22 ม.ค. 2022 เวลา 05:17 • ประวัติศาสตร์
ย้อนอดีตวิกฤติการเงิน 'ซิบบับเว'
เมื่อเงินร้อยล้านมีมูลค่าเท่ากับไข่ไก่ใบเดียว
เศรษฐกิจล่มสลาย เงินเฟ้อพุ่ง 11 ล้าน%
ถ้ามีเงิน 100 ล้านบาท มันคงเป็นชีวิตที่แสนจะมั่งคั่ง สุขสบาย ต่อยอดชีวิตทำอะไรได้อีกมากมาย ชีวิตแบบเศรษฐีที่ใครหลายคนใฝ่ฝันอยากจะเป็น
แต่ใช่ว่าเงินร้อยล้านจะมีค่ามากมายมหาศาลเสมอไป โดยเฉพาะกับประเทศที่เงินร้อยล้านซื้อได้เพียงแค่ไข่ไก่เพียงใบเดียว
ลองคิดเล่นๆ ดูว่าคุณจะรู้สึกอย่างไร เมื่อวันหนึ่งจู่ๆ เงินล้านที่มีอยู่ในธนาคาร มีค่าซื้อได้เพียงแค่อาหารจานเดียวเท่านั้น และการจะหาเนื้อสัตว์ชิ้นเล็กๆ มาทำอาหารสักมื้อ ต้องใช้เงินมากเท่ากับกระสอบปุ๋ย
มันไม่ใช่เรื่องตลก หรือเป็นเรื่องเกินจริงแต่อย่างใด เพราะในอดีตที่ผ่านมาเคยมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นจริงมาแล้วในประเทศที่ชื่อว่า “ซิมบับเว”
หลายคนคงทำหน้าสงสัยว่า ประเทศซิมบับเวมันอยู่ตรงมุมไหนของโลก ฉะนั้นก่อนอื่นมารู้จักประเทศที่ชื่อว่า “ซิมบับเว” กันก่อน
ที่ตั้งประเทศซิมบับเว
“สาธารณรัฐซิมบับเว” ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา มีอาณาเขตติดกับประเทศแซมเบีย โมซัมบิก บอตสวานา และแอฟริกาใต้ ตั้งอยู่ลึกเข้าไปในแผนทวีปแอฟริกา ฉะนั้นประเทศนี้ไม่ติดทะเล โดยมีเมืองหลวงชื่อว่า “กรุงฮาราเร”
ซิมบับเวมีรายได้มาจากการส่งออกสินแร่ การเกษตร และการท่องเที่ยว โดยสถานที่ที่มีชื่อเสียงคือ น้ำตกวิคตอเรีย อันสวยงาม เลื่องชื่อ ติดอันดับน้ำตกที่สวยที่สุดในโลก
น้ำตกวิคตอเรีย
ส่วนการทำเหมืองแร่ที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำคือ เหมืองเพชร ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นแหล่งทรัพยากรแร่ที่ชื่อว่า “แพลทินัม” ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งเป็นแร่ที่มีมูลค่าเกือบเทียบเท่าทองคำ ใช้ทำเครื่องมือผ่าตัดในวงการแพทย์ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมด้านอัญมณี และเครื่องประดับ เป็นต้น
ก็ดูเหมือนว่าน่าจะเป็นประเทศที่ร่ำรวยด้วยกำไรจากทรัพยากรธรรมชาติ และเพชร นิล จินดา อยู่ไม่น้อย แต่ทำไมประชาชนชาวซิมบับเวถึงไม่อยากอยู่ในประเทศตัวเองและหาทางหนีออกไปตายเอาดาบหน้ายังต่างแดนในฐานะผู้ลี้ภัย?
จากที่เกริ่นเอาไว้ว่าซิมบับเวเป็นประเทศที่ประชาชนทุกคนมีเงินหลักพันล้าน ซึ่งนี่ไม่ใช่การพูดเกินจริง เพราะมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่เงินพันล้านที่ว่ากลับมีมูลค่าเท่ากับอาหารมื้อเล็กเพียงมื้อเดียวเท่านั้น!
