14 ม.ค. 2022 เวลา 15:38 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

เรารู้จักไวรัสตอนไหน

เดินทางมาถึงวันศุกร์กันแล้ว วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันค่ะว่านักวิทยาศาสตร์ค้นพบไวรัสได้ตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ🧪🧫🧬
ต้องขอเกริ่นก่อนนะคะว่าในอดีตในช่วงสงครามได้เกิดการระบาดของโรคชนิดหนึ่งที่มีผลทำให้ผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก โรคระบาดดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ฝ่ามือฝ่าเท้าดำ โรคนี้จึงถูกเรียกว่า Black Death นั้นเอง โรคนี้ได้มีการแพร่ระบาดจากการขนส่งทาสผ่านทางเรือในช่วงสงคราม ด้วยสุขอนามัยบนเรือนั้นไม่ได้มีการดูแลมากจึงทำให้เกิดและแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว
การระบาดนี้ก็ไม่ได้เป็นจุดที่ทำให้รู้ว่าจักกับเชื้อไวรัสนะคะ เพียงแต่เบนซ์จะบอกว่าโรคระบาดที่เกิดจากเชื้อไวรัสเนี่ยมีมานานมากแล้ว นานมากๆขนาดนี้แต่ก็ยังไม่มีวิธีที่จะต่อสู้กับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพเลย🥺
เอาล่ะ จะเข้าเรื่องการค้นพบไวรัสจริงๆละ เรามาดูข้อสันนิฐานเเละการทดลองของนักวิทยาศาสตร์แต่ละท่านกันดีกว่าค่ะ มาเริ่มที่คนแรกกัน เมื่อปี 1886 Adolf Eduard Mayer นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้พบว่ามีโรคใบด่างเกิดขึ้นในพืชยาสูบ อาการของโรคก็ตามชื่อ คือทำให้เกิดอาการใบด่าง 🌱นักวิทยาศาสตร์ท่านนี้ก็ได้ตั้งข้อสมมติฐานว่าน่าจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในพืช เขาพยายามนำใบยาสูบที่เป็นโรคสกัดนำเอา liquid extract ออกมา แล้วนำไปพ่นให้กับใบยาสูบที่ไม่เป็นโรคและได้พบว่าใบยาสูบเหล่านั้นเกิดโรค
Adolf Eduard Mayer ขอบคุณภาพจาก https://adolphs.weebly.com/blog/adolf-mayer-chemistry-of-tobacco
ใบยาสูบที่เกิดโรค ขอบคุณภาพจาก https://adolphs.weebly.com/blog/adolf-mayer-chemistry-of-tobacco
ต่อมาเมื่อปี 1892 ได้มีนักวิทยาศาสตร์อีกท่านหนึ่ง คือ Dmitri Ivanovski ได้ทำการพิสูจน์ต่อโดยการทดลองเช่นเดียวกับ Adolf Eduard Mayer แตกต่างกันตรงที่ว่าก่อนที่จะพ่นลงใบยาสูบที่ไม่ได้เป็นโรค เขาได้ทำการนำ liquid extract มาผ่านตัวกรองสำหรับกรองเอแบคทีเรียแล้วจึงนำไปพ่นให้กับใบยาสูบ ผลการทดลองก็คือ ใบยาสูบเหล่านั้นเป็นโรคอยู่ ดังนั้น Aldof คิดผิด🙅 เพราะหากมันเกิดจากเชื้อแบคทีเรียจริง liquid extract ที่ผ่านตัวกรองแล้ว ต้องไม่ทำให้พืชยาสูบที่ใช้ทดสอบเกิดโรค
Dmitry Iosifovich Ivanovsky ขอบคุณภาพจาก https://commons.m.wikimedia.org/wiki/File:Dmitry_Iosifovich_Ivanovsky.jpg
Dmitri ยังบอกอีกว่า สิ่งที่ทำให้เกิดโรคต้องเป็นสิ่งที่เล็กกว่าแบคทีเรีย เขาคิดว่ามันอาจจะเป็น toxin จนกระทั่งผ่านมาถึงปี 1898 Martinus Beijerinck ได้มีการทดการทดลองเช่นเดียวกับ Dmitri แต่มีการเพิ่มขั้นตอน คือ เขาได้นำต้นใบยาสูบที่ผ่านการถูกพ่นด้วย liquid extract ที่ผ่านการกรองเชื้อแบคทีเรียแล้ว
มาสกัดต่อแล้วก็กรองอีกครั้ง เมื่อทำการพ่นให้กับต้นใบยาสูบที่ปกติปรากฏกว่า ยังคงเกิดโรคใบด่างอยู่ เขาจึงคิดว่าสิ่งที่ทำให้เกิดโรคนั้นไม่ใช่ toxin อย่างแน่นอน เพราะมันควรหายไปตั้งนานแล้ว ไม่น่าจะก่อโรคต่อได้อีก และมันจะต้องมีขนาดที่เล็กกว่าแบคทีเรียและต้องสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างแน่นอน
Martinus Beijerinck ขอบคุณภาพจาก https://sawadee.wiki/wiki/Martinus_Beijerinck
ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นทำให้ได้ทราบว่า ไวรัสนั้นคือ Tobacco Mosaic Virus (TMV) มีลักษณะเป็นท่อนตรง ขนาดประมาณ 300 นาโมเมตร เจ้าตัวนี้แหละที่ทำให้เกิดโรคใบด่างและเป็นไวรัสในพืชตัวแรกที่ถูกค้นพบ ซึ่งการศึกษาไวรัสจะสามารถศึกษาได้ผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเท่านั้นค่ะ🔬 จะไม่ได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ธรรมดาในการส่องได้
ภาพ TMV virus ใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ขอบคุณภาพจาก https://www.researchgate.net/figure/Tobacco-mosaic-virus-infection-Left-Leaf-of-a-healthy-tobacco-plant-Nicotiana-tabacum_fig1_301645739
ส่วนไวรัสในสัตว์นั้นค้นพบครั้งแรกในวัว เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเท้าปากเปื่อยในสัตว์ ส่งผลรุนแรงต่อเศรษฐกิจในยุคนั้นมากและยังสามารถก่อโรคในคนได้แต่ไม่รุนแรงค่ะ
นี่ก็เป็นประวัติคร่าวๆ ของการค้นพบไวรัส หวังจะไม่ยาวเกินไป และน่าจะได้รับความรู้กันนะคะ ไว้คราวหน้าเบนซ์จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับไวรัสอีกหรือไม่ มารอติดตามกันนะคะ สวัสดีค่ะ😁
โฆษณา