14 ม.ค. 2022 เวลา 09:24 • สุขภาพ
- “ซิโนแวค” เปิดผลทดสอบ ผู้ฉีด 3 เข็ม มีภูมิกัน “โอมิครอน” 95% -
1) ซิโนแวค ไบโอเทค เปิดเผยผลการทดสอบที่พบว่า 95% ของบุคคลที่ได้รับการฉีดวัคซีน CoronaVac® (ซิโนแวค) ในจำนวน 3 โดส มีภูมิคุ้มกันชนิดลบล้างฤทธิ์ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ผลการทดสอบนี้ได้เผยแพร่บน bioRxiv จัดทำขึ้นในประเทศจีนโดยตรวจการตอบสนองของภูมิคุ้มกันจาก CoronaVac® ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายที่ยับยั้งไวรัสด้วยสาร b-propiolactone ในผู้เข้ารับการทดลองจำนวน 120 คน [1]
2) ผลการทดลองสนับสนุนแบบแผนการใช้วัคซีน 3 โดส เนื่องจากระดับการเกิดสารต้านทานในภูมิคุ้มกันชนิดลบล้างฤทธิ์ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นจาก 3.3% (2/60) เป็น 95% (57/60) เมื่อใช้วัคซีน 2 และ 3 โดสตามลำดับ
1
3) ในกลุ่มผู้เข้ารับการทดลองที่รับวัคซีนจำนวน 3 โดส ผู้วิจัยได้แยก 323 แอนติบอดีที่สร้างจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ออกแบบมาให้มีความจำเพาะต่อความต้องการโมโนโคลนอลจาก memory B cells ซึ่งครึ่งหนึ่งตอบสนองกับตำแหน่งโปรตีนที่ทำหน้าที่ในการจับตัวรับบนผิวเซลล์ และแสดงว่ามีส่วนย่อยที่สร้างภูมิคุ้มกันชนิดลบล้างฤทธิ์ไวรัส SARS-CoV-2 ในสายพันธุ์ที่น่ากังวล (VOCs)
4) องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดว่าสายพันธุ์ที่น่ากังวลคือสายพันธุ์ที่มี “การเพิ่มขึ้นของอัตราการติดต่อ หรือการเปลี่ยนแปลงในด้านอันตรายของวิทยาการระบาด ความรุนแรงที่เร่งขึ้นของการแพร่ระบาด หรือการเปลี่ยนแปลงทางคลินิกของเชื้อโรค หรือการเสื่อมถอยของประสิทธิผลของการสาธารณสุขและมาตรการทางสังคม หรือมีการวินิจฉัย วัคซีน กับการรักษา” [2]
5) เพียร์ซัน ลิว ตัวแทนของซิโนแวค กล่าวว่า “การศึกษานี้ทำให้มั่นใจมากขึ้นในการใช้วัคซีนเชื้อตายซึ่งเป็นวัคซีนที่แพร่หลายทั่วโลกว่ายังคงมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะที่โลกกำลังต่อสู้กับสายพันธุ์ใหม่ๆของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้น ผลการศึกษาสนับสนุนฉีดวัคซีนประเภทนี้ 3 โดสเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้ดียิ่งขึ้น การศึกษานี้สอดคล้องกับคำแนะนำของ WHO และหน่วยงานด้านสาธารณสุขทั่วโลกสำหรับวัคซีนโควิด-19 ทุกชนิด”
6) ข้อมูลล่าสุดนี้มาพร้อมกับผลการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้ที่พบว่า หลังจากการฉีดเข็มที่สองเป็นเวลา 1 เดือน วัคซีน CoronaVac® สามารถกระตุ้นการตอบสนองของ T cell เพิ่มขึ้นได้มาก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการป่วยรุนแรง การต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล และการเสียชีวิตเมื่อเทียบกับวัคซีนชนิด mRNA [3] ผลการศึกษานี้ซึ่งได้รับการเผยแพร่ในเดือนธันว่าคม 2564 จัดทำโดยคณะแพทยศาสตร์ Li Ka Shing มหาวิทยาลัยฮ่องกง และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง
ติดตามข่าวอื่นๆ ได้ที่ positioningmag.com
โฆษณา