16 ม.ค. 2022 เวลา 11:56 • คริปโทเคอร์เรนซี
Axelar Network ผู้นำด้าน Cross-chain ที่น่าจับตามองในปี 2022
Axelar Network คืออะไร
สวัสดีทุกคนครับ ผมมาเริ่มปี 2022 นี้ด้วยการทำ Blog ความรู้เรื่องคริปโตเคอเรนซี่กันครับ และเทรนด์ที่ผมจับตามองในปีนี้คือ Cross-chain นั่นเองครับ
การ Cross-Chain เป็นวิธีการแก้ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้คือ Interoperability ครับ เนื่องจากนักพัฒนาในอดีต เน้นพัฒนา Product ที่เป็น Core ของบล๊อกเชนก็คือ Layer 1 หรือ ที่เรารู้จักกันเช่น Binance smart chain, Solana, Ethereum เหล่านี้ ซึ่งมันก็พึ่งมาเติบโตปังๆอย่างมากในปี 2020-2021 นี่เองครับ และความสำเร็จของพวกเขาก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีกับวงการครับ หากเพียงแต่เราจะเริ่มเจอกับปัญหาเหล่านี้ครับ
1. มีหลากหลายเชนที่ผู้ใช้งานต้องการใช้ แต่ไม่สามารถโอนสินทรัพย์ข้ามไปมาได้ เนื่องจากแต่ละบล๊อกเชน เหมือนคนละประเทศกัน ใช้ภาษา(เขียนโปรแกรม) ที่ต่างกัน
2.ผู้สร้าง dApps ก็ต้องการเปิดให้บริการบนหลากหลายบล๊อกเชน เช่นเป็น Decentralize exchange แต่ไม่สามารถให้บริการแลกเหรียญจากบล๊อกเชนหนึ่งไปอีกบล๊อกเชนได้ ทั้งๆที่เปิดให้บริการอยู่ทั้ง 2 บล๊อกเชน
หรือนึกภาพอีกอย่างคือ หากให้กู้ไว้ที่ Ethereum บน dApp อย่าง Aave แต่อยากยืมเงินจาก Aave บน Avalanche เพื่อนำใช้ ก็ไม่สามรถทำได้ ต้องกู้ที่ Ethereum แล้วโอนมา
โดยปัญหานี้ เดิมมีสิ่งที่เรียกว่า Bridge ซึ่งเป็นบริการในการส่งสินทรัพย์ข้ามเชนอยู่ แต่บริการเหล่านี้ยังไม่สามารถให้บริการกับ dApp ได้ และยังมีปัญหาเรื่อง Centralization หรือการพึ่งพาตัวกลางอีกด้วย ทำให้ถ้าตัวกลางหยุดทำงาน หรือ Maintenance ก็จบ ใช้งานไม่ได้
จึงเกิดความพยายามในการสร้าง Blockchain ที่คุยกันได้ โดยมีภาษากลางเดียวกัน โดยโปรเจคเหบ่านั้น ที่เคยได้ยินเช่น Polkadot, Cosmos
โดยทั้ง 2 โปรเจคนี้พยายามจะสร้างมาตรฐานในการให้บริการระหว่างบล๊อกเชนครับ เพื่อให้เกิดภาวะ Multichain ที่ทำงานแต่อย่างที่ถนัดและทำร่วมกันได้ เช่น Privacy, NFT, Metaverse (เหตุผลที่ต้องแยกกันเพราะ ลองดู Eth สิครับ ที่หลายๆอย่างปนอยู่ด้วยกัน ค่าแกสเป็นไง และยังมีปัญหาอีกมากมายเช่นการขนาดขนาดบล๊อกเชนอีก)
แต่อย่างไรก็ตามปัญหาคือ ผู้อยากใช้งานบน Cosmos หรือ Polkadot ก็ต้องไปเริ่มใหม่บนบล๊อกเชนของคนอื่น ไม่ได้แบกความสำเร็จที่ตนทำไว้แล้วไปด้วย แล้วแบบจะมีคนอยากย้ายไปได้ยังไง
หรือก็มีอีกวิธีคือทำ Bridge ระหว่าง Cosmos, Polkadot ซึ่งก็จะต้องใช้ระยะเวลาพัฒนา ค่อนข้างมาก
จึงเกิดเป็น Solution ประเภท Plug-n-Play อย่าง Axelar ขึ้นมาครับ
Plug-N-Play เป็นคำศัพท์ทางเทค แปลว่าพร้อมใช้งาน
โดย Axelar จะมีความสามารถทำให้บล๊อกเชนเดิมที่มีอยู่แล้วเช่น Ethereum, Solana แค่นำ Module ของ Axelar ไปเชื่อมกับระบบก็สามารถสร้าง Interoperability ได้เลย คล้ายกับ Cosmos หรือ Polkadot เพียงแต่สร้างจากรากฐานบล๊อกเชนเดิมที่มีอยู่แล้ว
ไม่เพียงแค่นั้น Axelar ยังสามารถทำงานในระดับของ dApps โดยสามารถทำให้ dApps สามารถควบคุมดูแลได้จากทุกบล๊อกเชน การโอนย้ายสินทรัพย์จะสามารถสื้อสารข้ามกันได้ผ่าน Axelar API
