6 ม.ค. 2022 เวลา 10:50 • ข่าว
สรุป หมูแพง เพราะอะไร จะแก้ยังไง ?
เครดิตภาพ : https://www.naewna.com/likesara/506204
ตลอดช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2565 ประเด็นเรื่องหมูแพง เป็นที่พูดถึงข้ามปี วันนี้แอดมินจะมี เล่าย้อน และอัพเดทให้เพื่อนๆฟังแบบครบถ้วนไปเลยว่า สรุปแล้ว ข้อมูลจากผู้หน่วยงาน รัฐ เอกชน และเกษตรกร แต่ละภาคส่วนว่า เขาพูดสอดคล้องกันอย่างไรบ้าง
ก่อนที่หน่วยงานต่างๆ จะไฟล้นก้น ออกมาตรการ ส่งข่าว ป่าวประกาศว่ากำลังแก้ปัญหาอยู่นะ ประเด็นมันเริ่มมาจากในต่างจังหวัด ภาคต่างๆ ทั้งอีสาน เหนือ และภาคกลาง นักข่าวในพื้นที่ ส่งข่าวมา “เนื้อหมู” ช่วงสิ้นปี พบว่า ราคาหมูเนื้อแดง ราคาอยู่ที่ประมาณ 200 บาท และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 220 บาท ซึ่งเดิมที่ราคาที่ควรจะหาซื้อได้ในช่วงปกติ จะอยู่ที่ประมาณ 120-130 บาทต่อกิโลกรัม
จากนั้นด้วยความที่ปัญหาดันมาเกิดในวันหยุดยาว ทำให้ แม้ข่าวจะเล่นทุกวัน ทุกวัน ความเดือดร้อนจากแทบทุกจังหวัด กระทบไปถึง ร้านอาหารหมูกระทะ บุฟเฟต์ หมูย่างเมืองตรัง พากันพาเหรดปรับขึ้นราคาตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ทำให้หน่วยงานแอ็คชั่นได้อย่างทันถ่วงที เพิ่งออกมาตราการเป็นชุดๆ ช่วงเปิดปีใหม่ แต่ก่อนที่จะเล่าถึงมาตการต่างๆที่ออกมาเพื่อลดผลกระทบเรื่องราคาหมู จะขอเล่าถึง ที่มา ที่ไป ของต้นตอที่ทำให้ราคาหมูมันแพงขึ้นแบบนี้
“ต้นตอหมูแพง 2 สาเหตุหลักๆ”
1.โรคระบาดทำหมูตาย เท่ากับสินค้า เหลือน้อยลง แต่ความต้องการในช่วงปีใหม่เพิ่มมากขึ้น จากการกลับมาเปิดเมือง โดยสาเหตุของโรคระบาด ก็ยังมีความไม่ชัดอยู่บ้าง เพราะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ยืนกร้านว่า เป็นโรคที่ชื่อว่า โรคเพิร์ส หรือ PRRS เป็นโรคระบาดในหมูชนิดระบาดทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์ แต่โรคนี้มันมีวัคซีนมียา แต่ คนเลี้ยงหมูบอกว่า มันน่าจะเป็น “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever : ASF)” เป็นโรคไวรัสที่ติดต่อร้ายแรงในสุกรที่แพร่กระจาย ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก เพราะหมูไทยที่ตายไปเยอะๆน่าจะเป็นโรคนี้ แต่รัฐบาลไม่ยอมรับความจริง เพราะถ้าประกาศว่าเราเป็นโรคนี้ จะมีปัญหากับการส่งออก
2.ต้นทุนอาหารสัตว์ ที่แพงขึ้นตามราคาตลาดโลก , ต้นทุนลูกหมูที่แพงขึ้น เพราะแม่พันธุ์ตาย ทำให้ลูกหมูแพงขึ้นถึง 4,000บาทต่อตัวจากเดิม 2,000 บาท (ลูกหมู1ตัว นน.16กก.) , ต้นทุนค่าเลี้ยงดูหมูป้องกันโรคระบาดอีก 300-500 บาทต่อตัว ทำให้เกษตรกรรายเล็กๆ ต้องเจ๊ง ออกไปจากระบบจำนวนหนึ่ง
