5 ม.ค. 2022 เวลา 07:36 • ท่องเที่ยว
ห้องศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พิพิธภัณฑ์ฯ พระนคร
ตั้งแต่ปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 .. สยามร้างศึกกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งกำลังประสบภัยจากการแสวงหาอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตก และส่งผลกระทบรุนแรงขึ้นในสมัยต่อมา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 .. ทรงตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ทางการทูต ทรงวางรากฐานในการยอมรับศิลปะวิทยาการแบบตะวันตก และเริ่มปรับปรุงประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าแบบอารยประเทศ
มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาชาติโดยทรงส่งราชทูตไปยังราชสำนักชาติมหาอำนาจตะวันตก และเปิดรับอารยธรรมตะวันตกมากขึ้นท่ามกลางกระแสลัทธิจักรวรรดินิยม รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนโบราณราชประเพณีบางอย่างเพื่อให้ชาวต่างเห็นว่าสยามเป็นประเทศที่มีอารยะ
ภาพด้านบน .. เหรียญที่ระลึกราชทูตไทย คือ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (แพ บุนนาค) หัวหน้าคณะราชทูติในพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส เข้าเฝ้าพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 และจักรพรรดินีเออเชนี ณ พระราชวังฟงแตนโบล เมื่อ พ.ศ. 2404 เพื่อถวายพระราชสาส์นและเครื่องมงคลบรรณาการ
รถไฟจำลองย่อส่วนจำนวน 5 ตู้ พร้อมรางที่สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2398 โดยหัวรถจักรมีตัวอักษร VICTORIA และสามารถเดินบนรางได้จริงด้วยแรงไอน้ำ เหมือนกับรถจักรไอน้ำที่ใช้ในประเทศอังกฤษ
เครื่องราชบรรณาการลูกโลกขนาดใหญ่ ที่ เชอร์ จอห์น เลาริ่ง ได้นำเข้ามา เมื่อคราวอัญเชิญพระราชสาส์นจากจากสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย มาเจริญพระราชไมตรีกับพระบาทสมเด็จพระจอมเหล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.2398
ปืนพระทรงสวัสดิ์ .. พระบาทสมเด็จพระจอมเหล้าเจ้าอยู่หัวทรงสั่งจากต่างประเทศ เป็นปืนขนาดเล็กตั้งบนแท่น บรรจุลูกกระสุนทางท้ายลำกล้อง ยิงลูกโดดทีละนัด ทรงใช้ในพระราชพิธีต่างๆที่ต้องมีการยิงปืน
แผ่นไม้จำหลักตราพระมหามงกุฎ ศิลปะรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 .. เป็นแผ่นไม้สำหรับประดับศษลากลางหัวเมือง
พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ในรัชกาลต่อๆมา มีคุณูปการในการนนำสยบามประเทศเข้าสู่สมัยใหม่ ขณะเดียวกันก็ธำรงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
ท่ามกลางกระแสลัทธิจักวรรดิ์นิยมของชาติมหาอำนาจตะวันตกที่รายล้อมสยามจากทุกด้าน .. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินพระราชวิเทโศบายด้วยการผ่อนปรน เพื่อรักษาความอยู่รอดของบ้านเมือง ทรงให้ความสำคัญในการเปิดรับอารยธรรมตะวันตก ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่าง เพื่อให้ชาวต่างชาติเห็นว่าไทยเป็นประเทศที่มีอารยะ เช่น การให้ขุนนางสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้าฯ ให้ทูตต่างชาติยืนเข้าเฝ้าฯในท้องพระโรงได้ ทรงทำสัญญาพระราชไมตรีกับประเทศตะวันตก มีการแลกเปลี่ยนหรือส่งเครื่องมงคลบรรณาการไปยังราชสำนักอังกฤษและฝรั่งเศส ทรงตั้งกงสุลฃสยามประจำต่างประเทศหลายแห่ง และยังทรงปรับปรุงกิจการทหารของประเทศให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 .. ทรงพัฒนาประเทศในทุกด้าน ทั้งการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การทหาร การสาธารณสุข และการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ เช่น การสร้างทางรถไฟ การขุดคลอง การสร้างระบบไฟฟ้า ระบบประปา โทรเลข ไปรษณีย์ และการจัดตั้งโรงพยาบาล ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญมากขึ้น