กลไกหลักๆ ของการทำงานขั้นพื้นฐานของ Axelar ที่ทำให้มันทรงพลังอย่างที่กล่าวมามี 2 กลไก คือ
1. Cross-Chain Gateway Protocol ทำหน้าที่ทำให้เกิด ภาษากลาง ที่ทำให้ Blockchain สื่อสารกันเองได้โดยไม่ต้องพึ่งตัวกลาง
2.Cross-Chain Gateway Protocol ทำหน้าที่ให้ dApps ที่อยู่คนละบล๊อกเชน สามารถเรียกใช้งาน Service ที่อยู่คนละบล๊อกเชนได้ โดยทั้ง 2 ฝั่งให้ Axelar ประสานงานให้ จะสามารถส่งคำสั่งจาก dApps ข้ามทั้งบล๊อกเชน และข้าม dApps ก็ยังได้ (เจ๋งมากๆ)
โดย Axelar นั้นเป็น อีก blockchain หนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ Cross-Chain โดยเฉพาะ
การทำงานของ Axelar
ส่วนประกอบของ Axelar Network มีอะไรบ้าง ?
ส่วนประกอบหลักของเครือข่าย Axelar Network นั้นจะอยู่ภายใต้โปรโตคอล Decentralized โดยประกอบไปด้วย
1.Threshold Bridge Account
ในการติดต่อสื่อสารกับ Blockchain ต่างๆได้นั้น Axelar ต้องการ Threshold Bridge Account ที่สร้างขึ้นบนเเต่ละ Blockchain เพื่อที่จะควบคุมข้อมูลที่ต้องการรับ และส่งข้อมูลระหว่างกัน
2. Validators
ผู้ขับเคลื่อนการทำงานของเครือข่ายโดยทำหน้าที่รักษาเครือข่ายและให้บริการ Node เพื่อสร้างความปลอดภัยให้ระบบ โดยกลุ่มคนเหล่านี้จะถูกเลือกโดยระบบ Delegate Proof of Stake
โดยในเครือข่าย Axelar Network นั้น Validators จะใช้ Byzantine Fault Tolerance (BFT) ที่เป็นการเเก้ไขปัญหาในกรณีที่มีธุรกรรมบางอย่างซึ่งในที่นี้คือการยืนยันการสื่อสารข้าม Blockchain เเล้วมี Validators บางคนที่ทำงานผิดพลาดหรือพยายามที่โกงผลการยืนยันธุรกรรมนั้น โดย BFT นั้นใช้หลักการว่า ทุก Validators จะร่วมกันยืนยันธุรกรรม เเละส่งผลการยืนยันของตัวเองกระจายไปยังทุกคนใน Network เเละเมื่อธุรกรรมนั้นได้รับการยืนยันจาก Validators ต่างๆมากพอ ธุรกรรมนั้นจะได้รับการร่วมกันยืนยันว่าถูกต้อง
อีกหนึ่งกลไกที่ Validators ใช้คือ Threshold Signature ซึ่งใช้ในการยืนยันธุรกรรมต่างๆเเทนผู้ใช้งาน โดยใช้หลักการเเบ่ง Threshold Key ไปหลายๆ Validators เพื่อเป็นการนำกลไก Threshold Key รวมกับการถ่วงน้ำหนักของ Consensus เนื่องจาก Threshold Key นั้นมองทุกคนเท่าเทียมกันเเละไม่มีความรู้เรื่องการถ่วงน้ำหนักของ Consensus
ด้วยระบบโมเดล Delegated Proof-of-Stake (DPoS) เเละ Threshold Signature ที่ Axelar ใช้ มีกลไกการแจกจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้ใช้อย่างเหมาะสม เนื่องจากต้องการให้มี Validators ปริมาณมากอยู้กับระบบในการรักษา Bridges และความกระจายศูนย์ อีกทั้งยังป้องกันการสมรู้ร่วมคิดกันเพื่อเเก้ไขธุรกรรมในอดีตหรือขโมยเงินของผู้ใช้งานอื่นได้ ซึ่งมีการตั้งค่า Consensus ไว้ถึง 90% แปลว่า Validators นั้นต้องเห็นพ้องต้องกันมากกว่า 90% จึงจะสามารถยืนยันธุรกรรมได้ โดยสิ่งที่ Validator ต้องทำคือรัน Software แบบ Light-Client เพื่อยืนยัน Blockchain Status และแจ้ง Status ต่างๆนั้นไปยัง Axelar Network เพื่อทำการบันทึก
Axelar Network ทำงานอย่างไร ?
