 ส่วนระยะยาวมีเพียงการเกษียณ ที่อยากมีเงิน 10,000,000 บาท ซึ่งในนายรวยมากเองก็มีรายได้ราว 50,000 บาทต่อเดือน เป็นผู้เสียภาษี แต่นายรวยมากไม่มี Provident Fund หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัท ทำให้นายรวยมากเลยอยากซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี เพราะนอกจากจะช่วยลดย่อยภาษีแล้วยังต้องการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณอยุ่แล้ว โดยไม่ได้สนใจเรื่องสภาพคล่อง เนื่องจากมีเงินสดในมือเยอะ เพียงพอต่อเป้าหมายหลายอย่าง ทำให้นายรวยมากเลือกลดหย่อนภาษี 200,000 บาทต่อปี (สามารถซื้อเพิ่มได้) โดยเลือกลงใน RMF เพราะไม่ต้องการใช้เงินนี้ระหว่างทางอยู่แล้ว
(ความแตกต่างระหว่าง SSF/RMF: https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/275535151130622)
(ลงทุน SSF l RMF ดีอย่างไร: https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/270116368339167)
📍ขั้นตอนที่ 3 การแบ่งเงิน
เมื่อนายรวยมากรู้แล้ว ว่าระยะเวลาการลงทุนเป็นอย่างไรบ้าง รู้เป้าหมายเงินที่ต้องการ เขาก็ต้องมาคิดการจัดสรรเงินลงทุนที่มีอยู่โดยแบ่งดังนี้
3.1 แบ่งเงินเพื่อเงินสำรองก่อน โดยเงินสำรองต่อเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน 6-12 เดือน โดยเขาตั้งใจว่าค่าใช้จ่ายมีทั้งหมด 20,000 บาท ต่อเดือน หรือ 240,000 บาท ต่อปี โดยเพื่อตีกลมๆ นายรวยมากเลยกันเงิน 300,000 บาท ออกมา (จากเงินสดที่มีตอนนี้ 1.5 ล้านบาท) จะเหลือเงินทั้งหมด 1.2 ล้านบาท
3.2 ดูพอร์ตเกษียณ นายรวยมา ตัดสินใจพอร์ตที่ 3 คือลงทุนปีละ 200,000 บาทต่อปี เติมไปเรื่อยๆ หลังจากคำนวณแล้วเพียงพอทำให้มีเงิน 10 ล้านบาท อยู่แล้ว เหลือเฟือด้วยซ้ำ เลยกันเงินเพิ่มอีก 200,000 บาท (ตอนนี้เหลือ 1,000,000 บาท)
โพสต์เกษียณต้องมีเงินเท่าไหร่: https://www.facebook.com/DekFinance101/photos/230047945679343
3.3 เหลือเพียงพอร์ตดาวน์บ้าน และค่าเทอมลูก โดยตัดสินใจใส่เงินที่เหลือทั้งหมด 1,000,000 บาท คาหวังผลตอบแทน 5-6% เสี่ยงกลาง สำหรับในส่วนของพอร์ตนี้ โดยจะเติมพอร์ตนี้เรื่อยๆ เพราะนายรวยมากมีเงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท แต่มีค่าใช้จ่าย 20,000 บาทต่อเดือน เท่ากับว่าเหลือเก็บ 30,000 บาท ทำให้นายรวยมากสามารถมีเงินมาลงทุนได้ 360,000 บาท โดยตั้งใจลงทุนเพื่อเกษียณ 200,000 บาทต่อปี นายรวยมากจะมีเงินเหลือ 160,000 บาทต่อปี ซึ่งสามารถนำมาเติมพอร์ตดาวน์บ้านและค่าเทอมลูกได้ทุกปี **อย่างไรก็ดีหากเน้นเกษียณสามารถเลือดลดหย่อนเต็มได้ แต่ในเคสนี้คือมีความต้องการใช้เงินด้วยจึงไม่ได้ซื้อลดหย่อนเต็ม โดยเคสนี้เป็นการสมมติ ซึ่งนายรวยมากอาจจะเลือกที่จะซื้อประกันด้วย รวมถึงอื่นๆ**
(ดูตัวอย่างกองทุนลดหย่อน SSF: https://www.facebook.com/.../a11043831097.../278344300849707)
(ดูตัวอย่างกองทุนลดหย่อน RMF: https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/287377863279684)
📍ขั้นตอนที่ 4 เลือกลงทุนในพอร์ต
จากขั้นตอนที่ 3 คือเราต้องคำนวณมาแล้วต้องการผลตอบแทนเท่าไหร่ถึงพอ ฉะนั้นขั้นตอนที่ 4 เราก็รู้แล้วพอร์ตเราต้องเสี่ยงน้อย เสี่ยงกลาง หรือมาก
โดยสามารถคำนวณผลตอบแทนที่ต้องการได้ เพื่อที่จะได้ถึงตามเป้า ด้วยเงินลงทุนที่เราเลือกแล้วตอนขั้นตอนที่ 3 (https://www.facebook.com/DekFinance101/photos/216521447031993)
📍ขั้นตอนที่ 5 เลือกกองทุนเข้าพอร์ต [มีต่อด้านล่าง]