1
เพรช พลอย และอัญมนีมีค่าต่างๆ คือแหล่งรายได้สำคัญของซิมบับเว
🔵 จุดเริ่มต้นความเสื่อม
ก่อนหน้านี้ซิมบับเว ก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่ทำมาค้าขายภายใต้ระบบทุนนิยม มีขาดทุน มีกำไร มีรายได้ มีค่าใช้จ่าย มีอัตราค่าเงินที่ก็ถือว่าปกติ แต่เหตุการณ์ที่ทำให้ซิมบับเว กลายเป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลก และเราต้องสนใจประเทศนี้ ก็ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 1990 รัฐบาลซิมบับเว ภายใต้การนำของ “โรเบิร์ต มูกาเบ้” นายกรัฐมนตรีในยุคนั้น ได้ดำรินโยบายหนึ่งขึ้นมา โดนอ้างว่าทำเพื่อประชาชนชาวซิมบับเว
3
รัฐบาลของมูกาเบ้มีความหวังดีกับประชาชนชาวผิวดำ ที่อยากเห็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง ไม่อยากให้เป็นเพียงผู้ใช้แรงงาน และกรรมกร ภายใต้กิจการของคนผิวขาว ที่ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการในประเทศ
1
โรเบิร์ต มูกาเบ้ อดีตนายกรัฐมนตรีซิมบับเว
การออกกฎหมายเพื่อปฎิวัติการจัดการที่ดินทำกิน (Land Reform) ที่เอื้อให้คนผิวดำซึ่งเป็นคนพื้นเมือง สามารถมีที่ดินเป็นของตัวเอง แต่วิธีการนั้นไม่ใช่การเอาที่ดินมาจัดสรรแบบประนีประนอม แต่มันก็คือการ ‘ยึด’ คืนที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของคนผิวขาวแล้วเอาไปแจกให้กับคนผิวดำแทนเท่านั้น พร้อมขายฝันว่า ต่อไปนี้คนผิวดำจะลืมตาอ้าปาก หลุดพ้นจากการเป็นคนจน เป็นกรรมกร มาเป็นเจ้าของที่ดิน บริหารกิจการเอง พวกคนผิวขาวต้องไปเป็นเพียงลูกจ้างแทน คนดำจะร่ำรวย เศรษฐกิจจะต้องดี ประเทศชาติจะรุ่งเรือง ไชโย!
2
แต่…มูกาเบ้คงลืมไปว่า การที่ยื่นทรัพย์สมบัติให้คนที่ใช้ไม่เป็น ไม่มีความสามารถบริหารจัดการ ด้อยการศึกษาและขาดความรู้ มันคือการหยิบยื่นหายนะให้กับประเทศ ในเมื่อใช้คนไม่ถูกกับงาน เหมือนเอาตำรวจ หรือทหารไปเป็นหมอผ่าตัดทำหน้าอก สุดท้าย…เศรษฐกิจของซิมบับเวก็ ‘พัง’ ในเวลาอันรวดเร็ว
4
พอเศรษฐกิจพังพินาศ ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องไปกู้หนี้ยืมสินจากผู้ใจบุญที่พร้อมช่วยทุกประเทศยามเงินขาดมืออย่าง “กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF” เพื่อขอกู้เงินเพื่อมาบริหารสภาพคล่องทางการเงินในประเทศ และอย่างที่รู้ๆ กันว่า ยิ่งกู้มากหนี้สินก็พอกพูน ดอกเบี้ยก็บานเบอะ แถมเศรษฐกิจก็ล่มสลาย แล้วจะหาเงินจากไหนมาใช้หนี้?