การทำงานของ Axelar Network นั้นเริ่มจากเมื่อผู้ใช้ต้องการที่จะทำธุรกรรมในการโอนสินทรัพย์จาก Blockchain A ไปที่ Blockchain B ผ่าน Dapp ของ Blockchain A จะมีการส่งคำร้องขอในการโอนไปยัง Threshold Bridge Account ซึ่งจะทำการเรียกใช้ CTP โดยเหล่านักพัฒนา Dapp นั้นต้องทำการสร้าง Contracts บน Blockchain A ก่อน จากนั้นต้องทำการอ้างอิง Threshold Bridge Account เพื่อให้ได้มาซึ่งการรองรับระบบสื่อสารการข้ามเชน
ผู้ใช้งานส่งคำร้องการโอนไปยัง Threshold Bridge Account ซึ่งจะส่งคำร้องนี้ต่อไปยัง Axelar Network ตามลำดับ จากนั้น Validators ของ Axelar ที่ได้รับการกระจาย Threshold Key ในรอบนั้นจะรวบรวมคำร้องขอและสร้าง Address การฝากใหม่ไปยัง Axelar Network ซึ่ง Token ที่ผู้ใช้งานส่งมาจะไปยัง Address ใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ผ่านระบบธุรกรรมของ Blockchain A ต่อมา Validators จะทำการ Query ข้อมูลจาก API ของ Software Node บน Blockchain A เพื่อบันทึกธุรกรรมที่เกิดขึ้นบน Axelar
โดย Validators ที่ได้รับการกระจาย Threshold Key นั้นต้องร่วมกันทำการยืนยันธุรกรรม ซึ่งการยืนยันนั้น ต้องมาจากค่าถ่วงน้ำหนัก ( มีค่าตั้งเเต่ (0,1] ) ซึ่งจะเป็น Parameter ในการโหวตของ Validators นั้นๆ เเละค่าถ่วงน้ำหนักของ Validators ทั้งหมดต้องรวมกันได้ 1 เเละการยืนยันธุรกรรมนั้นต้องรวมค่าถ่วงน้ำหนักของ Validators ที่ร่วมกันยืนยันธุรกรรม ให้ได้มากกว่า 90% ของ Validators ที่ได้รับ Threshold Key ในรอบนั้นๆ
เเละเมื่อ Validators สามารถยืนยันธุรกรรมได้ถูกต้องเเล้ว ก็จะร่วมทำการเซ็นต์ธุรกรรมของสินทรัพย์นั้นไปยัง Address B เเละส่งธุรกรรมมาที่ Blockchain B เพื่อแจ้งให้ Blockchain B รับทราบ โดยธุรกรรมนั้นจะถือว่าเสร็จสิ้นก็ต่อเมื่อ Blockchain B ประมวลผลเรียบร้อย
SCB10X ก็มา
Do Kwon ก็มี
ผู้สนับสนุนของ Axelar มีแต่ใหญ่ๆ แสดงให้เห็นว่า ผู้คนต่างมองเห็นความเป็นไปได้ใน Axelar
Partner ที่พร้อมให้บริการระหว่าง Blockchain ที่พร้อมมาร่วมกับ Axelar
บทสรุป
จะเห็นได้ว่า Axelar เป็นโปรเคที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับปี 2022 Axelar จะเข้ามาปลดล๊อคความสามารถของการใช้งาน Blockchain และ dApps ต่างๆ ซึ่งจะเป็นกุญแจของโลก Decentralize Finance และ metaverse ให้พัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น
โฆษณา