นั่นหมายความว่า พอมีผู้เลี้ยงออกไปจากระบบ มีหมูให้ขายน้อยลง ความต้องการกลับมา ทำให้ราคาหมูมีราคาแพงขึ้น ที่นี้ เท่ากับว่า คนที่ยังอยูในอุตสาหกรรมก็จะได้กำไร ซึ่งข้อมูลจาก คุณนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยในรายการเจาะลึกทั่วไทย ว่า คนเลี้ยงหมูทั้งประเทศมีอยู่ 2 แสนราย กว่า 170,000 ราย เป็นรายเล็ก รายย่อย และได้ผลกระทบ ไม่สามารถส่งออกหมูได้แล้ว ส่วนที่เหลือ 30,000 ราย ก็ถือเป็นรายใหญ่ ที่มีศักยภาพในการส่งออก และดูแลระบบการป้องกันโรคได้ดีกว่า ทำให้เสียหายหมูน้อยกว่า
ส่วนตัวเลขหมูที่หายไปในระบบปี 2565 กรมปศุสัตว์ คาดการณ์ว่าปี 2565 จะมีสุกรหายไปจากระบบ 5 ล้านตัวสำหรับการบริโภค เหลือประมาณ 13 ล้านตัว จาก 19 ล้านตัว ส่วนในปี 2564 มีการเลี้ยงสุกรป้อนเข้าสู่ตลาด ประมาณ 19 ล้านตัว บริโภคในประเทศ 18 ล้านตัว ส่งออกไปต่างประเทศประมาณ 1 ล้านตัว
“สิ่งที่เกษตรกรและผู้เลี้ยงหมูต้องการ”
-คุณนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยในรายการเจาะลึกทั่วไทย ว่า การแก้ปัญหาที่เร็วที่สุด ขอให้ภาครัฐสนับสนุนการวิจัย คิดค้นวัคซีน “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร”
-จ่ายเงินเยียวยา 70 % ของหมูที่ตาย เพราะโรคระบาด ตามพรบ.โรคระบาดสัตว์ 2558 ให้กับเกษตรกร เพราะที่ผ่านมาไม่เคยได้รับเงินชดเชยเลย
-หาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้ผู้เลี้ยงหมูได้ลงทุนเลี้ยงหมูอีกครั้ง
-ส่วนมาตรการที่รัฐบาลห้ามนำเข้าหมู มองว่าไม่ช่วยอะไร เพราะทุกวันนี้ไม่มีหมูส่งออกอยู่แล้ว
“มาตรการที่รัฐบาลออก”
1 ม.ค.65
“เริ่มจากกระทรวงพาณิชย์ ขยายเวลา หมูธงฟ้า 15 วัน จากเดิมสิ้นสุดสิ้นปี 64 เป็นต่อเวลาหมูธงฟ้า อีก 15 วัน หมดช่วงกลางเดือนมกราคม 2565 แต่การขอความร่วมมือให้ร้านค้าปลีกต่างๆ ตรึงราคาขายเนื้อหมูในราคา 139-145 บาท/กก. แต่จากที่รู้ๆกัน การออกโครงการ หมูธงฟ้า ต้องไปซื้อจุดขายที่มีรถโมบายของรัฐบาลไปจอดไปถึง ซึ่งถือเป็นแค่1ในชุดมาตรการที่ออกมาแบบเร็วๆ และต้องยอมรับว่าไม่ได้เข้าถึงทุกกลุ่ม เพราะราคาหมูในตลาดสดก็ยังคงสูงอยู่”
5 ม.ค.65
-กระทรวงพาณิชย์ ห้ามส่งออกสุกรมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2565 -5 เมษายน 2565 และจะพิจารณาตามสถานการณ์ว่าควรให้มีการต่ออายุหรือไม่ คาดช่วยให้มีหมูเป็นกลับเข้าสู่ระบบเพิ่มเติมประมาณ 1 ล้านตัว ( คหสต. ถ้าหมูส่งออกแค่ 1 ล้านตัว อาจจะไม่ช่วยเรื่องราคา ปรับสมดุลดีมานด์-ซัพพายได้มากหรือเปล่า ? )