3
การปฎิวัติการจัดการที่ดินทำกิน (Land Reform) ยึดที่ดินจากคนขาวมาให้คนดำ
คิดไปคิดมา คิดหลายตลบ สุดท้าย รัฐบาลซิมบับเวก็ปิ้งไอเดียแบบแปลกๆ ที่ไม่เข้าท่าขึ้นมาเพื่อที่จะหาเงินมาใช้คืน IMF ก็ในเมื่อหนี้มันเยอะ รัฐบาลก็พิมพ์เงินเยอะๆ ให้เท่ากับจำนวนหนี้ ซึ่งลักษณะการพิมพ์เงินออกมาใช้หนี้แบบนี้เป็นจุดเริ่มต้นของหายะทางการเงินเหมือนกับเวเนซุเอลาเผชิญมาแล้ว ซึ่งพอพิมพ์เงินออกมาก็เอาไปใช้คืน IMF เสียก็จบ ง่ายจะตายเรื่องแค่นี้ อยากได้เงินเท่าไหร่ก็ก็พิมพ์ออกมาตามต้องการ
1
ในปี 2006 รัฐบาลซิมบับเวได้สั่งให้แบงค์ชาติ พิมพ์เงินออกมาด้วยจำนวนที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ด้วยมูลค่าสูงถึง 21 ล้านล้านซิมบับเวียนดอลล่าร์ (21,000,000,000,000 ZWD นับ 0 กันตาลายเลยทีเดียว) ซึ่งในตอนนั้นอัตราแลกเปลี่ยนของซิมบับเวียนดอลล่าห์ (ZWD) มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ 1.59 ZED ต่อ 1 USD
1
เงินกว่า 21 ล้านล้าน ZWD ก็ถูกนำเอาไปใช้หนี้ให้กับ IMF ซึ่งมันก็ชำระได้ นั่นหมายความว่าประเทศซิมบับเวรอดพ้นจาการเป็นหนี้แล้วนะสิ?
1
แต่ช้าก่อนสหาย แบงค์ชาติซิมบับเวคงจะลืมนึกไปว่า เงินมันออกไปจากประเทศแล้วก็จริง แต่มันไม่ได้ไปแล้วไปลับ เพราะเงินบนโลกใบนี้มันหมุนเวียนไปมาตลอดเวลา
เงิน ZWD ออกไปท่องเที่ยวในตลาดการเงินโลกได้ไม่นาน ก็ต้องวนกลับมาสู่ประเทศซิมบับเวอีกครั้ง เงินที่ถูกพิมพ์ออกมากแต่ไม่ได้มีการการันตีค่าเงินโดยทองคำ หรือแม้แต่การใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศค้ำประกัน มันก็คือแผ่นกระดาษดีๆ นี่เอง พอกระดาษยี่ห้อ ZWD ไม่ได้ถูกค้ำค่าเงินไว้ สุดท้ายธนบัตรมันก็แค่กระดาษธรรมดาที่ได้ไม่ได้มีคุณค่า ทำให้เงิน ZWD วนกลับเข้าสู่ระบบการเงินของซิมบับเวในที่สุด ปัญหาวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นจึงมาเยือนประเทศนี้ชนิดที่เรียกว่าร้อยเท่าพันทวี เกิดภาวะเงินเฟ้อ เฟ้อแบบจนไม่รู้จะสรรหาคำไหนมานิยาม เพราะเงินมันล้นตลาด สินค้าทุกอย่างปรับราคาพุ่งสูงปรี๊ดในทันที
4
พอเงินมันแทบไม่มีค่า จะใช้ซื้ออะไรก็ไม่ได้ไม่พอ การแก้ปัญหาของแบงค์ชาติเพื่อให้เงินมีค่าเพิ่มมากที่สุดแบบซิมบับเวสไตล์คือ การพิมพ์เงินออกมาเยอะๆ ใส่ 0 ต่อท้ายเข้าไปเยอะๆ จะได้มีมูลค่าเยอะๆ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่านี่จะความคิดของคนที่ทำงานอยู่ในแบงค์ชาติ
