13 ม.ค. 2022 เวลา 03:12 • ประวัติศาสตร์
ครั้งหนึ่ง เงินเฟ้อของชาวเยอรมัน เคยกลายเป็นกระดาษยิ่งกว่าเวเนซุเอลา
เปิดศักราช 2022 มา ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ข้าวของต่างก็ขึ้นราคากันเป็นแถบ เรามีเงินเท่าเดิมแต่ซื้อสินค้าได้น้อยลงนี้แหละ ที่เขาเรียกกันว่า “เงินเฟ้อ”
รู้ไหม มหาอำนาจแห่งสงครามโลกอย่าง ‘ไวมาร์’ หรือ ‘เยอรมณี’ ในปัจจุบัน เมื่อ 100 ปีก่อนเคยประสบปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งมันเป็นจุดเริ่มต้นอำนาจหายนะของ ‘ฮิตเลอร์’ และมันโหดร้ายยิ่งกว่าเวเนซุเอลาในปัจจุบันเสียอีก
ย้อนไปในศตวรรษที่ 19 ช่วงปี 1801-1900 สิ่งที่ถูกใช้แลกเปลี่ยนสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่เคยมีมาคือ ‘ทองคำ’
1
‘ทองคำ’ คือแร่โลหะที่ยากต่อการบุบสลาย มีจำนวนจำกัดบนโลก ยากแก่การผลิตจำนวนมาก เพื่อนำมาทำลายราคาในตลาด แถมมันยังเป็นที่ต้องการ จึงทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้นอยู่ตลอด อย่างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มันมีมูลค่าเพียงไม่กี่ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ปัจจุบันมันมีมูลค่ามากกว่า 1,800 ดอลลาร์ต่ออนซ์ เข้าไปแล้ว
1
ทองคำจึงถูกใช้เป็นแบ็คอัพทางการเงินของหลายๆ ประเทศ กล่าวคือ จะพิมพ์เงินออกมาใช้แต่ละครั้ง ต้องมีทองคำจำนวนเท่านั้นเท่านี้ เพื่ออ้างอิงมูลค่าของเงินตามสกุลของแต่ละประเทศ
การเป็นแบ็คอัพของสกุลเงินนี้แหละ ที่ถูกเรียกว่า ‘Gold Standard’ หรือ ‘มาตรฐานทองคำ’
‘ระบบมาตรฐานทองคำ’ มีความรุ่งเรืองอย่างมากในการใช้งาน แต่ความรุ่งเรืองก็ต้องมาสิ้นสุดลง หลังจากเหล่ามหาอำนาจในยุโรป แข่งขันกันล่าอาณานิคมในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
มหาอำนาจหลักที่เราคุ้นชื่อกันดีในประวัติศาสตร์การล่าดินแดน คือ อังกฤษ ฝรั่งเศษ ซึ่งไวมาร์(เยอรมณี) เอง ก็เคยออกล่าเพื่อเทียบเคียงบารมีกับมหาอำนาจต่างๆ จนเกิดการกระทบกระทั่งกันอยู่บ่อยๆ
1
มาถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเริ่มเปิดฉากกันในปี 1914 แน่นอนว่าสงครามจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลในการซื้อยุทโธปกรณ์มาต่อกรกับศัตรู
รู้ไหมว่าเวลานั้นไวมาร์ยกเลิกการใช้ ‘มาตรฐานทองคำ’ เพื่อพิมพ์เงินออกมาใช้จ่ายในการสงคราม และมันตามมาด้วยผลกระทบอันใหญ่หลวง นั่นคือ การก่อนค่าของสกุลเงิน ‘มาร์ก’
1
หลังจากที่สงครามเปิดสังเวียนเต็มรูปแบบ เม็ดเงินส่วนใหญ่เทเข้าหาอาวุทยุทโธปกรณ์ ส่งผลให้ทรัพยากรทุกอย่างเริ่มขาดแคลน ข้าวของแพงขึ้น เงินจำนวนเท่าเดิมแต่ซื้อสินค้าได้น้อยลง ชาวไวมาร์ต้องใช้จ่ายกันอย่างประหยัด และเก็บเงินไว้เพื่ออนาคตที่กำลังมืดมน
เมื่อไม่มีการจับจ่ายใช้สอย เศรษฐกิจก็ฝืดเคือง มีเงินหมุนเวียนในระบบน้อยมาก จนรัฐบาลต้องพิมพ์เงินแล้วพิมพ์เงินอีก เพื่อพยุงให้เศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้
ผลของการสู้รบคือชีวิตของผู้คน ที่ล้มหายไปกว่า 40 ล้านคน และจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของมหาอำนาจกลางในปี 1918
ฝ่ายสัมพันธมิตรฉลองชัยชนะกันที่ปารีส และร่างสนธิสัญญาสันติภาพขึ้นโดยที่ตนได้เปรียบ แถมไม่เชิญฝ่ายไวมาร์เข้าร่วม ที่พระราชวังแวร์ซาย ซึ่งมันเป็นที่มาของชื่อ ‘สนธิสัญญาแวร์ซาย’
สนธิสัญญาร่างให้ไวมาร์ถูกปลดอาวุธ ริบดินแดน และต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นทองคำมูลค่า 226,000 ล้านมาร์ก
ก่อนที่จะถูกลดลงเหลือ 132,000 ล้านมาร์ก หรือประมาณ 31,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 1921
