8 ม.ค. 2022 เวลา 13:12 • หนังสือ
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้ทันที
ต้องเลือกเรื่องที่สนใจ แล้วอ่านเรื่องนั้นก่อน
วันนี้ผมจะมาสรุปและรีวิวหนังสือ
‘เทคนิคการอ่านให้เอามาใช้งานได้เลย’
ใน 15 ข้อครับ
1
หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณไดโกะ
แปลโดยคุณธาลินี โพธิ์อุบล
1
1 อ่านหน้าปก สารบัญ และลองคิดดูว่าหนังสือเล่มนี้จะว่าไว้อย่างไร
ยิ่งแตกต่างจากที่คิดมากเท่าไหร่ ยิ่งจำได้เท่านั้น
2 ตั้งเป้าหมายว่าจะอ่านเล่มนี้ไปทำไม
3 หลังจากตั้งเป้าหมายแล้ว ให้ไปอ่านบทที่เราสนใจก่อน
หากบทที่เหลือเรารู้ดีอยู่แล้วก็ข้ามได้
(เป็นเทคนิคที่ทำให้คุณไดโกะอ่านได้เยอะและเร็วครับ)
แต่จริงๆคุณไดโกะก็บอกว่า หากไม่เชี่ยวชาญก็ต้องอ่านทั้งหมดครับ
แต่ให้เริ่มจากบทที่สนใจก่อน
4 ระหว่างอ่านให้หา ‘คำหลัก’ หรือ 'ตำสำคัญ' ในส่วนนั้น
ทำให้เห็นภาพโดยการรวบรวมเขียนเป็น Mind map
1
5 อ่านแล้วให้เชื่อมโยงกับหนังสือหรือสิ่งที่เคยอ่าน
เชื่อมโยงกับประสบการณ์ของตนเอง เช่น เราผ่านเรื่องนี้ในอดีตมาอย่างไร
เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
หากทำตาม 1 ใน 3 อย่างนี้จะจำเนื้อหาที่อ่านได้ดีขึ้น
4
6 อ่านแบบจับประเด็น
โดยอ่านและนำมาสรุปเป็นภาษาของตนเอง
ไม่ใช่การลอกแต่ละเรื่องจากสารบัญมา
ตัวอย่าง
เล่มนี้มีบทที่ชื่อว่า เรื่องหลอกลวงเกี่ยวกับการอ่าน
เรื่องในบทนี้คือ หลอกให้ ‘อ่านเร็ว’
หากผมจะจับประเด็นจะได้
สิ่งสำคัญกว่าการอ่านเร็วคือคุณภาพในการอ่าน
อ่านแบบสกิมมิงหรืออ่านแบบผ่านๆ
เพื่อเลือกหัวข้อที่เราสนใจจะอ่าน
จะทำให้อ่านได้รวดเร็วมากขึ้น
7 นำข้อ 6 มาจดใส่กระดาษ หรือบันทึกไว้
เพราะมันจะเก็บความรู้สึกขณะอ่าน ความรู้สึกรู้ในสิ่งใหม่ ดีใจ แปลกใจ
อารมณ์และความรู้สึดเหล่านี้จะทำให้จำได้ดีขึ้น
8 ตั้งคำถามก่อนอ่าน ว่าอ่านไปทำไม หัวใจหลักของเล่มนี้คืออะไร
เมื่อเราตั้งคำถามไว้ก่อนอ่าน แล้วหาคำตอบจากการหาในหนังสือ
จะทำให้เราจำเนื้อหาแม่น และนำไปใช้ต่อได้ทันทีครับ
9 มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยลียง ประเทศฝรั่งเศส
ได้ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการนอนหลับและความจำ
โดยพบว่า เมื่อมีการอ่าน นอนพักกึ่งกลางและตื่นมาอ่านต่อ
จะจำได้ดีกว่าการอ่านรวดเดียวจบ
แนะนำว่า ควรอ่านหัวใจสำคัญของเรื่องก่อนหลับ