ภาพด้านบนที่น่าสนใจมาก ... ก็คือเครื่องมือที่ใช้ในพระราชพิธีวางไม้หมอนเส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งพลั่วตักดิน และรถเข็นดินที่ใช้ในการสร้างทางรถไฟสายแรกระหว่าง กรุงเทพ-นครรราชสีมา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2434 นั้นทำอย่างวิจิตรจากวัสดุมีค่า โดยเฉพาะพลั่วนั้นงดงามมาก
ประภาคารจำลอง .. พ่อค้าชาวอังกฤษในกรุงเทพฯ รวมเงินกันสร้างประภาคารจำลอง สร้างจากโลหะเงิน เพื่อมอบให้กับสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เนื่องในโอกาสที่ท่านอยุ 60 ปี เนื่องจากท่านเป็นผู้คิดและบริจาคเงินส่วนตัวเพื่อสร้างประภาคารตามมาตรฐานสากลดวงแรกของไทย ขึ้นที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
มาตราชั่ง ตวง วัด .. รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้กำหนดมาตรชั่ง ตวง วัดขึ้นใหม่ และมีการผลิตอุปกรณืให้เป็นแบบมาตรฐาน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 .. ทรงปฏิรูประบบการบริหารราการแผ่นดิน ทรงดำเนินพระราชวิเทโศบายเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจตะวันตก
ไฮไลต์ในห้องจัดแสดงศิลปะรัตนโกสินทร์ .. พระโธรน (Throne) หรือพระราชอาสน์พนักสูงเป็นไม้แกะสลักปิดทองซึ่งสร้างขึ้นเป็นองค์แรกเมื่อ พ.ศ.2416 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยทรงยกเลิกธรรมเนียมการหมอบเข้าเฝ้าฯ และให้ขุนนางยืนเข้าเฝ้าฯ ได้ตามธรรมเนียมตะวันตก
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 .. เป็นพระมหากษัตริย์ในประวัติศาสตร์สยามพระองค์แรกที่เสด็จประพาสต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์และชวาอินเดียและพม่า ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ทำให้ทรงได้พบเห็นแบบแผนวิธีปกครอง ตลอดจนการปรับปรุงบ้านเมืองในด้านต่างๆของอังกฤษและฮออลันดาที่ปกครองอยู่ และได้นำมาดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย
ต่อมาได้เสด็จประพาสยุโรป 2 คราว เพื่อทรงดำเนินพระราชวิเทโศบายเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆในยุโรป และศึกษาวิยาการต่างๆ นำมาปฏิรูปบ้านเมือง และประการสำคัญทรงมีพระราโชบายประกาศเลิกระบบทาสให้หมดจากสังคมไทย
ตราอาร์มแผ่นดิน .. รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้ผูกตราแผ่นดินขึ้นใหม่ ใน พ.ศ.2416 โดยมีรูปแบบการผูกลายตามแบบตราประจำตระกูลของชาวตะวันตก .. ตตราแผ่นดินที่เป็นอาร์มนี้ใช้จนถึงปี พ.ศ. 2453 จึงใช้ตราพระครุฑพ่าห์ เป็นตราแผ่นดินจวบจนปัจจุบัน
ในด้านของการเปลี่ยนแปลงทางงานศิลปกรรม ได้ปรากฏแนวคิดเสมือนจริงแบบตะวันตก ทั้งในงานประติมากรรมและจิตรกรรม ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นศิลปะร่วมสมัยในที่สุด
หัวโขนรามสูรย์ และภาพปักเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระลักษณ์รบกับอินทรชิต .. งานประณีตศิลป์ไทย ที่ได้รับการนำไปจัดแสดงนิทรรศการในศาลาไทย ณ มหกรรมแสดงสินค้าโลก ที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี่ สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2447
เมื่อสยามก้าวเข้าสู่ความทันสมัย .. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงริเริ่มและฝึกหัดความคิดในแนวทางประชาธิปไตย ซึ่งประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกใน พ.ศ. 2475 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จากนั้นราชอาณาจักรไทยจึงมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพนะมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
"พุทธศิลป์" ในสมัยรัตนโกสินทร์
พุทธศิลป์ในสมัยรัตนโกสินทร์ ... เริ่มมีลักษณะเด่นชัดตั้งแต่สมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 หลังจากฟื้นฟูบ้านเมืองจากศึกสงครามจนเริ่มกลับมามั่งคั่งร่ำรวยเป็นเมืองฟ้าอมรอีกครั้ง
