28 ม.ค. 2022 เวลา 10:32 • คริปโทเคอร์เรนซี
สรุปแนวทางการเก็บภาษีคริปโทฯ ล่าสุดจากกรมสรรพากร
หลังจากที่กรมสรรพากรได้เปิดรับฟังมุมมอง ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากหน่วยงานต่าง ๆ
วันนี้กรมสรรพากรเลยออกแถลงข่าวล่าสุดเกี่ยวกับแนวทางการจัดเก็บภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งสรุปออกมาเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1. การคิดภาษีเงินได้ ให้คำนวณต้นทุนของธุรกรรมได้ 2 วิธี คือ วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) หรือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost) และสามารถเปลี่ยนวิธีคำนวณในปีภาษีถัดไปได้ อีกทั้งการวัดมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลให้วัด ณ เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา
2. การหักกำไรขาดทุน กรมสรรพากรจะเสนอให้มีการออกกฎกระทรวง ให้สามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกับกำไรได้ในปีภาษีเดียวกัน เฉพาะธุรกรรมที่ทำผ่านผู้ประกอบธุรกิจ Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับของ ก.ล.ต. เท่านั้น
3. การหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่จำเป็นต้องหักไว้ หากธุรกรรมที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบุตัวตนผู้รับเงิน และไม่ทราบจำนวนเงินได้ที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย
แต่ในอนาคตจะศึกษาความเป็นไปได้ในการแก้ประมวลรัษฎากรมาตรา 50 เกี่ยวกับการหัก ณ ที่จ่าย ให้ผู้ประกอบธุรกิจ Exchange เป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากร
1
รวมถึงการเปลี่ยนประเภทการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีธุรกิจเฉพาะ (Financial Transaction Tax) สำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเป็นหลักทรัพย์ แต่ก็ต้องดูความเหมาะสมอีกครั้ง
4. กรมสรรพากรจะเสนอให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เฉพาะธุรกรรมที่ทำผ่านผู้ประกอบธุรกิจ Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับของ ก.ล.ต. รวมไปถึงสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกโดยแบงก์ชาติ
ทั้งนี้จะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชนฉบับสมบูรณ์ ตามมาในวันจันทร์ที่จะถึงนี้
อ้างอิง
"เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน"
พวกเรากลุ่มคนที่รักเรื่องราวของการเงินการลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ จึงก่อตั้งเพจ Dime! (ไดม์!) ขึ้น
Dime! แปลว่าเหรียญ 10 เซ็นต์ (ประมาณ 3 บาท) สื่อถึงความตั้งใจของเราที่จะทำให้การเงินการลงทุนเป็นเรื่องที่คุณเข้าถึงได้ เข้าใจง่าย และนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้จริง เหมือนกับเงิน 1 ไดม์ ที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้
หากทุกคนมีความรู้ทางการเงินที่แข็งแรง
สังคมของเราก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
โฆษณา