1
ในช่วงระหว่างปี 2007-2009 รัฐบาลซิมบับเวได้พิมพ์เงินโดยใส่ 0 เพิ่มไปเรื่อย โดยมีการพิมพ์ธนบัตรตั้งแต่
2
200,000 ZWD
10,000,000 ZWD
50,000,000 ZWD
100,000,000 ZWD
250,000,000 ZWD
500,000,000 ZWD
1
ธนบัตรสกุลเงินซิมบับเวียนดอลล่าร์ ตั้งแต่ 10 – 1 แสนล้าน ZWD
ธนบัตรใบละ 5 ร้อยล้าน คงไม่มีที่ไหนทำได้นอกจากที่ซิมบับเวอีกแล้ว แต่ผู้อ่านต้องเข้าใจด้วยว่า ยิ่งพิมพ์เงินออกมาเยอะ เงินมันก็ยิ่งล้นตลาด พอเงินมันล้น แต่มันก็ไม่ต่างจากกระดาษ ไม่มีค่า ประชาชนก็ไม่อยากใช้ เพราะคงไม่มีใครอยากจะหอบเงินเป็นกระสอบไปซื้อข้าวกินได้เพียงแค่ 1 จานล่ะ
1
วิกฤติครั้งนี้ยังไม่จบ และใช่ว่าจะมีแค่นี้ เพราะในปี 2008 แบงค์ชาติออกธนบัตรใบละ 100,000,000,000 ZWD
ตอนนั้นเงินเฟ้อของซิมบับเว ทะยานพุ่งทะลุเลยชั้นบรรยากาศไปไกล เพราะอัตราเงินเฟ้อสูงถึง 11ล้าน% ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในประเทศต่างๆ แค่ 3-4% ก็แทบแย่แล้ว
คราวนี้แบงค์ชาติคงเห็นท่าไม่ดี เพราะเงินมันเฟ้อจนเกินกว่าจะควบคุมได้ และประชาชนก็ไม่เชื่อมั่นในสกุลเงินของประเทศตัวเองอีกแล้ว ฉะนั้นในเมื่อเงินมันเฟ้อเยอะนัก ตัด 0 ออกทั้งหมดเลยละกัน
เท่านั้นแหละระบบการเงินประเทศพังทะลายทันที จะไม่พังได้อย่างไร ก็เมื่อชั่วโมงที่แล้วมีเงินอยู่ 100 ล้าน ZWD แต่ผ่านไปไม่กี่ชั่วโมง เงินมีค่าเหลือแค่ 1 ZWD เท่านั้น ถ้าประเทศไม่พังก็คงจะแปลกเกินไปแล้ว
ธนบัตรใบละ 5 แสนล้าน ZWD
แต่แบงค์ชาติก็ยังไม่หยุดนะ พอมูลค่าของเงินมันหายไป ฉะนั้นก็พิมพ์ธนบัตรใหม่ขึ้นมาแทน และนับว่าการพิมพ์ธนบัตรครั้งนี้เป็นครั้งที่โลกต้องตกตะลึง เพราะมันคือธนบัตรใบละ 500,000,000,000 ZWD หรือ 5 แสนล้าน
แต่ไม่ว่าจะใส่ 0 ไปกี่ตัว มันก็ไม่มีความหมาย เพราะค่าเงิน ZWD มันไร้คุณค่าในตลาดไปแล้ว ประชาชนหันไปใช้เงินสกุลหลักอื่นๆ แทน เช่น ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ยูโร ไม่มีใครอยากหอบเงินเป็นกระสอบเป็นสิบล้านร้อยล้านที่สามารถซื้อได้เพียงแค่ไข่ไก่ใบเดียวอีกต่อไป ส่วนใครที่ไม่มีเงินสกุลหลักพวกนี้ก็ใช้วิธีหาเพชร หาทอง ไปแลกข้าว แลกของใช้ที่จะเป็นแทน โดยใช้วิธีคือไปขุดแร่เพื่อหาเพชร ไม่ก็ไปร่อนทองตามแม่น้ำ
