20 ม.ค. 2022 เวลา 11:00 • ข่าว
ปี 65 ราคาน้ำมันดิบแตะ 100 ดอลลาร์
ราคาพุ่งต่อเนื่องไม่หยุด ปีนี้ไทยปรับขึ้นแล้ว 5 ครั้ง
เอกชนวอนรัฐเร่งแก้ปัญหา
2
ความคืบหน้าราคาน้ำมันในประเทศไทยวันนี้ทยอยปรับขึ้นกันทุกปั๊ม เพิ่มอีก 10-50 สตางค์ต่อลิตร์ ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส งวดส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้น 1.8% หรือ 1.53 ดอลลาร์ ปิดที่ 86.96 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 ด้านสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ งวดส่งมอบเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้น 1.1% หรือ 93 เซนต์ หรือ ปิดที่ 88.44 ดอลลาร์/บาร์เรล สูงสุดนับตั้งแต่ตุลาคม 2557 เช่นเดียวกัน ด้านสัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ตลาดนิวยอร์กก็ปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ด้วยเหตุระเบิดท่อส่งน้ำมันตุรกี
สำหรับสถิติการปรับขึ้นของราคาน้ำมันในประเทศ เปิดต้นปีมาแค่เดือนมกราคม 65 ราคาน้ำมันก็ปรับขึ้นมา 5 ครั้งแล้ว
วันที่ 5 ม.ค. 65 ปรับขึ้นราคาน้ำมันทุกชนิด 60 สต.ต่อลิตร
วันที่ 8 ม.ค. 65 ปรับขึ้นราคาน้ำมันกลุ่มดีเซล 40 สต.ต่อลิตร
วันที่ 11 ม.ค. 65 ปรับขึ้นราคาน้ำมันทุกชนิด 40 สต.ต่อลิตร
วันที่ 14 ม.ค. 65 ปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน-แก๊สโซฮอล์ 50 สต.ต่อลิตร
วันที่ 19 ม.ค. 65 ปรับขึ้นราคาน้ำมันทุกชนิด 50-10 สต./ลิตร
โดยหน่วยวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมัน บมจ.ไทยออยล์ รายงานว่า ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังตลาดกังวลเกี่ยวกับอุปทานที่ตึงตัว จากเหตุระเบิดท่อส่งน้ำมันจาก อิรักไปยังตุรกี นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบจากการโจมตีของกลุ่มกบฎฮูตี ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นผู้ผลิต รายใหญ่อันดับ 3 ของ OPEC ส่งผลให้เกิดความกังวลด้านอุปทานตึงตัวเพิ่มขึ้น
1
ด้านนักวิเคราะห์ของ OPEC กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นถึง 100 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล จากการฟื้นคืนของอุปสงค์หลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโอมิครอน ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์คาดว่า กำลังการผลิตสำรองของ OPEC+ จะลดลงสู่ระดับที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ - หลังตลาดปิด สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API)รายงานตัวเลขน ้ามันดับคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 14 ม.ค. 22 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งเพิ่มขึ้นสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะปรับตัวลดลงราว 0.9 ล้าน บาร์เรล
ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้น นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มองว่า ปัจจุบันต้องติดตามสถานการณ์น้ำมันดิบในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด เพราะตอนนี้ราคาปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 7 ปี ซึ่งรายใหญ่ๆ ของสหรัฐก็คาดการณ์ว่า เบรนท์ อาจดันราคาทะลุ 100 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรลได้ในไตรมาส 3 ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะกดดันเงินเฟ้อของไทยให้เพิ่มสูงขึ้นมาก ดังนั้นรัฐบาลควรจัดเตรียมมาตรการรับมือไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะราคาน้ำมันของประเทศไทย เราเป็นผู้นำเข้า ผลกระทบจึงหลีกเลี่ยงได้ยาก แม้ว่ารัฐมีมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร แต่กลุ่มน้ำมันเบนซินก็ยังขึ้นต่อเนื่อง รัฐบาลควรมองกลไกอื่นๆ ไว้ล่วงหน้า เช่น การปรับลดภาษีน้ำมันฯ
อีกภาคส่วนหนึ่งที่รับผลกระทบเต็มๆ คือ ภาคอุตสาหกรรมขนส่ง ที่นายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ยืนยันว่า กลุ่มรถบรรทุกยังไม่ล้มเลิกข้อเรียกร้องให้รัฐบาลลดราคาน้ำมัน เพราะที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้ลงมาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง แถลงข่าวลดราคาน้ำมันได้ 2-3 วัน แล้วก็เงียบหาย วันนี้ประชาชนต้องแบกรับภาระค่าครองชีพมหาศาล และที่ต้องเจอกับข้าวของแพงวันนี้ ก็เพราะต้นทุนค่าขนส่งหรือราคาน้ำมันแพงมาก
โดยช่วงที่ผ่านมา สหพันธ์ฯ ได้หยุดวิ่งรถไป 50% หรือ 200,000 คัน เนื่องจากแบกรับต้นทุนไม่ไหว การจะปรับขึ้นค่าขนส่ง ราคาสินค้าก็ขึ้นตาม ผลกระทบก็วนกลับมาที่ประชาชนอีก จึงขอให้รัฐบาลลงมาแก้ไขที่ต้นเหตุอย่างจริงจัง ซึ่งในวันที่ 21 มกราคม สหพันธ์จะประชุมเตรียมความพร้อมจัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์พลัง (Truck Power) รอบสุดท้าย ซึ่งถ้าหากขอกันดีๆ แล้วยังนิ่งเฉย อาจต้องใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด คือการหยุดเดินรถแบบ 100% หรือ 400,000 คัน
FACT: ต้นทุนน้ำมันทำไมแพง
- ราคาน้ำมันหลักๆ อยู่ที่ 40 – 60% ราคาตามตลาดโลก
- ภาษีต่างๆ 30 – 40% ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- หักเงินเข้ากองทุน 5 – 20% กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
- ค่าการตลาด 10 – 18% ปั๊มน้ำมันต่างๆ
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT มีผลประกอบการ 9 เดือนแรกปี 64 มีรายได้ 558,888 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 45.7% และมีกำไรสุทธิ 23,652.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 67.5%
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
โฆษณา