19 ม.ค. 2022 เวลา 08:41 • หนังสือ
▪️ ห น้ า ที่ นิ ย ม
พฤติกรรมกำหนดชะตากรรม
3
ศิลปะของความฉลาด คือ
ศิลปะของการรู้ว่า ควรมองข้ามสิ่งใด
1
"The art of being wise is the art of knowing what to overlook " - William James -
3
วิลเลี่ยม เจมส์ เป็นนักปรัชญา นักจิตวิทยา และยังเป็นคนแรกที่สอนหลักสูตรจิตวิทยาในปี ค.ศ.1875 (พ.ศ. 2418) ที่ Harvard และยังได้รับการยกย่องให้เขาเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาอเมริกัน
เมื่อเกือบ 150 ปีก่อน ความคิดของนักปรัชญาท่านนี้เชื่อว่า ความรู้จะเกิดขึ้นได้จากความสัมพันธ์โดยตรงระหวางมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มนุษย์เราจะได้รับความรู้ต่อเมื่อเป็นผู้ลงมือกระทำเอง
อาจจะมีคนเถียงเกี่ยวกับความเชื่อนี้ก็ได้นะคะ เช่น บางอย่างไม่ต้องทำก็รู้นี่ แค่อ่าน หรือ แค่เห็น ก็รู้ได้แล้ว ซึ่งจะได้ความรู้เหมือนได้ลงมือทำด้วยเองรึเปล่า ?! ก็ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นส่วนบุคคลนะคะ
หลักจิตวิทยาของเจมส์เน้นไปในเรื่องการพึ่งพาตนเอง และสร้างนิสัยที่สร้างสรรค์ ราวกับเชื่อว่า มนุษย์มีศักยภาพล้นเหลือที่จะทำอะไรก็ได้ด้วยการกระทำ ด้วยการลงมือทำ!
2
พักหลัง ๆ นี้ เรามักได้ยินแนวความคิดในการดำเนินชีวิตแบบ สุ ข นิ ย ม กันค่อนข้างมาก แต่แนวความคิดที่มีมานานมาก ๆ ของเจมส์คือ แนวคิดแบบ ห น้ า ที่ นิ ย ม ( Functionalism ) ที่สนใจเรื่องพฤติกรรม ให้เข้าใจได้ชัด ๆ คือ พ ฤ ติ ก ร ร ม กำ ห น ด ช ะ ต า ก ร ร ม หรือกำหนดชีวิตของเราว่าจะเป็นไปทางไหน อย่างไรนั่นแหละค่ะ
แนวคิดบางเรื่องของเจมส์ที่เคยกล่าวไว้..
ขอหยิบยกมา 5 เรื่องนะคะ
1. กิริยาควบคุมอารมณ์
.
การทดลองของเขาคือ ให้ลองทำหน้าทำตาขึงขังใส่กระจก เกร็งกล้ามเนื้อบนใบหน้า แสยะปากออก ทำไปสักพักกิริยาอย่างนี้จะทำให้เรารู้สึกโกรธขึ้นมาได้จริง ๆ อารมณ์เศร้าก็เหมือนกัน หากมัวแต่ทำหน้าเศร้า กอดอก คอตก อารมณ์เศร้ามันจะหนักขึ้นเรื่อย ๆ ตามกิริยาท่าทางของเราได้เหมือนกัน
5
2. งานกระตุ้นพลัง
.
อันนี้คงไม่ถูกใจคนขี้เกียจเป็นแน่ เจมส์กล่าวไว้ว่า การทำงานหนักจะทำให้เรามีพลัง ไม่ใข่พักผ่อนหย่อนใจมาก ๆ แล้วจะมีพลัง ยิ่งทำงานหนัก ยิ่งพบว่า ตัวเรายังมีพลังแฝงที่ซ่อนอยู่ในตัวเรา
4
3. นิสัยบ่มได้
.
หรือใครจะเถียงว่า " นี่คนนะ! ไม่ใช่มะม่วง "
คนนี่แหละนิสัยบ่มได้ เปลี่ยนแปลงได้จากการกระทำ การมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ภายนอกร่างกายที่เราได้กระทบ กระทำ สิ่งที่ต่าง ๆ เหล่านั้นจะถูกจดจำไว้ในเซลล์สมอง และจากพฤติกรรมซ้ำ ๆ การจารึกจดจำมากยิ่งขึ้น จนติดเป็นนิสัย และจากนิสัยก็กลายเป็นสันดาน เหมือนมะม่วงนั่นแหละ ไม่สุกจากต้นก็บ่มให้สุกได้
4
4. กังวลนิด ๆ ทำให้ชีวิตมีชีวา
.
ข้อนี้อาจแปลก ๆ สักหน่อย เหมือนการปล่อยให้มีความกังวลนิด ๆ ไม่ถึงกับเครียดจนทำร้ายตัวเอง ความกังวลน้อย ๆ นี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้สมองตื่นตัวอยู่เนือง ๆ ไม่เอือยเฉื่อย เรื่อยเปื่อยไป
3
5. มนุษย์มีทั้งด้านดีและด้านร้าย
.
ยกตัวอย่าง พระแม่อุมากับเจ้าแม่กาลี ก็เป็นคน ๆ เดียวกัน เพียงแต่เป็นปางดี และปางร้าย ในความคิดของเจมส์ คนเรามีทั้งด้านดีและด้านร้าย ซึ่งผลพ่วงความสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นมักจะมาจากความคิดทางด้านดี จากการเชื่อมั่นในความดี เพราะทุกคนมีดีในตัวอยู่แล้ว ให้ศรัทธาด้านดีนี้และอยู่กับมัน รวมทั้งศรัทธาในความดีของเพื่อนมนุษย์ด้วย
1
▪️อ้างอิง
เรื่องเล่าถึง วิลเลียม เจมส์
จากหนังสือ 📚“ มีเพื่อนเป็นภูเขา “
ผู้เขียน : คุณประภาส ชลศรานนท์
.
และ
เราทุกคนต่างก็เรียนรู้การใช้ชีวิตกับความเป็นจริงที่รายล้อมเราไปพร้อม ๆ กับสิ่งที่เราสัมผัสได้ว่า ยังมีความเป็นไปได้อีก ยังมีอะไรมากกว่าที่เราเห็น
.
บางครั้งเราควรเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่หมั่นสังเกตุ ทดลอง วิเคราะห์ และประมวลผลชีวิตของเราอยู่เสมอ แล้ว Impossible things อาจจะเปลี่ยนเป็น I'm possible ในเรื่องที่ไม่คิดว่ามันจะเป็นไปได้ก็ได้นะคะ
1
♥️ เพื่อน ๆ ที่ชอบการ ฟั ง 🎧 ม า ก ก ว่ า อ่าน
. ขอชวนฟังเล่าเรื่องเดียวกันนี้
. ผ่าน 🎙Podcast ในโพสต์ถัดไปนะคะ
.
ขอบคุณมากนะคะ
ที่แวะมา อ่ า น หรือ ฟั ง
เรื่องราวดี ๆ ที่อยากแบ่งปัน ☺️🥰
..
รฉัตร วรรณกุล
19 มกรา’ 2565
1
โฆษณา