15 ม.ค. 2022 เวลา 11:32 • การตลาด
การต่อต้านไม่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในมุมมองการตลาดที่ดูว่าล้มเหลวในการดำเนินการ
ข่าวคราวเรื่องนี้มีต้นทางมาจากกรณีกลุ่มงานนโยบายสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการประกาศแสดงจุดยืนในการไม่ส่งตัวแทนร่วมรับเสด็จฯสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เนื่องในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จนกลายมาเป็นประเด็นวิพากวิจารณ์อย่างหนักถึงการลบหลู่พระเกียรติ
ก่อนที่จะเข้าไปอ่านเนื้อหา “ยุคใหม่ฯ” ต้องขอแจ้งก่อนนะครับว่าอาจจะไม่ถูกใจทั้งฝ่ายที่ต่อต้านในการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรและฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เพราะจะนำเสนอในแง่มุมมองด้านการตลาด
1
เพื่อชี้ให้เห็นถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการตลาดแบบเข้าใจได้ง่าย ๆ ก็คือ การสร้างความต้องการ การกระตุ้นให้เกิดความต้องการ ส่วนการขายก็คือการทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อ การขายจึงเป็นส่วนหนึ่งของการตลาด เพราะการจะตัดสินใจซื้อต้องเกิดความต้องการก่อนนั่นเอง
Credit:  Hue Marketing
อีกเรื่องหนึ่งที่จะชี้ให้เห็นถึงแกนของการเป็นประชาธิปไตย ที่มีอยู่ 2 เรื่องที่สำคัญก็คือ “การรักษาสิทธิ์ตนเองและการไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น” เสียงส่วนมากหากไปละเมิดสิทธิก็ไม่ถือว่าเป็นประชาธิปไตย
2
การจะเข้ารับพระราชทานปริญญาหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องที่เป็นข้อบังคับมาตั้งแต่ยุคไหนสมัยไหนแล้ว คนที่ไม่อยากรับด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม สามารถแจ้งว่าไม่ขอเข้าร่วมพิธีนี้ได้ ในยุคสมัยที่ “ยุคใหม่ฯ” มีโอกาสรับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก็มีเพื่อนบางคนไม่เข้าร่วมพิธีนี้ด้วย
3
จะรับเข้ารับปริญญาหรือไม่นั้น ที่ผ่านมาไม่ได้เกี่ยวกับว่าเป็นเรื่องของศักดินาเลยสักนิด แต่หากน้อง ๆรุ่นปัจจุบันจะคิดเช่นนั้นก็ไม่ผิด เพราะทุกคนมีสิทธิคิดต่างโดยชอบธรรมอยู่แล้ว
การที่คนรุ่นก่อนไม่คิดว่าเป็นเรื่องของศักดินานั่นเพราะว่า การรับปริญญาเมื่อเรียนจบโดยเฉพาะได้มีโอกาสรับกับเชื้อพระวงศ์ เป็นเครื่องหมายของความสำเร็จในก้าวแรกของชีวิต ที่เป็นการรวบรวมเหล่าบรรดาญาติพี่น้องผองเพื่อน ที่มาร่วมแสดงความยินดีในการฝ่าพันจนมาถึงจุดหมายแรกได้ต่างหาก
2
หรือแม้แต่การรับปริญญาในสถาบันของเอกชน ก็ไม่ได้มีความหมายต่างจากนี้เลย ลองคิดดูว่าถ้าหากสตีฟ จ๊อปส์ (สมมุติว่ายังไม่ตาย) มาเป็นประธานมอบปริญญาบัตรให้กับนักศึกษาจบใหม่ในปีนั้น หากเป็นเราจะเข้าร่วมหรือไม่ แล้วยังเป็นการรวมญาติที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่กี่ครั้งในชีวิต
1
Credit  Student Assembly
ส่วนน้อง ๆและผู้สนับสนุนที่มองเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องของศักดินาบรรดาศักดิ์ ก็ไม่ผิดอะไรทุกคนมีสิทธิ์คิด มีสิทธิ์ที่จะไม่เข้าร่วมมีสิทธิ์ที่จะไม่ให้ความร่วมมือ
กรณีที่มองว่าเป็นพิธีกรรมศักดินาก็เป็นเรื่องจริง เพราะใครจะให้ผู้ที่ไม่ได้รับการยอมรับมาเป็นองค์ประธานมองปริญญา ความจริงในโลกนี้ล้วนแล้วแต่มีบรรดาศักดิ์ทั้งสิ้นแบบปฏิเสธไม่ได้เลย จะเป็นประเทศมหาอำนาจฝั่งประชาธิปไตย หรือฝั่งคอมมิวนิสต์ยังไงก็หนีไม่พ้นเรื่องนี้
ประธานบริษัทต้องมารับประทานอาหารกับคนงานหรือไม่ เพราะคนเหมือนกันทำไมต้องได้สิทธิพิเศษ หรืออาจารย์ที่ออกมาต่อต้าน ปฏิเสธได้หรือไม่ว่าห้องน้ำที่ใช้ก็แยกจากของนักศึกษา ที่จอดรถก็ต้องเว้นไว้ให้ต่างหาก
2
คิดยังไงก็ไม่ผิด แต่สำคัญที่ว่าสิ่งที่คิดแล้วมันทำให้เกิดประโยชน์กับเราหรือไม่ ต่อต้านไม่เห็นด้วยก็ทำไปครับ แสดงออกในส่วนที่ตนเองมีสิทธิ ที่สำคัญต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นด้วย แต่เท่าที่เห็นในภาพข่าวมีการแสดงออกถึงการละเมิดสิทธิคนที่อยากเข้าไปร่วมพิธีนี้ชัดเจน
2
Credit: Teal School
ในทางการตลาดการใช้ความก้าวร้าว ไม่มีแกนของจุดประสงค์ที่ชัดเจนมากกว่าความสะใจ ไปบังคับให้ผู้อื่นทำตาม เป็นการถอนความเชื่อมั่นกับบุคคลอื่น แล้วหากไม่ได้สร้างความเชื่อถือไว้กับบุคคลอื่นด้วยแล้ว การกระทำจะติดลบและกลายเป็นถูกกระแสตีกลับ อย่างที่เราเห็นในหน้าข่าวในหลายเรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
สุดท้ายแล้วก็จะแพ้ภัยตัวเอง อยากจะให้บรรลุเป้าหมาย ต้องชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การกระทำแบบนี้จะทำให้เกิดอะไรที่เป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ โดยให้เขาเข้าร่วมด้วยความเต็มใจ
ใบปริญญาบัตรมันไม่ได้มีค่าอะไรเลยถ้าเราไม่ให้ค่ามัน สิ่งที่เราเรียนรู้มาต่างหากคือคุณค่าที่แท้จริง เรียนมาก็ 4 ปีจนจบมาได้ ก็ถือว่าเป็นผู้ประสบความสำเร็จที่ฝ่าพันระยะเวลานั้นมาได้แล้ว
1
ที่มา ประสบความสำเร็จ
ลองใช้วิธีที่ไม่ไปละเมิดสิทธิ์ผู้อื่นดูนะครับ บางทีเรื่องที่ต่อต้านในวันนี้อนาคตอาจจะเป็นเรื่องมีผู้คนยกย่องก็ได้ใครจะไปรู้
แต่ตอนนี้หากฝ่ายต่อต้านการรับปริญญายังทำแบบนี้อยู่ มองไม่เห็นโอกาสเลยว่าจะมีแนวร่วมเพิ่มได้ แต่มองเป็นตรงกันข้ามมากกว่า
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
โฆษณา