17 ม.ค. 2022 เวลา 06:11 • หุ้น & เศรษฐกิจ
BREAKING !! : สวนทางโลก ! ล่าสุดธนาคารกลางจีนประกาศลดดอกเบี้ยมาตรฐานลงเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี ! พร้อมอัดฉีดเงินทุนระยะกลาง 3.15 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ทำให้โลกอึ้งโดยการประกาศ GDP ปี 2021 ออกมาโตถึง 8.1% ซึ่งอยู่เหนือคาดการณ์ทั้งหมด
2
ถือเป็นที่น่าจับตามองอย่างมากสำหรับเศรษฐกิจของจีนในปีนี้ ! หลังจากที่ล่าสุดธนาคารกลางของจีนได้ออกมาประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลง 0.1% เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี ! ซึ่งเป็นนโยบายที่สวนทางกับกระแสโลกอีกครั้ง ขณะที่การประกาศตัวเลข GDP ของปี 2021 ก็ทำให้ทั่วโลกอึ้งเนื่องจากขยายตัวสูงถึง 8.1% มากกว่าเป้าหมายของรัฐบาลจีนที่ 6% เสียอีก (นอกจากนี้ตัวเลขส่งออกยังพุ่งทำ All Time High ใหม่ด้วย)
โดยดอกเบี้ยเงินกู้ระยะเวลา 1 ปีถูกปรับลงจาก 2.95% เป็น 2.85% (ปรับลงครั้งแรกตั้งแต่เดือนเมษายน 2020) พร้อมกับปรับลดอัตราดอกเบี้ยขายคืน* ระยะเวลา 7 วัน (7-Day Reverse Repo Rate) ลงด้วย และยังอัดฉีดเงินทุนระยะกลางเพิ่มอีก 3.15 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบ
1
Yewei Yang นักวิเคราะห์จาก Guosheng Securities Co. กล่าวว่า
“PBOC ได้เร่งการผ่อนคลายนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการลดต้นทุนการกู้ยืมและเพื่อส่งเสริม Supply ของภาคสินเชื่อ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของจีนอ่อนแอ และมันจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ”
1
(The PBOC has accelerated its pace of policy easing in order to guide borrowing costs lower and to encourage credit supply, The move suggests China’s economy is weak and it will trigger a significant slide in borrowing costs.)
อย่างที่ World Maker เคยได้วิเคราะห์ไปแล้วว่าในปี 2022 นี้รัฐบาลและธนาคารกลางของจีนมีแนวโน้มจะเลือกดำเนินนโยบายทางการเงินสวนทางกับ FED และอีกหลายธนาคารกลางทั่วโลก ซึ่งตอนนี้ก็คงชัดเจนแล้วว่าเป็นเช่นนั้นจริง ๆ
แต่ถึงกระนั้นก็มีสิ่งที่ PBOC กำลังทำเหมือน FED และธนาคารกลางแห่งทั่วโลก...นั่นก็คือ...การควบคุมไม่ให้เงินเฟ้อพุ่งสูงจนเกินไป
ดังนั้นโดยสรุปก็คือ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังเร่งควบคุมเงินเฟ้อนี้ ธนาคารกลางของจีนได้ทำบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างออกไปคือการควบคุมเงินเฟ้อไปพร้อมกับเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม หากมองที่บริบทของจีนแล้ว ก็อาจถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะตลอด 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากจีนฟื้นตัวจากการระบาดได้ดีกว่าประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก รัฐบาลก็เร่งเดินหน้านโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจและภาคการเงิน ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นถูกกดดันอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในภาค Real Economy ของจีนจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งก็ตาม
การเร่งควบคุมปริมาณหนี้และฟองสบู่ ได้ส่งผลต่อภาคเทคโนโลยีและภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งทำให้บริษัทหลายแห่งของจีนเผชิญกับการสูญเสียมูลค่าอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงปี 2021
และเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ความเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนจะผ่อนคลายลงอย่างชัดเจนในช่วงต้นปี 2022 นี้ ทำให้นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าเป็นสัญญาณเชิงบวก และจุดที่กดดันที่สุดในการปฏิรูปยกระดับทางกฏหมาย, เศรษฐกิจ, เทคโนโลยี และภาคการเงินของจีน อาจจะผ่านพ้นไปแล้วในช่วงปี 2021
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าความเคลื่อนไหวในวันนี้จะถือเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจ ตลาดหุ้น และลดความกังวลในภาคอสังหาฯ ของจีนได้ในปีนี้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม โดยเฉพาะความตึงเครียดทางการเมืองกับสหรัฐฯ และประเทศทางฝั่งตะวันตก
นักเศรษฐศาสตร์ที่ Bloomberg ทำการสำรวจให้ความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (Medium-Term Lending Facility Rate : MLF Rate) จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะมีการต่อระยะเวลาเงินกู้แบบเต็มจำนวน (Full Rollover)
Bond Yield ของพันธบัตรรัฐบาลจีน 10 ปีลดลง 0.02% มาอยู่ที่ 2.78% ขณะที่ Overnight Repo Rate (อัตรากู้ยืมเงินระยะสั้นระหว่างธนาคาร) ลดลง 0.06%
