21 ม.ค. 2022 เวลา 04:15 • สุขภาพ
วางใจยังไม่ได้ ติดเชื้อเข้าข่าย(ATK)เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ติดเชื้อยืนยัน(PCR)จะทรงตัว
สถานการณ์โควิดระลอกที่ 4 ของประเทศไทย ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 โดยมีไวรัสเดลต้าและโอมิครอนเป็นสายพันธุ์ร่วมในช่วงแรก จนปัจจุบันไวรัสโอมิครอนเป็นสายพันธุ์หลักแล้วนั้น
พบแนวโน้มของสถานการณ์โควิดระลอกใหม่นี้ ที่มีความสอดคล้องกับคุณสมบัติของไวรัสโอมิครอน ได้แก่
1) จากคุณสมบัติของไวรัสที่มีความสามารถในการแพร่ระบาดที่รวดเร็วกว้างขวาง แต่ไม่ค่อยแสดงอาการ
จึงส่งผลให้แนวโน้มสถิติของผู้ติดโควิดในรายละเอียดคือ
1
พบผู้ติดเชื้อเข้าข่าย ตรวจด้วย ATK 3356 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
1
ในขณะที่พบผู้ติดเชื้อที่ตรวจยืนยันด้วย PCR 8640 ราย ค่อนข้างจะทรงตัว
ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรวม (ATK+PCR) ยังคงเพิ่มขึ้น คือ 11,996 ราย ( 21 มกราคม 2565 )
สาเหตุของแนวโน้มดังกล่าวน่าจะมาจาก ผู้ติดเชื้อจากไวรัสโอมิครอนมักจะไม่ค่อยมีอาการ
จึงทำให้ไม่ได้เดินทางมาตรวจในสถานที่ที่มีการตรวจด้วย PCR แต่มักจะทำการตรวจทดสอบด้วยตนเองที่บ้านจากชุด ATK
เนื่องจากในขณะนี้ ได้มีชุดตรวจ ATK เพิ่มมากขึ้น ทำให้หาซื้อได้ค่อนข้างสะดวก ราคาถูกลงมาก เหลือประมาณ 35-40 บาท และประชาชนเริ่มมีความคุ้นเคยกับการตรวจ เพราะทำได้ไม่ยากนัก
2) จากลักษณะที่ไวรัสมีความสามารถในการก่อโรคที่ไม่รุนแรงมากนัก ทำให้แม้การติดเชื้อรวมยังคงขยับตัวสูงขึ้น แต่ผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนัก ผู้ใช้เครื่องช่วยหายใจ และจำนวนผู้เสียชีวิตยังไม่ได้ขยับตามในสัดส่วนเดียวกับผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น
จึงทำให้เรายังประมาทหรือวางใจเรื่องไวรัสโอมิครอนไม่ได้ เพราะแม้การติดเชื้อยืนยันด้วย PCR จะทรงตัว
แต่ผู้ติดเชื้อเข้าข่ายโดยวิธีการตรวจ ATK ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
เพียงแต่ยังโชคดีที่ผู้ป่วยหนักและผู้เสียชีวิตยังไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก
ทั้งนี้ยังไม่นับกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการและเจ้าตัวไม่ได้สงสัยว่าตัวเองอาจจะติดเชื้อ จึงไม่ได้ทำการตรวจทั้ง PCR และ ATK ซึ่งมีอยู่อีกจำนวนหนึ่งแต่สามารถแพร่เชื้อได้
1
ทุกคนจึงยังควรมีวินัย ระมัดระวังตนเอง โดยการใส่หน้ากากอนามัย งดการไปสถานที่เสี่ยงหรือการมีพฤติกรรมเสี่ยง และรับการฉีดวัคซีนต่อไป
1
โฆษณา