และตื่นมาทบทวนอีกทีเพื่อการจำที่แม่นยำมากขึ้น
1
10 หากเราไม่สามารถนอนได้ แต่หลับตาลง 6 – 8 นาที
ก็ช่วยให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 10% ครับ
11 อ่านศัพท์เทคนิคและจำให้ดี เวลานำไปอธิบาย
ทั้งการพูดและการเขียน จะทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้น
12 แต่เมื่อเวลาโน้มน้าวผู้อื่นให้ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย
มีอารมณ์ร่วมและนึกถึงประโยน์ของผู้อื่นเป็นหลัก
13 เดวิด โอกิลวี บิดาแห่งการโฆษณาสมัยใหม่
ได้ทดลองพูดย้ำเรื่องสำคัญ 2-3 ครั้ง
สามารถโน้มน้าวอีกฝ่ายได้มากถึง 46 %
โดยเทคนิคคือเปลี่ยนคำพูดสำคัญ ในทุกครั้งที่เน้นย้ำ
แต่ความหมายยังคงเดิม
เช่น ห้ามพลาด=ควรอ่าน=คนส่วนใหญ่แนะนำ
14 เน้นการอ่านหนังสือคลาสสิกที่เป็นแก่นของเรื่องนั้น
และอัพเดตเรื่องราวใหม่ๆ
เช่น หมวดจิตวิทยาสังคม ควรอ่าน กลยุทธ์โน้มน้าวและจูงใจคน
หมวดอคติควรอ่าน Thinking fast and slow เป็นต้น
15 จะอ่านเร็วได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นๆของเรา
หากเรายังไม่มีพื้นฐาน ค่อยๆอ่านทำความเข้าใจจะดีกว่าครับ
ความรู้สึกหลังอ่าน
ต้องบอกว่าถูกใจปกนี้มากครับ ดูเท่ ภาพสวยแถมพื้นหลังยังเป็นชั้นหนังสือ
ถ้าผมมีเขียนหนังสือแล้วได้รูปหน้าปกแบบนี้จะดีมากเลยครับ
ปกชอบสุดในสำนักพิมพ์นี้เลยครับ
สำหรับเนื้อหา เล่มนี้ถือว่าผมได้อะไรใหม่ๆพอสมควรเลยครับ
ได้รู้ว่าควรอ่านอย่างไรให้จำได้
พร้อมมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยมากมายรองรับ
แต่ที่รู้แน่ๆคือ การที่คุณไดโกะอ่านหนังสือได้วันละ 10-20 เล่ม
เกิดจากการที่มีความรู้พื้นฐานที่หลากหลาย รอบด้าน
อ่านแต่ละเล่มเลือกเรื่องที่จะอ่าน
เลือกเรื่องที่สนใจ จากนั้นก็อ่านแต่บทนั้น
ที่ผมคิดว่านำมาใช้ได้จริงในตอนที่ยังไม่มีพื้นฐาน
สามารถใช้ได้ทุกเทคนิคในเล่มยกเว้นการอ่านสิ่งที่รู้อยู่แล้วครับ
ผมจะมาแยกแต่ละเทคนิคในโพสถัดๆไป
ใครสนใจพิมพ์ ‘สนใจ’ ไว้ได้เลยครับ
หรืออยากอ่านเล่มเต็มเลย
เพื่อที่จะนำเทคนิคเล่มนี้ไปใช้งานทันที
ทำให้นำเสนอดีขึ้น อ่านเล่มไหนก็จำได้ นำไปใช้ได้ทันทีที่ต้องการ
ก็ทัก Inbox เพจที่ m.me/YAKSARUP
เพื่อสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ได้เลยครับ
เล่มที่ 2/2565
จำนวนหน้า 179 หน้า
สำนักพิมพ์ Amarin HOW-TO
1
ขอบคุณสำหรับการรับชมครับ
โฆษณา