ตอนนี้ตลาดกำลังเดิมพันว่า PBOC จะสามารถผ่อนคลายนโยบายได้มากขึ้น หลังจากที่ได้ลดอัตราส่วนทุนสำรองของธนาคาร (Reserved Requirement Ratio : RRR) ไปแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งก็ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ระยะเวลา 1 ปีสำหรับลูกค้าที่มีเครดิตดี* (1-Year Loan Prime Rate) ลง 0.05% จาก 3.85% เหลือ 3.8% เมื่อเดือนที่แล้ว
1
* Loan Prime Rate หมายถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารต่าง ๆ ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าชั้นดี ซึ่งหมายถึงลูกค้าที่ร่ำรวยและมีประวัติเครดิตทางการเงินดีนั่นเอง
การปรับลด RRR ครั้งล่าสุดของจีนจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ มีสภาพคล่องโดยรวมมากขึ้นถึง 1.88 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยังตอกย้ำถึงการผ่อนคลายนโยบายมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากจุดยืนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
Hao Zhou นักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายตลาดเกิดใหม่จาก Commerzbank AG ให้ความเห็นเอาไว้ว่า
“การปรับลด(ของ PBOC)ในวันนี้บ่งชี้ว่าธนาคารต่าง ๆ จะปรับลด Loan Prime Rate ซึ่งถือเป็นมาตรฐานของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทั่ว ๆ ไปลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ทางการจีนมีแนวโน้มที่จะให้การสนับสนุนนโยบายแบบสวนทางวัฏจักร(สวนทางกับธนาคารกลางประเทศอื่น ๆ)มากขึ้นเพื่อป้องกันผลกระทบที่รุนแรงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความเสี่ยงของ Omicron กำลังปรากฏขึ้นบนขอบฟ้า(เป็นสำนวนหมายถึงปรากฏขึ้นให้เห็นในสายตา)”
(Today’s cut indicates that banks would cut the loan prime rate, the benchmark lending rates, for the second straight month, Chinese authorities are inclined to provide more counter-cyclical support to hedge against the strong economic headwinds particularly as the Omicron risks are looming on the horizon.)
แต่ถึงกระนั้น ก็ไม่ใช่ว่านักวิเคราะห์ทั้งหมดจะมองโลกในแง่ดี ยกตัวอย่างเช่น Sian Fenner หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายเอเชียจาก Oxford Economics กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg TV เอาไว้ว่าเศรษฐกิจของจีนจะเผชิญแรงกดดันเชิงลบอย่างต่อเนื่องในปีนี้
“การเติบโต(ของจีน)จะยังคงถูกกดดันโดยภาคอสังหาริมทรัพย์และนโยบายปลอดโควิดที่จีนจะดำเนินการต่อไป ตัวเลขการค้าปลีกยังบ่งบอกถึงแนวโน้มว่านโยบายปลอดโควิดยังคงมีผลกระทบต่อผู้บริโภค และเราไม่เห็นการฟื้นตัวอย่างที่เราเห็นในภาคอุตสาหกรรม”
1
(Growth will continue to be weighed down by the property sector and of course the zero-Covid policy that China is going to continue with, Retail sales numbers are still quite telling that the zero-Covid policy is still wearing on consumers, and we haven’t seen the recovery that we’ve been seeing in the industrial sector.)
หากจะสรุปให้ชัดเจนก็คือ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจของจีนในปีนี้จะมีปัจจัยเชิงบวกมากขึ้น และมีแรงกดดันจากรัฐบาลจีนน้อยลง ขณะที่นักวิเคราะห์บางกลุ่มมองว่าปัจจัยเสี่ยงยังคงมีอยู่ และอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหาก Demand จากทั่วโลกชะลอตัว และมีความตึงเครียดทางการเมืองเพิ่มขึ้น
1
ส่วนทางฝั่งรัฐบาลจีนได้ประกาศให้ "เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ" เป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุดในปีนี้ (Top Priority) โดยกล่าวชัดเจนว่ารัฐบาลจะดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นเพื่อกระตุ้นการเติบโต ดังนั้นจึงน่าติดตามอย่างมาก ว่าเศรษฐกิจและตลาดหุ้นของจีนจะตอบสนองในเชิงบวกหรือไม่ หลังจากเผชิญแรงกดดันอย่างหนักตลอดปี 2021
1
ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนเพิ่มเติมมีดังนี้
1. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมตลอดปี 2021 เพิ่มขึ้น 9.6%
2. ยอดค้าปลีกตลอดปี 2021 เพิ่มขึ้น 12.5%
3. การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรตลอดปี 2021 เพิ่มขึ้น 4.9%
4. การใช้จ่ายในภาคการผลิตตลอดปี 2021 เพิ่มขึ้น 13.5%
5. ผลผลิตน้ำมันดิบตลอดปี 2021 เพิ่มขึ้น 2.4%
ทันโลก ทันเหตุการณ์ ทันข่าวสารที่แท้จริงไปกับ World Maker
🙏 ขอบคุณทุกท่าน 🙏 ที่ติดตาม World Maker ฝากกด Like และ Share เพื่อเป็นกำลังใจและให้นักลงทุนท่านอื่นได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ 😊
1
References :
โฆษณา