"พระพุทธรูป ทรงจีวรลายดอก"
ได้รับแบบอย่างจากความนิยมถวายผ้าไตรจีวรลายดอกแด่พระสงฆ์ ซึ่งในจารึกวัดพระเชตุพลฯ กล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยมีบันทึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าผ้าดังกล่าวเป็นผ้าแพรอย่างดี มีราคาแพง เรียกว่า "ผ้าย่ามตะหนี่" ซึ่งมาจากภาษาเปอร์เซียว่า Jamdani ทอจากเมืองตักกะหรือบังคลาเทศ ในปัจจุบัน ค่านิยมการครองจีวรลายดอก มีมาจนถึงสมันรัชกาลที่ 5 จึงเลิก และหันมาครองจีวรเรียบอย่างในปัจจุบัน
"พระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิราช"
ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างแทนองค์กษัตริย์ในฐานะ "ธรรมราชา" องค์พระพุทธรูปทรงเครื่องขัตติยราชแบบกษัตริย์อย่างเต็มยศ เช่น สวมมงกุฎ มีกรรเจียกจอน ตกแต่งเครื่องถนิมพิมพาพร อาทิ กุณฑล พาหุรัด ข้อพระกร ธำมรงค์ สร้อยสังวาล ทับทรวง ปั้นเหน่ง สนับเพลา ชายไหว กำไลพระบาท รองพระบาท อย่างอลังการ
พุทธลักษณะของ "พระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิราช" ปรากฏอย่างชัดเจน เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ปางห้ามสมุทรขึ้น 2 พระองค์ และถวายพระนามว่า ‘พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก’ และ ‘พระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย’ และต่อมาได้มีการสร้างพระพุทธรูปลักษณะนี้อีกมากมายเพื่อแทนองค์กษัตริย์และพระราชวงศ์
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของพุทธศิลปกรรมเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากการจัดตั้ง “ธรรมยุติกนิกาย” โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งที่ยังทรงผนวช และดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
.. ในช่วงนั้นมีการสอบสวนถึงพระพุทธลักษณะของพระพุทธเจ้า ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และพบว่า พระพุทธองค์มีร่างกายคล้ายกับพระสาวกทั่วไป พระพุทธรูปที่สร้างตามพระราชนิยมในรัชกาลที่ 4 จึงมีพุทธลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์ทั่วไปมากขึ้นให้มีพุทธลักษณะเหมือนมนุษย์มากขึ้น แต่ก็ยังมีการสร้างพระพุทธรูปตามแบบประเพณีเดิมอยู่
พระพุทธรูปเขียนบนแผ่นกระจก .. สั่งเข้ามาเมื่อครั้งรัชกาลที่ 4 ยังทรงผนวช เดิมอยู่ที่วัดเขมาภิรตาราม เป็นจิตรกรรมที่วาดขึ้นตามพระราชนิยม
ฉากไม้ประดับมุกภาพพระรัตนตรัย .. แสดงภาพพระพุทธเจ้าประทานเทศนาแก่พระอสีติมกหาสาวกด ที่ฐานบัลลังก์ประดับอักษณขอม เป็นบทสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
พระสถูปเจดีย์ที่ทำจากถมปัด .. รัชกาลที่ 4 โปรดให้ทำตามแบบอย่างที่ทรงพระราชดำริ
ที่องค์ระฆังมีจิตรกรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ พระจคุปัฏฐาน ได้แก่ ตอนประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และเสด็จดีบขันธปรินิพพาน แสดงพุทธลักษณะเฉกเช่นมนุษย์ทั่วไป
ต่อมาในรัชกาลที่ 5-6 เมื่อมีการติดต่อกับต่างประเทศกว้างขวาง จึงเกิดกระแสการสร้างพระพุทธรูปให้มีพุทธลักษณะเหมือนมนุษย์มากขึ้น โดยการนำรูปแบบพระพุทธรูปศิลปะคันธาระของอินเดียมาเป็นแรงบันดาลใจ พระพุทธรูปไม่มีพระรัศมี และไม่มีขมวดพระเกศา แต่จะทรงเกล้าพระเมาลี ขณะเดียวกันก็ปรากฏความนิยมชมชอบพุทธลักษณะพุทธศิลป์ในอดีตของไทย มีการจำลองพระพุทธรูปในศิลปะไทยโบราณ อาทิ พระพุทธินราชจำลอง พระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร หรือหล่อพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรขนาดเล็กที่มีศิลปะล้านนา แบบที่เรียกว่า “พระสิงห์”
