23 ม.ค. 2022 เวลา 09:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
BREAKING !! : ด่วน ! จับตาการเงินโลก ! ล่าสุด Goldman Sachs กล่าวว่า FED อาจจะต้องทำการกระชับนโยบายในการประชุมทุก ๆ ครั้งนับตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป !! ซึ่งอาจหมายถึง 7 ครั้ง !? และถือเป็นคาดการณ์ที่แสดงถึงแนวทางเชิงรุกมากขึ้นอีก
1
นักลงทุนยังพลาดสายไม่ตาไม่ได้แม้แต่วินาทีเดียวสำหรับความเคลื่อนไหวในตลาดการเงินโลกตอนนี้ ! เพราะมันอาจส่งผลต่อการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
โดยล่าสุด Goldman Sachs ได้ออกมาปรับคาดการณ์ขึ้นอีกว่า FED อาจจะต้องกระชับนโยบายในทุก ๆ ครั้งของการประชุมนับตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป !
ซึ่งรายละเอียดตรงนี้ หมายความว่า FED อาจมีการกระชับนโยบายถึง 7 ครั้งภายในปีนี้ ! เนื่องจากกำหนดการประชุมของ FED ในปีนี้เหลืออยู่ 7 ครั้ง (หากไม่นับ 25-26 นี้) คือ
1. วันที่ 15-16 มีนาคม 2022
2. วันที่ 3-4 พฤษภาคม 2022
3. วันที่ 14-15 มิถุนายน 2022
4. วันที่ 26-27 กรกฏาคม 2022
5. วันที่ 20-21 กันยายน 2022
6. วันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2022
7. วันที่ 13-14 ธันวาคม 2022
ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs นำโดย Jan Hatzius ให้ความเห็นเอาไว้ว่า FED น่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม ขณะที่การทำ QT (ลดงบดุล) น่าจะเริ่มในเดือนกรกฎาคมนี้
แต่จากคาดการณ์ล่าสุด พวกเขากล่าวว่าแรงกดดันที่เกิดจากเงินเฟ้อตอนนี้กำลังสูงมาก นั่นทำให้มีโอกาสที่คณะกรรมการ FED จะประกาศกระชับนโยบายทุกครั้งนับตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป และจะทำไปจนกว่าแนวโน้มของเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับที่เหมาะสม
"สิ่งนี้(เงินเฟ้อ)ทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติมหรืออาจมีการประกาศลดงบดุลเร็วขึ้นกว่าเดิมในเดือนพฤษภาคม และอาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 4 ครั้งในปีนี้ เราสามารถจินตนาการถึงตัวกระตุ้นที่เป็นไปได้หลายประการสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในการประชุมแต่ละครั้ง”
(This raises the possibility of an additional hike or an earlier balance sheet announcement in May, and of more than four hikes this year, We could imagine a number of potential triggers for a shift to rate hikes at consecutive meetings.)
นอกจากนี้ยังกล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขาคาดการณ์ว่า FED จะกระชับนโยบายเข้มงวดขึ้นกว่าเดิมอีก ก็คือแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะยาวที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความเหนือคาดอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินเฟ้อ โดยเฉพาะค่าจ้างแรงงานที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมานี้ และนอกเหนือไปจากนั้นก็คือการระบาดของโอไมครอน (Omicron) ที่อาจทำให้ภาวะเงินเฟ้อยืดยื้อได้
ค่าจ้างแรงงานในสหรัฐฯ เริ่มพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วใน 2 ไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งการขึ้นค่าจ้างและราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นี้ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นเงินเฟ้อถาวรเลยทีเดียว สังเกตง่าย ๆ คือตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา เวลาค่าจ้างและราคาข้าวปรับขึ้น ก็มักจะไม่ปรับลงไปอีกแล้ว นั่นหมายถึงการยอมรับการเสื่อมค่าของเงินไปโดยปริยาย นั่นเอง ดังนั้นอาจสามารถกล่าวได้ว่าเรากำลังอยู่ในยุคที่เงินเฟ้อแท้จริง (Real Inflation) ปรับตัวสูงขึ้นไปอีกขั้นจากในอดีต
จากการสำรวจล่าสุดของ Bloomberg ในวันที่ 14-19 มกราคม ระบุว่าตอนนี้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ยมาตรฐานเป็น 0.5% ในเดือนมีนาคมนี้ และจะปรับเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึง 2.3% ในสิ้นปี 2024 ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ยังไม่รุนแรงเท่ากับคาดการณ์ล่าสุดของ Goldman Sachs
ในสัปดาห์นี้ (25-26) ประธาน Jerom Powell และคณะกรรมการ FOMC จะประชุมกัน และจะเปิดเผยผลการประชุมออกมาในวันที่ 27 เวลาตี 2 นั่นเอง ซึ่งใครที่กำลังติดตามอยู่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะพลาดอัปเดตสำคัญ เพราะ World Maker จะนำมารายงานให้ทราบโดยทันที
1
ทันโลก ทันเหตุการณ์ ทันข่าวสารที่แท้จริงไปกับ World Maker
🙏 ขอบคุณทุกท่าน 🙏 ที่ติดตาม World Maker ฝากกด Like และ Share เพื่อเป็นกำลังใจและให้นักลงทุนท่านอื่นได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ 😊
References :
โฆษณา