2
คนซิมบับเวต้องพกเงินจำนวนมหาศาลเพียงเพื่อไปซื้ออาหาร และของใช้
ในปี 2009 สกุลเงิน ZWD ก็ตายอย่างสมบูรณ์ รัฐบาลทำได้เพียงแค่ปล่อยให้เงินที่เฟ้อมาจากกระดาษให้ย่อยสลายไปเอง และให้ระบบเศรษฐกิจรักษาแผลจากวิกฤติครั้งนี้แทน ซึ่งจนทุกวันนี้ซิมบับเวยังคงตายไม่มีฟื้นจากอดีตที่เกิดขึ้น ผู้คนต่างอดอยาก ยากจน ดิ้นรนเอาชีวิตรอด ทางหนึ่งที่ประชาชนเลือกทำกันคือ การลี้ภัยไปต่างแดน ซึ่งนั้นทำให้เราถึงพบกับชาวซิมบับเว 8 คน ในสุวรรณภูมิ ที่อยู่ กิน นอน มา 3 เดือน ที่เป็นข่าวเมื่อ พ.ศ. 2560 พอจะส่งไปประเทศที่ 3 ก็ไม่รับ โดนตีกลับมาเพราะทางนั้นระบุว่า คนเหล่านี้ยังไม่ได้สถานะผู้ลี้ภัยจาก UNHCR ส่งกลับซิมบับเวเขาก็ไม่กลับ เพราะกลับไปก็อดตาย บังคับก็ไม่ได้ผิดหลักมนุษยธรรม ตามกฎบัตรของสหประชาชาติ
2
คำถามที่หลายคนอยากรู้คือ แล้วรัฐบาลมูกาเบ้ รับผิดชอบต่อหายนะครั้งนี้อย่างไร?
คำตอบคือ ก็ไม่ได้รับผิดชอบอะไร เพราะโดนกองทัพก่อรัฐประหารและบีบให้มูกาเบ้ลาออก ตอนแรกทำท่าจะไม่ยอม สุดท้ายก็คงทนแรงบีบไม่ไหวเลยต้องลาออกในที่สุด แต่มีข่าวว่าลี้ภัยไปต่างแดนพร้อมครอบครัว
1
ครอบครัวชาวซิมบับเว 8 คนที่อยู่ในสนามบินสุวรรณภูมิมา 3 เดือน ซึ่งเป็นข่าวเมื่อปี 2560
ปัจจุบันสถานการณ์ในซิมบับเวก็ยังคงไม่อาจจะฟื้นกลับคืนมาได้ แม้ว่ามูกาเบ้จะทิ้งเก้าอี้ผู้นำประเทศไปเป็นสิบปี เพราะบาดแผลทางเศรษฐกิจที่ใหญ่เกินกว่าจะเยียวยารักษาให้หายในช่วงระยเวลาไม่กี่สิบปี ยังคงรอวันปริแตก เนื่องจากวิกฤตเงินเฟ้อ สินค้าแพง และรายได้ของประชาชนที่น้อยจนคนไม่อยากไปทำงาน ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น และในประเทศยังคงมีการแย่งชิงอำนาจระหว่างนักการเมืองและกองทัพอยู่เนืองๆ
นี่คือเรื่องราวของประเทศซิมบับเว ประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยร่ำรวยกว่าประเทศไทย ประเทศที่อยู่นอกสายตาคนไทย และไม่คิดว่ามันจะมีเรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้นบนโลก และเป็นบทเรียนให้กับหลายประเทศในการกำหนดวินัยการเงินการคลัง เพื่อไม่ให้พังพินาศแบบประเทศซิมบับเวนั่นเอง
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
โฆษณา