พระพุทธรูปประทับบนฐานบัว ..ในสมัย รัชกาลที่ 5-6 ปรากฏความนิยมพุทธศิลป์แบบเชียงแสน (พระสิงห์) ว่าเป็นพุทธศิลป์แบบสยามแท้ที่งดงาม จึงมีการหล่อจำลองขึ้นใหม่จำนวนมาก โดยมักจะมีขนาดเล็ก ประทับบนฐานที่มีประดับกลับบัวคว่ำ บัวหงายและเกสรบัว .. หากเป็นพระพุทธรูปนั่งจะขัดสมาธิเพชรหงายให้เห็ยฝ่าพระบาททั้งสองข้าง มีชายสบงเป็นเขี้ยวหยักโค้งที่หน้าพระชงฆ์ แต่ก็ยังมีลักษณะผสมผสานกับศิลปะสุโขทัยด้วย อาทิ พระรัศมีเปลงแหลมสูง สังฆาฏิแคบยาวจรดพระนาภีปลายแฉกเป็นเขี้ยวตะขาบ
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย .. เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) สร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัยถวายแก่วัดหลวงปรีชากูล ปราจีนบุรี ต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีมหาธาตุ กทม. .. ภายหลัง พันตรี ควง อภัยวงศ์ มอบให้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร
ยอดมงกุฎไม่ได้ทำเป็นเกี้ยวตามรูปแบบศิลปะไทย แต่เป็นลูกแก้วกลม คล้ายกับมงกุฎของพระพุทธรูปมารวิชัยทรงเครื่องที่วัดพนม กรุงพนมเปญ สอดคล้องกับประวัติของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ที่กราบบังคมทูลขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และอพยพครอบครัวจากเมืองพระตะบองมาตั้งถิ่นฐานภายในราชอาณาจักรไทย
พระพุทธรูปปางถวายเนตร ... พระพุทธรูปยืนประสานพระหัตถ์ พุทธลักษณะแสดงอิทธิพลศิลปะคันธาระของอินเดีย รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชดำรนิแบบอย่าง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ นายอัลฟอนโซ ทอร์นาเรลลี่ ช่างชาวอิตาเลียนปั้นขึ้นเป็นต้นแบบ โดยมีพระราชประสงค์จะสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ด้วยศิลาขาว สำหรับประดิษฐานเป็นอนิมิสเจดีย์ ณ สัตตมหาสถาน วัดเบญ๘มบพิตรดุสิตวนาราม แต่เสด๋จสวรรคตเสียก่อน
พระพุทธรูปปางขอฝน .. ศิลปะรัตนโฏสินทร์ รีชกาลที่ 6 สำหรับบูชาในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ และพระราชพิธีพืชมงคล เพื่ออำนวยให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พืชพรรณธัญญาหารสมบูรณ์
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร .. เมื่อมีการสร้างพระพุทธรูปสำคัญ มักจะผสมผสานพุทธศิลป์แบบสุโขทัยกับแนวความคิดสัจจนิยม ความสมจริงตามหลักกายวิภาค จนเกิดเป็นรูปแบบพุทธศิลป์ในรัชกาลที่ 9
ประติมากรรมต้นแบบ พระศรีศากยะทศพลญาณ
พระศรีศากยะทศพลญาณ.. พระพุทธรูปต้นแบบองค์นี้ สำหรับจัดแสดงในนิทรรศการฉลองพระพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ ณ ท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 12-18 พฤษภาคม 2500
แนวความคิดในการสร้างพระพุทธรูปต้นแบบนั้น ศาสตราจารย์ ศิลป์ ได้แรงบันดาลใจมาจากพระพุทธรูปอิริยาบถลีลา ศิลปะสุโขทัย ที่ได้รับการนิยามว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามตามอุดมคติ นำมาสร้างสรรค์ใหม่ด้วยเทคนิคและสุนทรียศาสตร์แบบตะวันตก .. พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านรูปลักษณ์ของพระพุทธปฏืมาแบบไทยประเพณี ไปสู่งานศิลปกรรมร่วมสมัย
พระพุทธรูปปางลีลา ต้นแบบพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่พุทธมณฑล ศาลายา นครปฐม .. ผลงานของศาสตรจารย์ ศิลป์ พีรัศรี ซึ่งปั้นสำหรับนิทรรศการฉลองพระพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ ณ ท้องสนามหลวงในปี พ.ศ. 2510
พระพุทธรูปประทานพร (พระพุทธรูป ภ.ป.ร)
พระพุทธรูปหงายฝ่าพระหัตถ์ขวาบนพระชานุในอิริยาบถประทานพร พุทธลักษณะแสดงถึงอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยในการปรับแก้พุทธลักษณะ และเสด็จพระราชดำเนินในพิธีหล่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2508
*******************
เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลกกับพี่สุ … รวม link บทความที่เขียนในเพจ ..
***เมืองไทย ไดอารี่ by Supawan
***Supawan’s colorful world
***สถานีอร่อย by Supawan
โฆษณา