ก่อนจะเลือกกองทุนต้องมีแอปก่อนหรือเปิดบัญชี ดูที่เราเปรียบเทียบได้ที่ (https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/286728240011313)
วิธีการเลือกกองทุน เราสามารถใช้วิธี Core-Satellite ก็ได้ หรือแบ่งตาม Developed market/EM + Thematic (https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/202612155089589 หรือ https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/235422558475215)
จัดกลุ่มกองทุนทั้งหมดที่มี แบ่งประเภทให้เลือกลงทุนได้ง่าย: https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/296097419074395
ถ้าต้องการดูรวมโพสต์เริ่มต้นกองทุนรวมดูได้ที่ https://www.facebook.com/DekFinance101/photos/279359020748235
ถ้าต้องดูรวมโพสต์จัดพอร์ตกองทุนรวมดูได้ที่ https://www.facebook.com/DekFinance101/photos/279359027414901
เราเลือกกองทั้งหมดแล้ว สิ่งที่เราทำได้ คือลองหา Expected Return เราลองดูย้อนหลังผลตอบแทนต่อปีที่กองนั้นๆ ทำได้ เช่น สมมติเราเลือก B-BHARATA เราก็ต้องไปดูว่าผลตอบแทนต่อปีมันทำได้เท่าไหร่ แล้วมาคูณสัดส่วนที่คาดว่าจะถือ สมมติทำได้ 19% แล้วเราถือ 20% ของพอร์ต ก็เอา 20% x 19% = ? ทำแบบนี้กับหุ้นทุกตัว แล้วบวกรวมกัน เราจะได้ผลตอบแทนที่คาดหวังของพอร์ต
ตัวอย่าง สัดส่วนน้ำหนักกอง A x ผลตอบแทนกอง A = 5
สัดส่วนน้ำหนักกอง B x ผลตอบแทนกอง B = 3
สัดส่วนน้ำหนักกอง C x ผลตอบแทนกอง C = 2
ผลตอบแทนที่คาดหวังของพอร์ต = 5+3+2
ก็จะได้เท่ากับ 10
สรุป เราจะได้พอร์ตทั้งหมด 3 พอร์ต
พอร์ต 1-2 - 1,000,000 พอร์ตเสี่ยงกลาง ไว้สำหรับดาวน์บ้านและค่าเทอมลูก
พอร์ต 3 200,000 คือเงินสำหรับเกษียณ ลงทุนในกองลดหย่อน พอร์ตเสี่ยงสูง
และที่เหลือ 300,000 คือเงินสำรองฉุกเฉิน (พอร์ตเสี่ยงน้อย หรือเงินฝากไปเลย
สิ่งที่เราต่อจากนี้คือลองมารวมกันทั้งสามพอร์ตรวม 1,500,000 ตอนนี้พอร์ตเราแบ่งเงินลงสินทรัยพ์เสี่ยงสูงเท่าไหร่ เสี่ยงกลางเท่าไหร่ และเสี่ยงน้อยเท่าไหร่ เพราะแต่ละพอร์ตก็จะประกอบด้วยแต่ละสินทรัพย์ในพอร์ตนั้นๆ อีกทั้งเราควรจะหาผลตอบแทน Overall ทั้งหมดรวมกันทุกพอร์ตจะเป็นเท่าไหร่ ตามสัดส่วนเงินลงทุนตามด้านบน (1,000,000 + 200,000 + 300,000)
พิมพ์มาแบบนี้อาจจะไม่เห็นภาพ งั้นขอยกตัวอย่างเพิ่ม
1,000,000 ลงทุนในเสี่ยงกลาง ประกอบไปด้วย หุ้น 40% ตราสารหนี้ 60%
ก็เท่ากับหุ้นมีมูลค่า 400,000 และตราสารหนี้ 600,000
200,000 ลงทุนในกองทุนเสี่ยงสูง อาจจะหุ้น 90% ตราสารหนี้ 10% / ทองคำ
ก็เท่ากับมีหุ้น 180,000 (90% x 200,000) และตราหสารหนี้ 20,000 (10% x 200,000)
300,000 สำรอง ก็ลงใน Money market / เงินฝาก
Money market เท่ากับ 300,000 บาท
เพราะฉะนั้นนายรวยมากจะมี Overall Port (รวมทั้งสามพอร์ต)
จะประกอบไปด้วย
หุ้น 400,000 บาท (จากพอร์ตแรก) + หุ้น 180,000 บาท (จากพอร์ตสอง)
ตราสารหนี้ 600,000 บาท (จากพอร์ตแรก)+ ตราสารหนี้ 20,000 บาท (จากพอร์ตสอง)
ตลาดเงิน 300,000 บาท
เพราะฉะนั้นจะมีหุ้นทั้งหมด 580,000 บาท ตราสารหนี้ 620,000 บาท และตลาดเงิน 300,000 บาท
คิดเป็น หุ้น 39% ตราสารหนี้ 41% และตลาดเงิน 20%
แสดงว่า Overall Port ก็คงระดับเสี่ยงกลางคาดหวังผลตอบแทน 5% +/- เพราะก็ชัดเจนแหละ พอร์ตหลักอยู่ในตราสารหนี้หรือเสี่ยงกลางเยอะด้วยเงิน 1,000,000 บาท
วันนี้เพื่อนๆ จัดพอร์ตกันอย่างไรครับ?
หวังว่าโพสต์นี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ 😁
LINETODAY 👉https://today.line.me/th/v2/publisher/102405
โฆษณา