-กระทรวงพาณิชย์ สั่งผู้เลี้ยงที่มีปริมาณการเลี้ยงเกิน 500 ตัว ผู้ค้าส่งที่มีปริมาณเกิน 500 ตัว ห้องเย็นที่มีการเก็บสต๊อกเกิน5,000 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องแจ้งสต๊อกให้กรมการค้าภายในรับทราบ รวมทั้งแจ้งราคา ในทุก 7 วัน เริ่มวันที่ 10 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
-กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยแก้ 3 ระยะ ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว (ระยะสั้น คือ หยุดส่งออกตามที่กระทรวงพาณิชย์ สั่ง) ระยะกลาง-ยาวนั้น กรมปศุสัตว์จะเริ่มส่งเสริมเกษตรกรรายเล็กและรายย่อยเดิม ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม โดยขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการขนาดใหญ่ให้ผลิตลูกหมูเพิ่ม เพื่อส่งให้เกษตรกรรายเล็กและรายย่อยเลี้ยง โดยจะใช้เงินทุนจากธนาคารธ.ก.ส.มาสนับสนุน เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการดำเนินการ โดยคาดว่าภายใน 4 เดือน จำนวนสุกรขุนจะเพิ่มขึ้น และราคาจะปรับเข้าสู่ภาวะปกติ
-กระทรวงเกษตรฯ ยังเตรียมหารือมาตรการลดต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์จากต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และส่งเสริมการปลูกข้าวโพดมาเป็นพืชอาหารสัตว์ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ประเทศไทยมีความต้องการใช้ถึงปีละ 8 ล้านตัน แต่มีกำลังการผลิตเพียง 4 ล้านตัน/ต่อปี
-สั่งกรมปศุสัตว์เร่งเตรียมการสำรวจพื้นที่ที่มีความเหมาะสม และมีความเสี่ยงจากโรคระบาด เพื่อกำหนดเป็นพื้นที่ในการผลักดัน “ปศุสัตว์ Sandbox” หรือเขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ ส่งเสริมการนำเข้า การผลิต–ส่งออกสินค้าปศุสัตว์ ตามโยบายของนายกรัฐมนตรีโดยด่วน
-มาตรการระยะยาว ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกพืชอื่น แล้วส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทดแทนการนำเข้า หรือส่งเสริมการผลิตข้าวโพดในฤดูแล้งให้มากขึ้นการยกระดับมาตรการปรับปรุงระบบ Biosecurity ในการเลี้ยงสุกรให้เป็น GAP หรือ GFM ซึ่งจะป้องกันโรคได้ดีขึ้น
“ส่วนพรุ่งนี้ จะมีการประชุม พิกบอร์ดแบบออนไลน์ ร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอีกรอบ น่าติดตามว่า มาตรการทั้งหมด ทั้งหมดนี้ จะนำไปปฏิบัติใช้ได้มากน้อยเพียงใด รวมถึงข้อเสนอของเอกชน จะได้รับการตอบรับมากน้อยแค่ไหน ? “
อัพเดท : 09.31น. 7ม.ค.65 ได้รับรายงานว่าประชุมพิกบอร์ด ไม่มีการจัดให้ใช้มาตรการเบื้องต้นที่ออกมาก่อนหน้านี้ก่อน และประเมินสถานการณ์ราคาร่วมด้วย
โฆษณา