100 ปีก่อน ทองคำจำนวนนี้ ถือเป็นมูลค่าอภิมหาศาล สหรัฐฯที่เคยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร ก็คัดค้านข้อได้เปรียบดังกล่าว และถอนตัวออกจากสนธิสัญญา เพราะมองว่ามันไม่ช่วยให้เกิดสันติภาพ แต่จะก่อให้เกิดสงครามขึ้นอีกรอบต่างหาก
การถูกบีบบังคับให้ลงนามสนธิสัญญา พร้อมกับหนี้ค่าปฏิกรรมสงคราม นับเป็นฝันร้ายและความอัปยศอดสูของชาวไวมาร์
แต่มันก็ต้องยอมแลกเพื่อความสงบ เงินที่ชาวไวมาร์อดออมไว้ถูกนำมาใช้ ทำให้ระบบการเงินของประเทศเริ่มหมุนเวียนอีกครั้ง
ทว่าความบอบช้ำจากสงคราม มาพร้อมกับหนี้สินมหาศาล ทำให้รัฐบาลไวมาร์หลังชนฝา ต้องพิมพ์เงินซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อใช้พยุงเศรษฐกิจ และหนี้สงคราม
รู้ไหม ค่าเงินไวมาร์เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ? เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ปี 1919 เงิน 1 ดอลลาร์ เท่ากับ 48 มาร์ก
ต้นปี 1921 เงิน 1 ดอลลาร์ เท่ากับ 90 มาร์ก
ปลายปี 1921 เงิน 1 ดอลลาร์ เท่ากับ 330 มาร์ก
ปลายปี 1922 เงิน 1 ดอลลาร์ เท่ากับ 7,400 มาร์ก
รัฐบาลไวมาร์พิมพ์เงินแล้วพิมพ์เงินเล่าก็จริง แต่มันก็เป็นเพียงมูลค่าน้อยนิดในการใช้หนี้สงคราม เพราะค่าเงินลดลงอยู่ตลอด เมื่อสกุลเงินไม่มีความน่าเชื่อถือ รัฐบาลไวมาร์ต้องจ่ายหนี้ด้วย ผลผลิตทางการเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา เหล็กหล้า หรือแม้แต่ถ่านหิน
ในปี 1922 สกุลเงินมาร์กอ่อนค่ารุนแรง จนรัฐบาลไวมาร์ผิดนัดจ่ายหนี้ ฝรั่งเศษโกรธกับเรื่องนี้มาก จึงเข้ายึดเขตอุตสาหกรรม Ruhr ทางตะวันตกของไวมาร์
เมื่อไวมาร์หลังชนฝา ต้องพิมพ์เงินออกมาซ้ำแล้วซ้ำอีก รู้ไหม พฤษจิกายน ปี 1923 ชาวไวมาร์ต้องใช้เงิน 4,210,500,000,000 มาร์ก ถึงจะแลกเงิน 1 ดอลลาร์ได้
มีเรื่องเล่าว่า “เด็กคนนึง ต้องขนเงินเป็นรถเข็น เพื่อมาซื้อขนมปัง 1 ชิ้น เด็กคนนั้นเผลอแวะดูของแป้บเดียว กลับมาเงินยังอยู่ แต่รถเข็นหายไปแล้ว”
เงินกลายเป็นเศษกระดาษยิ่งกว่า เวเนซุเอลาในปัจจุบัน
ความเลวร้ายยังเคยถูกบันทึกว่า ขนมปัง 1 ก้อน ต้องใช้เงินแลก 3 พันล้านมาร์ก เงินผันผวนรุนแรงขึ้นแทบทุกวัน อย่างบางคนจะซื้อข้าวกิน ต้องขนเงินไปเป็นรถเข็น แต่พอถึงหน้าร้าน ต้องกลับไปเอาเงินเพิ่มเป็นรถเข็นอีกคัน
รัฐบาลไวมาร์และธนาคารกลางยังไม่หยุดพิมพ์เงิน แต่พิมพ์เท่าไหร่ มูลค่าก็ลดลง ทำให้ต้องพิมพ์ให้ทันก่อนที่มันจะหมดมูลค่าจริงๆ ซึ่งรู้ไหม ว่าธนบัตรมาร์กเคยมีหน้าเดียว ในปี 1923
เงินเฟ้อวิปโยคเริ่มบรรเทาลง หลังการจากไปของประธานธนาคารกลางไวมาร์ ช่วงสิ้นปี 1923 และถูกแทนที่ด้วย Hjalmar Schacht กับการแก้ปัญหาด้วยสกุลเงินใหม่เป็น ‘เรทเทนมาร์ก’
ไวมาร์มีความคิดที่จะกลับมาใช้ระบบมาตรฐานทองคำ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ในทันที เพราะทองคำของพวกเขาถูกใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม จึงมีไม่เพียงพอ รัฐบาลเลยผูก ‘เรนเทมาร์ก’ ไว้กับที่ดิน เพื่อควบคุมปริมาณ และให้ชาวไวมาร์นำเงิน 1 ล้านล้านมาร์กมาแลก 1 เรทเทนมาร์ก
แต่ท้ายที่สุด ความวิปโยคก็ไม่ได้สิ้นสุดลงเสียทีเดียว เพราะความเชื่อมั่นในระบบสาธารณรัฐและประชาธิปไตยของชาวไวมาร์เสื่อมถอย จนเป็นช่องโหว่ให้พรรคนาซีเยอรมัน เข้ายึดอำนาจทางการเมืองไว้ได้ในที่สุด
1
และพรรคนาซีก็ขายฝันให้กับชาวไวมาร์โดยอ้างว่า จะพาประเทศกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
แต่ฝันก็สลาย เพราะพรรคนาซีเลือกที่จะสร้างอำนาจด้วยการเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นหายนะที่มนุษยชาติไม่อาจลืมเลือน..ไปได้เลย
1
ติดตามเทคฮีโร เพิ่มเติมได้ที่..
โฆษณา